Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คุณธรรม 8 ประการจากขงจื้อ

คุณธรรม 8 ประการ จากขงจื้อ
ขงจื้อ เป็นนักปรัชญาเมธีที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีน เกิดเมื่อ 551 ปีก่อนคริสตกาล ในแคว้นหลู่ มณฑลชานตุง ขงจื้อกำพร้าบิดามาตั้งแต่วัยเยาว์ และมีชีวิตอยู่ด้วยความยากจน แต่ด้วยความที่เป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด จึงได้พยายามศึกษาหาความรู้ในวิชาประวัติศาสตร์ ปรัชญา และการดนตรีจนได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ จากนั้นได้ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนจรรยามารยาท และการปกครองให้แก่กุลบุตรในตระกูลผู้ดี เคยเข้ารับราชการเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมของแค้วนฉี ภายหลังได้ลาออกจากตำแหน่งแล้วท่องเที่ยวไปตามแค้วนต่าง ๆ เพื่อให้คำปรึกษาและข้อคิดในกิจการเกี่ยวกับการปกครองแก่บรรดาเจ้าผู้ครองแคว้นและเสนาบดีที่เลื่อมใสศรัทธาในความคงแก่เรียนของเขา ในบั้นปลายของชีวิต ขงจื๊อได้กลับสู่
แคว้นหลู่บ้านเกิดเมืองนอนของตน สั่งสอนสานุศิษย์จนถึงแก่กรรมเมื่อ 479 ปีก่อนคริตกาล

ท่านขงจื้อจะสอนให้มนุษย์ทุกคนเป็นคนโดยสมบูรณ์  การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์นั้นต้องปฏิบัติตาม คุณธรรม 8 ประการ ท่านขงจื้อได้สอนเกี่ยวกับ คุณธรรม 8 ประการ ไว้ดังนี้
กตัญญู
          1.  กตัญญู (กตัญญ อักษรจีนอ่านว่า เซี่ยว ครึ่งบนเป็นตัวชรา ครึ่งล่างเป็นตัวลูก ประกอบกัน)  ความหมายในตัวอักษร แสดงให้เห็นว่า พ่อแม่นั้นแก่เฒ่า ลูกอยู่เบื้องล่าง เหมือนมือเท้าเฝ้ารับใช้
         
กตัญญูเป็นคุณธรรมอันดับแรก เป็นต้นกำเนิดของความดีงาม เป็นคุณธรรมสำนึกที่ควรปฏิบัติรักษาเป็นสำคัญ ซึ่งคนจะขาดเสียมิได้ ขาดความกตัญญ เหมือนต้นไม้ไม่มีราก เหมือนน้ำไม่มีต้นน้ำ พ่อแม่เลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่ บุญคุณลึกล้ำกว่ามหาสมุทร คุณธรรมท่านสูงกว่าขุน เขาไท่ซัน ทุกค่ำทุกเช้า ทุกสิ่งทุกอย่าง พ่อแม่ให้ความรักดูแลเอาใจใส่ลูก จนสุดที่จะ บรรยายได้ ไม่ว่าจะลำบากฝ่าฟันอันตรายอย่างไร ก็ไม่เหนื่อยหน่ายท้อถอย ความรักลูกนั้น ไม่เปลี่ยนผันจนวันตาย
       
ปราชญ์ท่านกล่าวไว้ว่า
หมื่นพันตำลึงทองมากมาย ยากจะซื้อชีพกายพ่อแม่
ท่านยังอยู่ไม่เคารพดูแล ท่านนิ่งแน่ร้องไห้ให้ป่วยการ
พระคุณพ่อนั้นเพียงพสุธา คุณมารดาดังมหาสมุทรใหญ่
รักลูกผูกถวิลจนสิ้นใจ จะหมายใครดั่งพ่อแม่แท้ไม่มี
          ความกตัญญูตามปกติที่ทุกคนพึงปฏิบัติในจุดหมายแห่งการอบรมนี้ คือ
          1. ไม่นำความเสื่อมเสียมาสู่พ่อแม่ เรียกว่า อัน หมายถึง ให้ความสงบสุขใจ
          2. ช่วยรับภาระความทุกข์กังวลของท่าน เรียกว่า อุ้ย หมายถึง ปลอบใจช่วยให้คลายทุกข์
          3. ให้เสื้อผ้าอาหารด้วยกิริยาที่ยินดี เรียกว่า จิ้ง หมายถึง เคารพ
          4. พ่อแม่โกรธว่า ไม่ขัดเคืองโกรธตอบ เรียกว่า ซุ่น หมายถึง โอนอ่อนไม่ขัดใจ
          ศาสดาจารย์ขงจื๊อ สอนธรรมะในข้อกตัญญแก่ศิษย์ไว้ว่า ลูกกตัญญู พึงปฏิบัติต่อมารดาบิดา คือ เมื่ออยู่กับท่านให้เคารพ เมื่อเลี้ยง ดูท่านให้ได้รับความสุข เมื่อท่านป่วยไข้ให้ห่วงกังวล เมื่อท่านสิ้นไปให้อาลัยโศก เศร้า เมื่อบูชาเซ่นไหว้ให้ยำเกรงเต็มใจ ทั้งห้าประการนี้ดีพร้อม จึงได้ชื่อว่าปฏิบัติ กตัญญู

