Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โรคคลั่งตัวเอง

Narcissistic Personality Disorder
โรค  Narcissistic Personality Disorder
(`นาร์เซอะ'ซิสติก `เพอร์เซอะ'แนลิตี้ ดิส'ออร์เดอร์) หรือที่มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า โรคคลั่งตัวเอง (เรียกย่อๆ ว่า NPD หรือ ภาวะ Narcissism) เป็นภาวะบกพร่องด้านบุคลิกภาพอันเนื่องมาจากอาการหลงตัวเองมากเกินไป ชื่อโรคนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากเทพนิยายกรีกที่ว่า มีชายหนุ่มรูปโฉมงดงามชื่อ Narcissus  เป็นที่ต้องตาต้องใจของทั้งสาวและหนุ่มทั้งหลาย (วัฒนธรรมกรีกและโรมันให้ความสำคัญกับความรักในเพศเดียวกันเท่าเทียมกับความ รักต่างเพศ) แต่เขาก็มิได้หมายปองใครจริงจัง กลับหักอกคนที่รักครั้งแล้วครั้งเล่า

จนกระทั่งสุดท้ายเขาโดนสาปโดยเทพเจ้าว่า เขาจะต้องตายเพราะหลงไหลในรูปโฉมของตัวเอง วาระสุดท้ายของเขามาถึง เมื่อเขาก้มลงดื่มน้ำในทะเลสาบแล้วเห็นใบหน้าของตัวเองในน้ำ เขาจึงตกหลุมรักตัวเองทันที เขากระโดดหมายจะคว้าเงาเอาไว้ทำให้ตกน้ำตาย สมกับคำสาบที่เทพเจ้าได้สาปเอาไว้นั่นเอง

อาการของผู้ป่วยโรคนี้จะคล้ายคลึงกับนาร์ซีซัสตามเทพนิยายทุก ประการ กล่าวคือ เขาคลั่งไคล้ตัวเองมากเกินกว่าปกติ จนก่อให้เกิดความบกพร่องทางบุคลิกภาพขึ้นมาได้
จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการ 9 อย่างดังต่อไปนี้ 

   1. ฉันเป็นมือหนึ่งในปฐพี: สำคัญตัวเองผิด ผู้ป่วยมักเข้าใจไปเองว่าตัวเองเป็นบุคคลที่มีความสามารถโดดเด่นเหนือคนอื่นทั้งปวงในโลกนี้
   2. ฉันทำอะไรก็เทพหมด: คิดว่าตัวเองประสบความสำเร็จในทุกด้านอย่างไม่มีขีดจำกัด เลิศเลอ perfect ไปทุกอย่าง
   3. ไม่มีใครเข้าใจฉันนอกจากขั้นเทพด้วยกัน: เข้าใจว่าตัวเองเป็นบุคคลพิเศษ ซึ่งก็จะมีแต่บุคคลพิเศษด้วยกันเท่านั้นที่จะเข้าใจตัวเขาได้
   4. ฉันเท่ห์ที่สุดในโลก: ต้องการการชื่นชมสนใจจากคนอื่นมากเกินไป
   5. ก็ฉันยิ่งใหญ่ขนาดนี้ ใครจะทำอะไรฉันได้: มีความรู้สึกว่าไม่ว่าเขาจะทำอะไรก็ถูกต้องไปหมดทุกอย่าง จึงไม่มีความรู้สึกผิดเวลาที่ทำอะไรผิดพลาด
   6. ทำนู่นทำนี่ให้ฉันที: ชอบใช้คนอื่นเป็นเครื่องมือเพื่อทำประโยชน์บางอย่างแก่ตัวเองอยู่เสมอ
   7. คนอื่นจะเป็นยังไงฉันไม่สน: จิตใจกระด้างเย็นชา ไม่มีความเห็นอกเห็นใจคนรอบข้าง
   8. นี่แม่งทำอะไรก็เทพหมด / คนอื่นๆ อิจฉาฉันเพราะฉันเก่งกว่าพวกนั้นทุกคน: อิจฉาริษยาคนรอบข้าง และ/หรือ มีความเชื่อว่าคนอื่นๆ รอบตัวกำลังอิจฉาตัวเขาอยู่
   9. อะไรๆ ที่ไม่ถูกใจถือว่างี่เง่าหมดสำหรับฉัน: แสดงความหยิ่ง ยะโส โอหัง ออกมาทั้งทางพฤติกรรม คำพูด และทัศนคติ

