Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ญัฮกุร หรือ เนียะกุล คือ


ญัฮกุร หรือ เนียะกุล คือกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่ใช้ภาษามอญโบราณ อยู่บนภูเขาแถบแม่น้ำป่าสักในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดนครราชสีมา และโดยเฉพาะที่อำเภอหนองบัวระเหวและอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มชนดังกล่าวเรียกตนเองว่า ญัฮกุร แปลว่า "คนภูเขา" คนไทยในเมืองเรียกชนกลุ่มนี้ว่า "ชาวบน" ซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจนักของชาวญัฮกุร คนไทยภาคต่าง ๆ ฟังภาษาของชนกลุ่มนี้ไม่เข้าใจ

ประวัติ
ญัฮกุร มีความหมายว่าคนภูเขา เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาหรือเนินเตี้ย ๆ แถบบริเวณด้านในของริมที่ราบสูงโคราช จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิ อย่างน้อยสามชั่วอายุคน ในอดีตมักมีการย้ายถิ่นที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว แม้ปัจจุบันจะตั้งหลักแหล่งที่แน่นอนแต่การไปมาหาสู่ เยี่ยมเยียนและการนับเครือญาติในหมู่ญัฮกุร ในบริเวณสามจังหวัด ยังคงมีอยู่ปัจจุบันชาวญัฮกุรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดที่บ้านน้ำลาด 

หมู่ที่ 4 ตำบลนายางกลัก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ นอกจากนี้ยังมีที่บ้านวังกำแพง ในอำเภอบ้านเขว้า ที่บ้านท่าโป่ง บ้านห้วยแย้ ในอำเภอหนองบัวระเหว ที่บ้านสะพานหิน บ้านสะพานยาว ในอำเภอเทพสถิต บ้านกลาง บ้านพระบึง บ้านวังตะเคียน บ้านตะขบ อำเภอปักธงชัย บ้านมาบกราด ตำบลโคกกระชาย บ้านตลิ่งชัน ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี บ้านไทรย้อยพัฒนา อำเภอหนองบุนนาก (อพยพมาจากบ้านไทรย้อย ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี เพราะน้ำเหนือเขื่อนน้ำมูลท่วมหมู่บ้านเดิม) จังหวัดนครราชสีมา 

บ้านน้ำเลา บ้านห้วยไคร้ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนบ้านท่าด้วงถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมอยู่ในป่าแถบเทือกเขาพังเหย มีอาณาบริเวณคาบเกี่ยวต่อเนื่อง 3 จังหวัดคือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดเพชรบูรณ์[6]

ลักษณะ
ชาวญัฮกุรมีผิวค่อนข้างดำตาโตกว่าคนไทย แต่ไม่ต่างจากคนไทยมากนักรูปร่างสูงปานกลาง ผู้หญิงจะหน้าตาดีการแต่งกายแบบดั้งเดิมของชาวญัฮกุร คือ ผู้หญิงจะสวมเสื้อเก๊าะ และนุ่งผ้านุ่งมีชายผ้าใหญ่ สวมสร้อยเงิน และเจาะใบหูกว้างเพื่อสวมตุ้มหูใหญ่ ญัฮกุรเรียก กะจอน ทำด้วยไม้มีกระจกติดข้างหน้า ไว้ผมยาวเกล้ามวย ส่วนผู้ชายนุ่งผ้าโสร่งตาหมากรุก วิธีการนุ่งแบบเหน็บธรรมดา

ภาษาของชาวญัฮกุรจัดอยู่ในตระกูลภาษามอญ-เขมร สาขามอญ เพราะมีความใกล้เคียงกับภาษามอญโบราณ และภาษามอญปัจจุบันมากกว่าเขมร ชาวญัฮกุรที่ชัยภูมิ จัดอยู่ในภาษาญัฮกุรถิ่นใต้ ในปัจจุบันชาวญัฮกุรถูกกลืนด้วยประเพณีวัฒนธรรมอีสานอย่างรวดเร็ว มีบางหมู่บ้านเท่านั้นที่พูดภาษาถิ่นของตนเองได้ คนรุ่นใหม่จะพูดภาษารอบข้างที่คนส่วนใหญ่พูดกัน[8] อีกประการหนึ่งภาษาของชาวญัฮกุรไม่มีระบบการเขียน 

จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวญัฮกุรถูกกลืนได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันชาวญัฮกุรพูดภาษาญัฮกุรเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป[9] นอกจากนั้นใช้ภาษาไทยโคราช เช่นเดียวกับชาวมอญ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน

การดำรงชีวิต
ชาวญัฮกุรตั้งบ้านเรือนอยู่กันเป็นกลุ่ม มีบางพวกอพยพหนีเข้าไปอยู่ในป่าลึก หรือบนภูเขาสูงขึ้นไป ชาวบ้านใช้แสงไฟจากตะเกียงเป็นส่วนใหญ่ อาศัยแหล่งน้ำตามธรรมชาติอยู่ในบริเวณหมู่บ้าน ฤดูแล้งจะใช้น้ำซับซึ่งมีตลอดปี ชาวญัฮกุรมีอาชีพทำไร่ปลูกข้าวตามไหล่เขา ใช้วิธีปลูกแบบขุดหลุมหยอดที่เรียกข้าวไร่ตอนเก็บเกี่ยวก็ใช้มือรูดเมล็ดข้าวออกจากรวง ใส่กระบุงแทนการเกี่ยวข้าว 


นอกจากข้าวแล้วยังปลูกข้าวโพด กล้วย ละหุ่ง มันสำปะหลัง มะเขือ พริก เป็นต้น มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย หมู เป็ด ไก่ และหาของป่า เช่น หน่อไม้ เห็ด ผักหวาน ผึ้ง กบ เขียด และมีความสามารถในการจักสานโดยเฉพาะสานเสื่อ

ปัจจุบันชาวญัฮกุรนับถือศาสนาพุทธ เชื่อในเรื่องภูติผีวิญญาณ ชาวญัฮกุรนิยมแต่งงานในหมู่ชาวญัฮกุรด้วยกัน การละเล่นมีการเป่าใบไม้ซึ่งบางครั้งจะเป่าเป็นสัญญาณเรียกหากัน มีการเล่นเพลงพื้นบ้านเรียกว่า กระแจ๊ะ หรือ ปะเรเร เป็นการร้องโต้ตอบกันระหว่างชาย-หญิง ฝ่ายหญิงเป็นผู้ตีโทนให้จังหวะ เนื้อหาเป็นการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว


ประเพณี
ประเพณีชาวญัฮกุรมีประเพณีสงกรานต์ ประเพณีกระแจ๊ะหอดอกผึ้ง ประเพณีแห่พระและจุดพลุ ประเพณีแต่งงาน ชาวญัฮกุรไม่รู้จักกรรมวิธีการทอผ้า แต่จะปลูกฝ้ายเพื่อไปแลกกับผ้าทอของคนกลุ่มไทย และลาว ปัจจุบันชาวญัฮกุรแต่งกายเหมือนคนไทยทั่วไป

ฟ้อนผีฟ้า
ฟ้อนผีฟ้า นิยมจัดเป็นงานประจำปีในเดือน 5 (ประมาณเดือนเมษายน) ลักษณะความเชื่อ

 เป็นการเซ่นสรวงต่อผีฟ้า "พญาแถน" หรือ เทวดาที่สถิตอยู่บนท้องฟ้าเพื่อขอความเ ป็นสิริมงคล และอัญเชิญท่านให้ลงมาเข้าร่างทรงเพื่อช่วยปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัยแก่ชาวบ้านที่มาชุมนุมในพิธี นอกจากนี้เพื่อเชิญเจ้าเข้าทรงรักษาอาการเจ็บไข้ของผู้ป่วยเป็นราย ๆ ไป

พิธีกรรมผู้ฟ้อนผีฟ้ามีทั้งชายและหญิง เป็นผู้สูงอายุ แต่งกายด้วยชุดพื้นเมือง แบ่งเป็นกลุ่มละ 14–15 คน มีคนเป่าแคนหนึ่งคน เมื่อพร้อมจะนำเครื่องเซ่นได้แก่ ขันหมากเบ็ง หรือพานบายศรี ดอกไม้ธูปเทียน ผ้าไตรจีวร แป้งหอม น้ำอบไทย 