          ความอีกตอนหนึ่งว่า ร่างกายตลอตจนปลายเท้าและเส้นผม ได้จากมารดาบิดา มิกล้าทำลาย นี่ คือ กตัญญูในเบื้องต้น สำรวมตนบำเพ็ญธรรม สร้างคุณงามไว้ในโลก เกียรติ ปรากฏแก่มารดาบิดา นี่คือ กตัญญูในเบื้องปลาย ฉะนั้น ชายหญิงที่ได้รับธรรมะแล้ว อย่าลืมรากฐานชีวิตที่ได้มา จงกตัญญูต่อพ่อ แม่ จึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้บำเพ็ญธรรม

พี่น้องปรองดอง
          2. พี่น้องปรองดอง (อักษรจีน อ่านว่า ที่ จุดแรกเป็นพี่ จุดทีหลังเป็นน้อง โค้งตัวเคารพ ครบมือครบเท้าในร่างเดียวกัน คือพ่อแม่เดียวกัน) สายเลือดที่สนิทชิดเชื้อที่สุด คือ พี่น้อง เหมือนกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ต้นเดียวกัน ให้สำนึกว่าเกิดมาจากแม่เดียวกัน ดื่มนมจากแม่เดียวกัน พี่จึงควรรู้ให้อภัย น้องให้รู้อดทน ไม่ตัดมือตัดเท้า ความเจริญของครอบครัวเกิดได้เพราะพี่น้องปรองดองกัน
   
ซื่อสัตย์ จงรักภักดี
          3.ซื่อสัตย์ จงรักภักดี (อักษรจีน อ่านว่า จง คือวางใจไว้ให้ตรง)  จะทำการใดๆให้ถูกต้องยุติธรรม ไม่โป้ปดหลอกลวง ไม่ทำสิ่งน่าละอายต่อตนเองและผู้อื่น ถูกต้องตรงต่อฟ้าดิน ตรงต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตรงต่อบ้านเมือง ตรงต่อสังคม ตรงต่อพ่อแม่ ตรงต่อพี่น้อง บุตร และภรรยา  ทุกสิ่งที่ทำไปโดยไม่ผิดต่อมโนธรรม เรียกว่า จง
   
ความสัตย์จริง
          4.  ความสัตย์จริง (อักษรจีน อ่านว่า ซิ่น ประกอบด้วยตัวคน และวาจาหมายความว่า คนควรมีวาจาสัตย์) วาจาสัตย์ เป็นบรรทัดฐานแห่งมนุษยธรรมอันล้ำค่า กิจการใดจะรุ่งเรืองล้มเหลวอย่างไร เริ่มต้นได้ที่วาจาสัตย์ ดังคำที่กล่าวว่า กัลยาณชนเอ่ยวาจาใด ต่อให้ม้าฝีเท้าไวก็ไม่อาจตามคืนมากัลยาณชน เมื่อลั่นวาจาว่าจะบำเพ็ญธรรม คำไหนเป็นคำนั้น เชื่อในวิถีธรรม เชื่อในมหันตภัย เชื่อในกฏแห่งกรรม การใดที่ได้พูดจานัดหมายกับใคร จะเป็นซื้อขาย หรือการงานก็ตาม หากคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์แห่งตนแล้วผิดสัญญาคำสัตย์ หลอกลวงเหลวไหลล้วนถือเป็นขาดความสัตย์จริง ฉะนั้น เมื่อพูดให้คิดถึงการกระทำ เมื่อจะกระทำให้คิดถึงที่พูด ปากกับใจเป็นอัน หนึ่งอันเดียวกัน ซื่อสัตย์ต่อการกระทำตามสัจวาจา
   