[Disclaimer: ท่านผู้อ่านไม่ต้องตกใจถ้าพบว่าท่านหรือผู้ใกล้ชิดของท่านมีอาการเหล่านี้ การวินิจฉัยภาวะโรค NPD ต้องกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งไม่มีอคติต่อผู้ป่วยก่อนการวินิจฉัยเสมอ ตัวท่านผู้อ่านเองอาจมีทัศนคติบางอย่างซ่อนอยู่ก่อนการวินิจฉัย ผลการวิเคราะห์ด้วยตัวท่านเองจึงอาจไม่สมบูรณ์ 100%]

ที่ผม hilight ไว้ด้วยสีแดงนี้คือคำจำกัดความที่ผมคิดขึ้นเพื่อให้ท่านผู้อ่านสามารถ จินตนาการภาพอาการของผู้ป่วยจากคำพูดติดปากของเขาได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคนี้อาจไม่แสดงอาการครบทั้ง 9 อย่างนี้ก็ได้ การแสดงออกอาการเพียง 4-5 อย่างก็ถือว่าเข้าข่ายการเป็นโรคนี้แล้ว

โรคนี้จะเกิดขึ้นกับน้อยกว่า 1% ของประชากรโดยรวม และพบเพียง 2-16% ของผู้ป่วยจิตเภทด้วยซ้ำ ผู้ป่วยโรคนี้จึงพบได้ยากในสังคมทั่วไป ผู้ป่วยมักทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนร่วมงานและบุคคลรอบข้างเสียไป เพราะสังคมไม่ยอมรับในตัวของเขา


โรคนี้พัฒนาขึ้นในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น ต้นตอของโรคเกิดจากปมด้อยอันน่าอับอายของผู้ป่วยที่คิดว่าสังคมทั่วไปไม่ยอม รับ ทำให้เขาสร้างเกราะขึ้นมาปกป้องจิตใจอันบอบบางจากการปฏิเสธและการโดดเดี่ยว จากสังคม ผู้ป่วยจึงสร้างความคลั่งไคล้ในตัวเองขึ้นมาเพื่อชดเชยกับการขาดการยอมรับ เหล่านั้น ความเชื่อดังกล่าวจะฝังอยู่ในระดับจิตใต้สำนึกทำให้ยากต่อการรักษาด้วย จิตแพทย์ เพราะแม้แต่ผู้ป่วยเองก็ยังกลัวที่จะเปิดเผยความลับในระดับจิตใต้สำนึกเช่น เดียวกัน

ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการซาดิสต์ร่วมด้วย โดยผู้ป่วยมักจะทำร้ายจิตใจของผู้อื่นด้วยการดูถูกถากถางอย่างจงใจ (intentional insult) เพื่อทำให้เหยื่อเกิดความบาดเจ็บทางจิตใจ เป็นการชดเชยกับประสบการณ์ร้ายที่ตนเคยประสบมาในอดีต ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ยังเกลียดการเสียหน้าเป็นอย่างยิ่ง จึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการทำให้เขาเสียหน้า

เพราะจะเป็นการกระแทกเข้าที่ปมด้อยในด้านสังคมของผู้ป่วยอย่างรุนแรง ผู้ป่วยอาจสร้างเกราะในจิตใจเพิ่มขึ้นทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นได้ หรือหากเป็นการละเมิดหน้าอย่างร้ายแรง ผู้ป่วยอาจขาดความยับยั้งชั่งใจและกระทำการต่างๆ เพื่อปกป้องหน้าของเขาได้ เช่น การทำร้ายร่างกาย หรือแม้แต่การฆ่า

