ผลการศึกษาล่าสุดโดยมหาวิทยาลัยออสโลของนอร์เวย์และมหาวิทยาลัยเฟอร์ราราของอิตาลี ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ PNAS ระบุว่า
พบหลักฐานที่ชี้ว่าความเชื่อเรื่องหนูเป็นตัวการแพร่เชื้อกาฬโรคในยุโรปยุคกลางนั้นไม่เป็นความจริง แต่มนุษย์ด้วยกันต่างหากคือพาหะของโรคที่อันตรายยิ่งกว่า โดยกาฬโรคทำให้มีผู้คนล้มตายกันหลายล้านคนในช่วงศตวรรษที่ 14 เรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 19
พบหลักฐานที่ชี้ว่าความเชื่อเรื่องหนูเป็นตัวการแพร่เชื้อกาฬโรคในยุโรปยุคกลางนั้นไม่เป็นความจริง แต่มนุษย์ด้วยกันต่างหากคือพาหะของโรคที่อันตรายยิ่งกว่า โดยกาฬโรคทำให้มีผู้คนล้มตายกันหลายล้านคนในช่วงศตวรรษที่ 14 เรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 19
ก่อนหน้านี้วงการวิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์การแพทย์เชื่อว่า หมัดที่อาศัยอยู่กับตัวหนูสามารถกัดและแพร่เชื้อกาฬโรคให้กับคน จนเป็นเหตุให้เกิดโรคระบาดแพร่ไปอย่างรวดเร็ว คร่าชีวิตผู้คนในยุโรปถึง 25 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นจำนวนมากกว่า 1 ใน 3 ของประชากรยุโรประหว่างปี 1347-1351
แต่อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยผู้เสนอผลการศึกษาล่าสุดได้ตรวจสอบข้อสันนิษฐานดังกล่าว โดยใช้ข้อมูลเรื่องการระบาดและการตายของประชากรในเมือง 9 แห่งของยุโรป ที่มีการจดบันทึกไว้เป็นอย่างดีมาวิเคราะห์ จากนั้นได้สร้างแบบจำลองพลวัตรของการระบาดที่เป็นไปได้
3 แบบ คือการระบาดจากหนู การระบาดด้วยการแพร่เชื้อทางอากาศ และการระบาดจากตัวหมัดและเหาที่อยู่ตามร่างกายและเสื้อผ้าของมนุษย์ ขึ้นมาใช้ทดสอบข้อมูลเหล่านี้
3 แบบ คือการระบาดจากหนู การระบาดด้วยการแพร่เชื้อทางอากาศ และการระบาดจากตัวหมัดและเหาที่อยู่ตามร่างกายและเสื้อผ้าของมนุษย์ ขึ้นมาใช้ทดสอบข้อมูลเหล่านี้
หนูดำ (Rattus rattus) ถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการแพร่เชื้อกาฬโรคมาหลายร้อยปี
ผลการทดสอบข้อมูลที่บันทึกไว้กับแบบจำลองทั้ง 3 แบบพบว่า มีข้อมูลของเมืองถึง 7 ใน 9 แห่ง ที่สอดรับกับวงจรการระบาดจากตัวหมัดและเหาที่อยู่ตามร่างกายและเสื้อผ้าของมนุษย์เอง..
ศาสตราจารย์นีลส์ สเตนเซธ ผู้นำคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยออสโลบอกว่า การติดต่อผ่านปรสิตในมนุษย์จะทำให้เชื้อกาฬโรคระบาดไปได้อย่างรวดเร็วเป็นวงกว้างมากที่สุด เพราะเป็นการแพร่เชื้อจากคนสู่คนโดยตรง ในขณะที่การระบาดจากหมัดหนูจะช้ากว่า เพราะเชื้อต้องไปใช้เวลาผ่านวงจรชีวิตของหนูมาก่อนที่จะมาถึงคน
ผลการวิจัยยังชี้ว่า การป้องกันเหตุกาฬโรคระบาดในอนาคตขึ้นอยู่กับการรักษาสุขอนามัยเป็นสำคัญ รวมทั้งขึ้นอยู่กับการกักกันควบคุมผู้ติดเชื้อ ไม่ให้เที่ยวออกไปแพร่เชื้อให้ผู้อื่นในที่สาธารณะ "หากคุณรู้สึกไม่สบาย ก็ควรจะอยู่กับบ้าน" ศาสตราจารย์สเตนเซธกล่าว
ปัจจุบันยังคงมีการระบาดของกาฬโรคอยู่บ้างในบางพื้นที่ของภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และบางส่วนของทวีปอเมริกา โดยยังคงมีเชื้อกาฬโรคหลงเหลืออยู่ในประชากรหนูแถบนั้น
องค์การอนามัยโลกระบุว่า ระหว่างปี 2005-2010 มีรายงานผู้ติดเชื้อกาฬโรค 2,348 รายจากทั่วโลก และมีรายงานผู้เสียชีวิตทั้งหมด 584 ราย
👉Happy shoppee here
สร้างสรรค์ อิสระเสรีภาพ
รวบรวมค้นหาสินค้าดีๆจาก shoppee เพื่อคุณ เข้ามาเลือกดูสินค้าได้เลยครับ
เมื่อปี 2001 มีการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อกาฬโรค โดยใช้เชื้อที่ได้จากสัตวแพทย์ผู้เสียชีวิตในสหรัฐฯเมื่อปี 1992 หลังติดเชื้อกาฬโรคจากแมวที่จามใส่เขา หลังเขาพยายามช่วยมันขึ้นมาจากใต้ถุนบ้าน