จริยธรรม
          5.  จริยธรรม (อักษรซี อ่านว่า หลี่ หมายถึงการปฏิบัติที่ถูกแบบแผนอันดีงามตามหลักธรรม) คนประเสริฐกว่าสรรพสัตว์ใดๆ หากไม่มีจริยธรรมก็จะไม่ต่างอะไรกับเดรัจฉานและจะไม่ได้รับการยกย่อง จริยธรรมแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของตน ด้วยอาการที่อ่อนน้อมถอมตน ท่าทีสุภาพสง่างาม อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่มีความกรุณาปรานีต่อผู้น้อยทั่วไป เรามีจริยธรรมต่อเขา เขาย่อมตอบสนองต่อเราด้วยจริยธรรม
           
ฉะนั้น การบำเพ็ญธรรม จึงให้เห็นความสำคัญของแบบแผนจริยธรรม รักตัวสงวน ตัว รักผู้อื่นเคารพให้เกียรติผู้อื่น เช่นนี้ จึงเป็นผู้มีคุณสมบัติสูงส่ง ไม่ละอายต่อจริยธรรม
   
มโนธรรม
          6.  มโนธรรม (อักษรจีน อ่านว่า อี้ หมายถืงการกระทำที่ถูกต้องตามหลักธรรม )       เป็นคนไม่ควรทำทุจริต ทรัพย์สินเงินทองแม้เป็นของน่ายินดี แต่ควรให้ได้มาอย่าง เป็นธรรม หากแข็งขืนช่วงชิงมา ทำให้ผู้อื่นเสียหายเพื่อตนจะได้ประโยชน์ เช่นนี้ ภายหลัง ย่อมได้รับภัยพิบัติเสียหาย
         
ฉะนั้น กัลยาณชนผู้มีมโนธรรม ไม่เพียงแต่ไม่โลภในทุกขลาภ ยังจะต้องสละทรัพย์ เพื่อมนุษยธรรม ช่วยเหลือผู้คน และงานธรรมต่างๆ เป็นที่ชื่นชมต่อเทพยดา เป็นที่เคารพ ของคนทั้งหลาย ไว้ชื่อเสียงเกียรติคุณแก่ลูกหลาน และบรรพบุรุษคงอยู่ชั่วกาลนาน
   
สุจริตธรรม
          7.  สุจริตธรรม (อักษรจีน อ่านว่า เหลียน หมายถึงใจซื่อมือสะอาด ไม่โลภ มากอยากได้ ไม่ทุจริตคิดมิชอบ)  ผู้มีสุจริตธรรมจะต้องปฏิบัติตนด้วยความจริงใจ ทำการใดๆให้เสมอต้นเสมอปลาย ไม่ฉวยโอกาสเมื่อใกล้เงิน ไม่หลงไหลเมื่อใกล้อิสตรี มีจิตใจสงบเยือกเย็น ละกิเลสความ อยาก คุณค่าเหล่านี้อยู่ที่ใจกาย มิได้อยู่ที่เสื้อผ้าที่สวมใส่ ใจกายที่มีความบริสุทธิ์ชัดเจน 3 สถาน คือ

          1.) บริสุทธิ์งานทางโลก งานทางธรรม
          2.) บริสุทธิ์ทางการเงิน
          3.) บริสุทธิ์สำรวมมารยาทระหว่างหญิงชาย

          และ สี่เที่ยงตรง คือ
          1.) กายเที่ยงตรง
          2.) ใจเที่ยงตรง
          3.) วาจาเที่ยงตรง
          4.) ความประพฤติเที่ยงตรง
เหล่านี้เป็นเครื่องประดับกายให้ขาวสะอาด จิตใจที่สุจริต แม้ฐานะจะยากจนก็ไม่ โลภอยากได้แต่ผลประโยชน์อันไม่ควรได้ เจียมตัวรักษาตน รักษาหน้าที่การงานด้วยความ สุจริต ไม่เปลี่ยนแปลง
   
ละอายต่อความชั่ว
          8.  ละอายต่อความชั่ว (อักษรจีน อ่านว่า ฉื่อ หมายถึงเนื้อแท้ของจิตเดิม จิตเดิมของคนเรามีแต่ความดีไม่มีความชั่ว ซึ่งหมายถึงมโนธรรมหรือน้ำใจอันดีงามนั่นเอง)
  
ความรู้สึกละอายตอความชั่ว มีอยู่ในใจของทุกคน เมื่อรู้ละอาย จึงรู้การอันควรกระทำที่ถูกต้อง ชัดเจน ตรงกันข้ามหากมิรู้ละอาย ใจกายจะไม่สำรวม สวมใส่เสื้อผ้าไม่สุภาพ เป็นชายก็ ไม่ใช่ เป็นหญิงก็ไม่เชิง ไม่ระวังความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง ก่อให้เกิดข้อครหาน่าอับ อายต่างๆ เหล่านี้ล้วนเกิดจากไม่รู้ละอายต่อความชั่วทั้งสิ้น....