เคยมีกรณีศึกษาเกิดขึ้นในอังกฤษมาแล้วว่า ผู้ป่วยโรคคลั่งตัวเองคิดว่าตัวเองเป็นนักเทนนิสระดับโลกและร่ำรวยมหาศาล เขาแอบนำบัตรเครดิตของพ่อไปซื้อตั๋วเครื่องบินพาแฟนสาว (ซึ่งเขาก็หลอกเธอว่าเป็นนักเทนนิสระดับโลกเช่นกัน) ไปชมการแข่งขันเทนนิสที่นิวยอร์ค พ่อและแม่ของเขาจับได้จึงตำหนิเขาอย่างรุนแรง เขารู้สึกเสียหน้าอย่างมากจึงใช้ฆ้อนฆ่าพ่อและแม่ของเขาอย่างทารุณ เขายังคงไปเที่ยวกับแฟนสาวตามปกติ โดยทิ้งศพของพ่อแม่ไว้ในบ้านถึง 2 อาทิตย์ เมื่อเขากลับมา เขายังแบกศพของพ่อแม่ออกมาทิ้งหน้าบ้านอย่างไม่สะทกสะท้านอะไร

ตำรวจจับเขาในข้อหาฆาตกรรมพ่อแม่ตัวเอง เขาแสดงอาการหยิ่งยะโสต่อหน้าตำรวจ ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าเขาฉลาดกว่าตำรวจทุกคน (ทั้งที่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย) สุดท้ายเขารับสารภาพว่าเขาฆ่าพ่อแม่ของเขาเอง เขาถูกฟ้องข้อหาฆาตกรรม อย่างไรก็ตาม คดีนี้ถูกยกฟ้องเนื่องจากศาลอังกฤษพิจารณาว่าเขาเป็นโรคคลั่งตัวเอง จึงไม่ต้องรับโทษทางอาญา ถึงกระนั้นทุกวันนี้เขายังคงถูกจองจำในสถานบำบัด ผู้ป่วยโรคจิต (asylum) อยู่ดี

ต้นตอที่ทำให้เขาเป็นโรคคลั่งตัวเองก็เพราะว่า แม่ของเขาเลี้ยงเขาอย่างเข้มงวดเกินไป แม่ไม่ยอมให้เขาไปเล่นกับเด็กคนอื่น แม่ยังคงอาบน้ำให้เขาแม้ว่าเขาจะอายุ 18 แล้ว แม่บงการชีวิตของเขาทุกอย่างแม้แต่กับเสื้อผ้าหน้าผม เขาเก็บความรู้สึกอับอายเอาไว้ภายในจิตใต้สำนึก จนทำให้เขากลายเป็นโรคคลั่งตัวเองไปทีละน้อยนั่นเอง
โรคนี้ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้แม้ว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวว่าเป็นโรค นี้ก็ตาม เช่นเดียวกับที่คนติดบุหรี่ไม่อาจเลิกบุหรี่ได้แม้ว่าจะรู้ตัวว่าติดบุหรี่ นอกจากว่าจะมีกำลังใจจะเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษา โรคคลั่งตัวเองอย่างเต็มรูปแบบ อย่างไรก็ตาม จิตแพทย์บางท่าน เช่น James F. Masterson เริ่มเสนอวิธีการรักษาโรคนี้แล้ว ถึงกระนั้น บุคคลรอบข้างก็อาจต้องปรับตัวให้ยอมรับอาการของผู้ป่วยบ้าง เพื่อไม่ให้อาการของเขาเพิ่มมากขึ้นไปกว่าเดิม

เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติม โดย musa2554
เอามาให้อ่านเป็นความรู้ครับ เผื่อคน(บางคน)แถวนี้กำลังเป็นโรคนี้อยู่

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โรคซึมเศร้า


การเปลี่ยนแปลงในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า
การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ อาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเดือนๆ หรือเป็นเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์เลยก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น มีเหตุการณ์มากระทบรุนแรงมากน้อยเพียงได บุคลิกเดิมของเจ้าตัวเป็นอย่างไร มีการช่วยเหลือจากคนรอบข้างมากน้อยเพียงได เป็นต้น และผู้ที่เป็นอาจไม่มีอาการตามนี้ไปทั้งหมด แต่อย่างน้อยอาการหลักๆ จะมีคล้ายๆ กัน เช่น รู้สึกเบื่อเศร้า ท้อแท้ รู้สึกตนเองไร้ค่า นอนหลับไม่ดี เป็นต้น

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 
1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป ที่พบบ่อยคือจะกลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย เรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ดูเหมือนจะอ่อนไหวไปหมด บางคนอาจไม่มีอารมณ์เศร้าชัดเจนแต่จะบอกว่าจิตใจหม่นหมอง ไม่แจ่มใส ไม่สดชื่นเหมือนเดิม
บางคนอาจมีความรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เดิมตนเคยทำแล้วเพลินใจหรือสบายใจ เช่น ฟังเพลง พบปะเพื่อนฝูง เข้าวัด ก็ไม่อยากทำหรือทำแล้วก็ไม่ทำให้สบายใจขึ้น บ้างก็รู้สึกเบื่อไปหมดตั้งแต่ตื่นเช้ามาบางคนอาจมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย อะไรก็ดูขวางหูขวางตาไปหมด กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย ไม่ใจเย็นเหมือนก่อน


2. ความคิดเปลี่ยนไป มองอะไรก็รู้สึกว่าแย่ไปหมด มองชีวิตที่ผ่านมาในอดีตก็เห็นแต่ความผิดพลาดความล้มเหลวของตนเอง ชีวิตตอนนี้ก็รู้สึกว่าอะไรๆ ก็ดูแย่ไปหมด ไม่มีใครช่วยอะไรได้ ไม่เห็นทางออก มองอนาคตไม่เห็น รู้สึกท้อแท้หมดหวังกับชีวิต
บางคนกลายเป็นคนไม่มั่นใจตนเองไป จะตัดสินใจอะไรก็ลังเลไปหมด รู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ไร้คุณค่า เป็นภาระแก่คนอื่น ทั้งๆ ที่ญาติหรือเพื่อนๆ ก็ยืนยันว่ายินดีช่วยเหลือ เขาไม่เป็นภาระอะไรแต่ก็ยังคงคิดเช่นนั้นอยู่ความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ความคับข้องใจ ทรมานจิตใจ เหล่านี้อาจทำให้เจ้าตัวคิดถึงเรื่องการตายอยู่บ่อยๆ แรกๆ ก็อาจคิดเพียงแค่อยากไปให้พ้นๆ จากสภาพตอนนี้ ต่อมาเริ่มคิดอยากตายแต่ก็ไม่ได้คิดถึงแผนการณ์อะไรที่แน่นอน เมื่ออารมณ์เศร้าหรือความรู้สึกหมดหวังมีมากขึ้น ก็จะเริ่มคิดเป็นเรื่องเป็นราวว่าจะทำอย่างไร ในช่วงนี้หากมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนจิตใจก็อาจเกิดการทำร้ายตนเองขึ้นได้จากอารมณ์ชั่ววูบ

3. สมาธิความจำแย่ลง จะหลงลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ๆ วางของไว้ที่ไหนก็นึกไม่ออก ญาติเพิ่งพูดด้วยเมื่อเช้าก็นึกไม่ออกว่าเขาสั่งว่าอะไร จิตใจเหม่อลอยบ่อย ทำอะไรไม่ได้นานเนื่องจากสมาธิไม่มี ดูโทรทัศน์นานๆ จะไม่รู้เรื่อง อ่านหนังสือก็ได้ไม่ถึงหน้า ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำงานผิดๆ ถูกๆ

4. มีอาการทางร่างกายต่างๆ ร่วม ที่พบบ่อยคือจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งเมื่อพบร่วมกับอารมณ์รู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร ก็จะทำให้คนอื่นดูว่าเป็นคนขี้เกียจ ปัญหาด้านการนอนก็พบบ่อยเช่นกัน มักจะหลับยาก นอนไม่เต็มอิ่ม หลับๆตื่นๆ บางคนตื่นแต่เช้ามืดแล้วนอนต่อไม่ได้
ส่วนใหญ่จะรู้สึกเบื่ออาหาร ไม่เจริญอาหารเหมือนเดิม น้ำหนักลดลงมาก บางคนลดลงหลายกิโลกรัมภายใน 1 เดือน นอกจากนี้ยังอาจมีอาการท้องผูก อืดแน่นท้อง ปากคอแห้ง บางคนอาจมีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว

5. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป ดังกล่าวบ้างแล้วข้างต้น ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะดูซึมลง ไม่ร่าเริง แจ่มใส เหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร บางคนอาจกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย ซึ่งคนรอบข้างก็มักจะไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนไป บางคนอาจหงุดหงิดบ่อยกว่าเดิม แม่บ้านอาจทนที่ลูกๆ ซนไม่ได้ หรือมีปากเสียงระหว่างคู่ครองบ่อยๆ

6. การงานแย่ลง ความรับผิดชอบต่อการงานก็ลดลง ถ้าเป็นแม่บ้านงานบ้านก็ไม่ได้ทำ หรือทำลวกๆ เพียงให้ผ่านๆ ไป คนที่ทำงานสำนักงานก็จะทำงานที่ละเอียดไม่ได้เพราะสมาธิไม่มี ในช่วงแรกๆ ผู้ที่เป็นอาจจะพอฝืนใจตัวเองให้ทำได้ แต่พอเป็นมากๆ ขึ้นก็จะหมดพลังที่จะต่อสู้ เริ่มลางานขาดงานบ่อยๆ ซึ่งหากไม่มีผู้เข้าใจหรือให้การช่วยเหลือก็มักจะถูกให้ออกจากงาน

7. อาการโรคจิต จะพบในรายที่เป็นรุนแรงซึ่งนอกจากผู้ที่เป็นจะมีอาการซึมเศร้ามากแล้ว จะยังพบว่ามีอาการของโรคจิตได้แก่ อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนร่วมด้วย ที่พบบ่อยคือ จะเชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้ง หรือประสงค์ร้ายต่อตนเอง อาจมีหูแว่วเสียงคนมาพูดคุยด้วย อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อได้รับการรักษา อารมณ์เศร้าดีขึ้น อาการโรคจิตก็มักทุเลาตาม
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก ท่านรองศาสตราจารย์นายแพทย์มาโนช หล่อตระกูล
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

โรคจิต หรือ วิกลจริต psychosis


โรคจิต หรือ วิกลจริต
(อังกฤษ:  psychosis )
คือ โรคกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ในกลุ่มโรคทางจิตเวชทั้งหมด ที่มีหลายโรค
(โรคทางจิตเวช ได้แก่ โรคจิต โรคอารมณ์แปรปรวน โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียดที่เกิดจากสถานการณ์ร้ายแรงในชีวิต โรคปรับตัวผิดปกติ บุคลิกภาพบกพร่อง ฯลฯ)
อาการของโรคจิตมีดังนี้
-ประสาทสัมผัสหลอน (hallucination) เช่น ได้ยินเสียงคนที่ตายไปแล้ว ได้ยินเสียงกระแสจิต หรือเห็นภาพที่คนอื่นไม่เห็น ได้กลิ่นที่คนอื่นไม่ได้กลิ่น และอาการเหล่านี้เป็นบ่อยจนรบกวนชีวิตประจำวัน
-หลงผิดอย่างรุนแรง (delusion) เช่นคิดว่ามีคนจะมาฆ่า ทั้งที่จริงๆไม่มี หรือคิดว่าตัวเอง เป็นพระเจ้ากลับชาติมาเกิด หรือคิดว่ามีมนุษย์ต่างดาวจับตนไปฝังเครื่องส่งสัญญาณ โดยที่ไม่มีรายละเอียดหรือเหตุผลใดที่น่าเชื่อถือ
-พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป (behavioral change หรือ disorganized behaviour) ถ้าในช่วงแรกจะสังเกตได้ยาก ต้องเป็นคนใกล้ชิดเท่านั้น ที่พอทราบ แต่ช่วงหลังจะเปลี่ยนหนัก เช่น ไม่หลับไม่นอน ไม่กินอาหาร เดินทั้งคืน พูดคนเดียว

สาเหตุของโรคจิต
มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นโรคทางสมองเช่นถูกกระทบกระเทือนสมอง การใช้สารเสพติด เช่น ดมกาว ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี ยาลดความอ้วนบางประเภท กัญชา หรือ แม้แต่สุรา หรือเป็นจากสารพันธุกรรม (มักเริ่มมีอาการในช่วงวัยรุ่น) โดยพบว่า ในคน 100 คน จะพบ คนเป็นโรคจิต ประมาณ 3-4 คน โดยในนั้นโรคจิตที่พบบ่อยที่สุด คือ “โรคจิตเภท” ในคน 100 คน พบได้ 1 คน