 ความหมายของคุณธรรม
พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตสถาน
( 2530  : 190 )  ได้ให้ความหมายของ คุณธรรมว่า คุณธรรม  หมายถึง  สภาพคุณงามความดีหรือหน้าที่อันพึงมีอยู่ในตัว

ลิขิต  ธีรเวคิน ( 2548 ) ได้กล่าวไว้ว่า  คุณธรรม คือ จิตวิญญาณของปัจเจกบุคคล ศาสนาและอุดมการณ์  เป็นดวงวิญญาณของปัจเจกบุคคลและสังคมด้วย  ปัจเจกบุคคลต้องมีวิญญาณ สังคมต้องมีจิตวิญญาณ คุณธรรมของปัจเจกบุคคลอยู่ที่การกล่อมเกลาเรียนรู้โดยพ่อแม่  สถาบันการศึกษา  ศาสนา  พรรคการเมืองและองค์กรของรัฐ

รองศาสตราจารย์  ดร. ทิศนา  แขมมณี  ( 2546  : 4 ) ได้ให้ความหมายไว้ว่า คุณธรรม หมายถึง คุณลักษณะหรือสภาวะภายในจิตใจของมนุษย์ที่เป็นไปในทางที่ถูกต้อง ดีงาม ซึ่งเป็นภาวะนามธรรมอยู่ในจิตใจ
         
สัญญา สัญญาวิวัฒน์  ( 2527  :  387 )  ได้ให้ความหมายว่า คุณธรรม หมายถึง ความดี ความงาม ความซื่อสัตย์ ความพอดี ความอดทน ขยันหมั่นเพียร
        
จากความหมายของคุณธรรมที่กล่าวมาพอสรุปได้ว่า คุณธรรม หมายถึง หลักของความดี ความงาม ความถูกต้อง ซึ่งจะแสดงออกมาโดยการกระทำ  ทางกาย   วาจาและจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นหลักประจำใจในการประพฤติปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัยเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองผู้อื่นและสังคม

ความหมายของจริยธรรม 
มีผู้ให้ความของคำว่า  “  จริยธรรม  ”
ไว้ดังต่อไปนี้
       
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ( 2546 )  ให้ความหมายของ  “  จริยธรรม ”   ไว้ว่า  หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ
 
พระมหาอดิศร   ถิรสีโล  ( 2540 )   ได้ให้ความหมายของจริยธรรมไว้ว่า  หมายถึงคุณธรรมที่แสดงออกทางร่างกายในลักษณะที่ดีงามอันเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ของสังคม จริยธรรม จะมีได้ต้องปลูกฝึกหัดโดยเริ่มจากการปลูกฝังคุณธรรม
      
พระธรรมญาณมุนี
( 2531 :103 )  ได้ให้ความหมายของจริยธรรมไว้ว่า  จริยธรรม  หมายถึง   พฤติกรรมที่เป็นรูปแบบของการปฏิบัติตน  การดำเนินตนที่มีความเหมาะสมแก่ภาวะฐานะ  กาลเทศะ  และเหตุการณ์ในปัจจุบัน
         
จากความหมายดังกล่าวมาพอสรุปได้ว่า จริยธรรม หมายถึง  พฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนในสิ่งที่ควรปฏิบัติที่ดีงามเหมาะสม  และเป็นที่นิยมชมชอบหรือยอมรับของสังคมเพื่อความสันติสุขแห่งตนเอง และความสงบเรียบร้อยของสังคมส่วนรวม
   
กล่าวโดยย่อ คุณธรรม  หมายถึง คุณสมบัติภายในใจใดๆ ก็ตามที่เป็นคุณสมบัติไม่เป็นโทษ ส่วน จริยธรรม  หมายถึง  สิ่งควรประพฤติอัน ได้แก่  พฤติกรรมเป็นการกระทำ ทางกาย วาจา  ใจ  อันดีงามที่ควรปฏิบัติ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า  คุณธรรม และจริยธรรม  หมายถึง  คุณงามความดีของบุคคลที่กระทำไปด้วยความสำนึกในจิตใจ โดยได้ยึดถือจนเป็นความเคยชิน อันเป็นคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่ดีงาม เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องของตนเอง ผู้อื่นและสังคม
ที่มาhttp://www.swa.ac.th/chapter/chapter2.htm
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติม โดยmusa

รายการบล็อกของฉัน