การรักษา
ทางการแพทย์พบว่าคนเป็นโรคจิต มีสารเคมีชื่อ Dopamine ในสมองที่สูงผิดปกติ การรักษาจึงเป็นการใช้ยาปรับสมดุลในสมอง ซึ่งถ้าไม่รักษา ปล่อยให้สารตัวนี้สูงผิดปกติไปเป็นเวลานานๆ สิ่งที่ตามมาคือการทำลายเนื้อสมองถาวร และผู้ป่วยจะไม่กลับคืนปกติ ดังเช่นที่เห็นในผู้ป่วยบางรายที่ญาติคิดว่าผีเข้า ไม่พามารักษา ไปรักษาหมอผี หมดเงินเป็นแสน กว่าจะมาพบแพทย์ก็สายเกิน ไม่สามารถเหมือนเดิมได้ หรือคนที่ใช้สารเสพติดนานๆ สมองจะถูกทำลายไปมาก จนไม่สามารถกลับปกติได้ ส่วนใหญ่แพทย์จะไม่หักล้างความเชื่อ แต่ถ้าญาติอยากรักษาทางไสยศาสตร์ แพทย์ก็มักจะแนะนำให้รักษาทางยาด้วย
โรคจิตมีรักษาและบำบัดในโรงพยาบาลจิตเวช ในประเทศไทย เช่น โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลสวนปรุง โรงพยาบาลมนารมย์

วันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557

โรคไบโพล่าร์ Bipolar disorder


โรคไบโพล่าร์
เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความผิดปกติของอารมณ์ โรคนี้มีหลายชื่อเช่น โรคอารมณ์แปรปรวน , manic-depressive disorder, bipolar affective disorder, bipolar disorder ในปัจจุบันชื่อเป็นทางการคือ โรคไบโพล่าร์ (bipolar disorder) ลักษณะสำคัญของโรคนี้คืออาการผิดปกติของอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นแบบซึมเศร้า (depressive episode หรือ depression) หรือตรงข้ามกับซึมเศร้าคืออารมณ์ดีผิดปกติ
(manic episode หรือ mania) ก็ได้

อาการซึมเศร้า (depressive episode)
อาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในโรคไบโพล่าร์จะเหมือนกับอาการของโรคซึมเศร้า (major depressive disorder) ทุกประการนั่นคืออยู่ๆผู้ป่วยก็กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ร้องไห้ง่าย คิดแต่เรื่องร้ายๆ รู้สึกเศร้าๆ ไม่แจ่มใส เบื่อหน่ายไปหมดทุกเรื่อง ไม่รู้สึกดีใจเวลามีอะไรดีๆเกิดขึ้น ไม่อยากได้อะไร ไม่มีความสุข เก็บเนื้อเก็บตัวไม่อยากพบหน้าใคร บางคนจะหงุดหงิดโมโหง่าย เบื่อชีวิต อยากตาย บางคนถึงกับฆ่าตัวตาย มีอาการอยู่แทบทุกวันเป็นหลายๆสัปดาห์หรือเป็นเดือน ในช่วงซึมเศร้าผู้ป่วยมักรู้ว่าตนกำลังป่วยนอกจากในรายที่เป็นมากๆ

คนประเภท “ผีเข้าผีออก” ซึ่งหมายถึงเดี๋ยวอารมณ์ดี เดี๋ยวอารมณ์ร้าย เปลี่ยนแปลงไปมาบ่อยๆ จนสร้างความปวดหัวให้คนใกล้ตัว เพราะไม่รู้จะทำงานกับเขาหรือเธออย่างไร
ซึ่งหากความถี่ของอาการผีเข้าผีออกนี้ค่อนข้างสาหัสจนกระทบต่อการทำงาน เขาหรือเธออาจไม่ใช่แค่ถูกอารมณ์ผี (ความโกรธ หงุดหงิด) สิงเท่านั้น แต่อาจจะเจ็บป่วยจากโรคอารมณ์แปรปรวน หรือไบโพลาร์ได้ (Bipolar Disorder) ลองมาเช็กอาการ พร้อมทั้งรู้ถึงสาเหตุและวิธีป้องกันหรือแก้ไขกันครับ

เหตุสารเคมีในสมองไม่สมดุล
   เราสามารถแยกโรคไบโพลาร์และอาการผีเข้าผีออกจากกันได้ว่า ไบโพลาร์มักจะเกิดกับคนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะกับคนทำงาน สาเหตุเกิดจากสมองผลิตสารเคมี 2 ชนิดไม่สมดุลกัน คือ สารเซโรโทนิน(Serotonin) ซึ่งผลิตในปริมาณน้อยเกินไป และสารนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) ที่ผลิตในปริมาณมากเกินไป

 “สารเคมีทั้งสองชนิดมีผลต่อวงจรกระแสประสาทในสมอง ถ้าสมองผลิตสารเคมีได้สมดุล การควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมจะเป็นไปอย่างปกติ ในทางตรงข้ามถ้าสมองผลิตเซโรโทนินน้อยเกินไป อารมณ์หรือพฤติกรรมก็จะเป็นไปทางซึมเศร้า ส่วนการผลิตสารนอร์เอพิเนฟรินปริมาณมากเกินไป เราก็จะแสดงอารมณ์สนุกสนานและตื่นเต้นผิดปกติเช่นกัน”

   ส่วนอาการผีเข้าผีออกนั้น อธิบายว่า เป็นเพียงแค่การไม่สามารถจัดการหรือควบคุมอารมณ์ซึ่งอาจเกิดจากความเครียด ความไม่ลงตัวของชีวิตในด้านอื่นๆ ให้อยู่ในภาวะปกติได้ จึงแสดงอารมณ์หรือพฤติกรรมอย่างไม่เหมาะสมออกมา ซึ่งเป็นเรื่องของวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับไบโพลาร์ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง

   นอกจากนี้คนจำพวกผีเข้าผีออกแม้จะทำให้คนทำงานร่วมด้วยรู้สึกหงุดหงิด แต่เขาก็ยังสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นเป็นปกติ ต่างจากคนป่วยไบโพลาร์ที่ไม่สามารถทำงานออกมาเป็นผลงานได้

ลักษณะสำคัญของโรคไบโพลาร์

คนไข้จะมีอาการสำคัญ 2 ขั้ว คือ มีอารมณ์รื่นเริงสนุกสนาน ตื่นเต้นผิดปกติ เป็นอาการหลัก และมีอาการซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน โกรธ หงุดหงิดเป็นอาการรอง สลับกันเป็นครั้งคราว

10 สัญญาณมนุษย์งาน ถูกโรคอารมณ์แปรปรวนรุมกินโต๊ะเช็กอาการเบื้องต้นต่อไปนี้ดูครับ
ระยะซึมเศร้า
   • เบื่อหน่ายทุกอย่าง แม้กระทั่งสิ่งที่ชอบหรือกิจวัตรที่ทำเป็นประจำ
   • อ่อนไหวมากเป็นพิเศษ เช่น ร้องไห้ง่าย หงุดหงิดง่าย รู้สึกไร้ค่า คิดอยากตาย
   • ขาดสมาธิ ความจำแย่ลง หลงลืมบ่อย
   • นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ รู้สึกเหนื่อยตลอดทั้งวัน
   • เชื่องช้า กระวนกระวาย

ระยะคึกคัก
   • ครึกครื้นรื่นเริงมากผิดปกติ
   • ความคิดแล่น สร้างสรรค์ มีพลังทำกิจกรรมมากมาย
   • พูดไม่หยุด พูดมาก สนใจทุกอย่าง
   • รู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญมาก
   • ไม่อยากนอน
หมายเหตุ : อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นสลับกันเป็นช่วงๆ อาจนานเป็นเดือนหรือปีก็ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการตอบแบบลำเอียง ขอแรงคนใกล้ตัวช่วยประเมินก็ได้ครับ
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย musa samu

รายการบล็อกของฉัน