อาหารคาว-หวานซึ่งประกอบด้วยข้าวเหนียว ไข่ต้ม และของกินพื้นเมืองนำไปตั้งบูชา นำดาบที่สะพายติดตัวมา 3–4 เล่มวางรวมกัน จุดธูปเทียนผู้นำทำพิธีเป็นแม่ใหญ่หรือคุณยายซึ่งเรียกว่าหมอทรง หรือนางทรง หรือนางเทียม นำสวดมนต์อาราธนาศีลรับศีลห้ากล่าวขอขมาลาโทษที่รบกวนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และขออัญเชิญเจ้าผู้เป็นใหญ่ให้มาเข้าทรง 

เอาแป้งโรยไปบนเครื่องเซ่น แจกแป้งหอมและน้ำอบไทยทากันทั่วทุกคน การฟ้อนรำแบบง่าย ๆ ต่างคนต่างรำบางคนกระทืบเท้าให้จังหวะ ตามเสียงแคน โดยฟ้อนเป็นวงกลมเวียนไปทางขวามือของหมอแคน คนฟ้อนจะหยุดเมื่อแคนหยุดเป่า และจะเดินไปกราบที่เจ้าพ่อพระยาแล เป็นการเซ่นสรวงต่อผีฟ้า"พญาแถน" หรือเทวดา

ประเพณีแปลกๆฟ้อนผีมด-ผีเม็ง ประเพณีการฟ้อนผีของชาวล้านนา คล้ายกับการลงผี(เข้าทรง)เข้าผี

ประเพณีแปลกๆฟ้อนผีมด-ผีเม็ง ประเพณีการฟ้อนผีของชาวล้านนา คล้ายกับการลงผี(เข้าทรง)เข้าผี

ประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็ง  คือประเพณีการฟ้อนผีของชาวล้านนา คล้ายกับการลงผี(เข้าทรง)ผีเจ้าพ่อของท้องถิ่นอื่น

นิยมเรียกกันว่า "ฟ้อนผีมด-ผีเม็ง" ประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็ง เป็นการฟ้อนรำเพื่อสังเวยผีบรรพบุรุษ ซึ่งชาวล้านนา(ชาวบ้านในท้องถิ่นภาคเหนือ)นับถือกัน เป็นพระเพณีเก่าแก่ที่สันนิษฐานกันว่ารับมาจากชาวมอญ เพราะคำว่า "เม็ง" ภาษาล้านนาหมายถึงชาวมอญ การแต่งกายของผู้เข้าร่วมพิธีก็จะคล้ายกับชาวมอญ ประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็งนี้ จะจัดกันภายในสายตระกูล ตามคติความเชื่อของชาวล้านนา คนเราจะมีผีบรรพบุรุษ (บางครั้งเรียก ผีปู่ย่า หรือ เจ้าปู่เจ้าย่า) ซึ่งหมายถึงผีปู่ย่าตายายญาติผู้ใหญ่ในวงศ์ตระกูลที่เสียชีวิตไปแล้ว ยังคอยปกป้องรักษาคุ้มครองลูกหลานในวงศ์ตระกูล ความหมายในอีกแง่หนึ่ง

"ผีมด" หมายถึงผีระดับชาวบ้าน สืบเชื้อสายจากชาวไทใหญ่ ส่วนผีเม็ง หมายถึงผีระดับแม่ทัพนายกอง สืบเชื้อสายจากชาวมอญ ลูกหลานจะทำที่สถิตย์ของผีบรรพบุรุษที่เรียกว่า "หอผี" ไว้ทางทิศหัวนอนของบ้านผู้เป็น"เก๊าผี" หมายถึงผู้หญิงที่เป็นใหญ่ที่สุดในวงศ์ตระกูล ด้วยเหตุนี้เมื่อถึงเวลาอันสมควร ก็จะต้องจัดพิธีเพื่อสังเวยผีบรรพบุรุษ อาจจะจัดเป็นรอบทุกๆ2ปีหรือ3ปีแล้วแต่จะกำหนด อาจารย์อุษามณี อภิชยากุล นายกสมาคมช่างฟ้อนได้สืบสานและร่วมอนุรักษ์ความเชื่อบรรพชน โดยจัดตั้งมูลนิธิขึ้น

ประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็งในเขตจังหวัดลำปางช่วงเวลาในการจัดประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็ง

ประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็งนิยมทำกันในช่วงเดือน5เหนือ(เดือน3ของภาคกลาง)หรือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ไปจนย่างเข้าฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวบ้านเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วและยังว่าง เหมาะที่ญาติพี่น้องจะมารวมตัวพบปะกันเพื่อช่วยกันจัดเตรียมงาน และถือโอกาสสังสรรค์เป็นงานรวมญาติของคนในสายตระกูลไปด้วยในตัว

พิธีกรรม
ก่อนวันงานจะมีการจัดเตรียม "ผาม" หรือ "ปะรำ" ขนาดผามแล้วแต่จำนวนคนในตระกูลและผู้เข้าร่วมพิธี หลังคาผามมุงด้วยทางมะพร้าว หญ้าคา หรือใบตองตึง ตกแต่งประดับผามให้สวยงามด้วยทางมะพร้าว ต้นกล้วย ขี้ผึ้ง

หม้อน้ำ น้ำต้น ฯลฯ มีผ้าขาวยาวโยงอยู่ตรงกลางผามสำหรับให้ร่างทรงโหนเชิญผีมาเข้าทรง ด้านหน้าผามจะยกพื้นสำหรับวางเครื่องเซ่น เครื่องเซ่นก็จะมีหัวหมูต้ม ไก่ต้มทั้งตัว เหล้า ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน ขนม ผลไม้ เช่น กล้วย อ้อย มะพร้าว ฯลฯ ถัดจากอาหารคาวหวานจะมีที่สำหรับจัดวางเครื่องแต่งกายของร่างทรงจำพวก ผ้าโสร่ง ผ้าโพกหัวสีต่างๆ สำหรับผู้ที่จะฟ้อนนุ่งทับลงไปเวลาผีเข้าแล้ว

ประเพณีการฟ้อนผีจะจัด2วัน วันแรกเรียกว่า "วันข่าว" หรือ "ป่าวข่าว" เป็นการบอกให้ญาติพี่น้องในสายตระกูลมาร่วมชุมนุมกันที่บ้านงานเพื่อเตรียมงานก่อนจะถึงวันงาน ส่วนอีกวันเป็นวันจริงที่มีการเชิญผีเข้าทรงและมีพิธีกรรมการฟ้อน โดยหอผีแต่ละหอหรือตระกูลผีแต่ละตระกูลจะจัดงานฟ้อนผีไม่ให้ซ้ำกับวันงานของตระกูลอื่น เพราะจะมีการเชิญคนทรงและผีจากตระกูลอื่นมาร่วมงานด้วย

**การแต่งกายของม้าขี่(ร่างทรง)ที่คล้ายกับลักษณะการแต่งกายของชาวมอญ(เม็ง) (ภาพม้าขี่ชาวจังหวัดเชียงราย)

ในวันงานพิธีกรรมจะเริ่มแต่เช้า โดยเก๊าผีทำพิธีสักการบูชาผีบรรพบุรุษซึ่งอยู่บนแท่นบูชา ณ หอผีประจำบ้านก่อน มีการอธิษฐานขอให้ผีบรรพบุรุษคุ้มครองให้การจัดงานราบรื่น ให้คนในตระกูลอยู่เย็นเป็นสุข ประกอบอาชีพเจริญก้าวหน้า จากนั้นจะกล่าวเชิญผีไปยังผามที่เตรียมไว้เพื่อเข้าทรง

การเข้าทรงของผีมดไม่ยุ่งยากเพราะพออธิษฐานเสร็จผีก็จะเข้า ส่วนผีเม็งนั้นต้องโหนผ้าขาวที่อยู่กลางผามแล้วหมุนตัวไปรอบๆผีจึงจะเข้า ผีจะเข้าเก๊าผีก่อนเป็นคนแรก ต่อมาก็จะเข้าคนอื่นๆในตระกูล เวลาผีเข้าร่างทรงคนไหนแล้ว จะมีคนนำเครื่องบวงสรวงซึ่งมีขันข้าวตอกดอกไม้ ธูปเทียน น้ำขมิ้นส้มป่อยและมะพร้าวอ่อนมาให้

ร่างทรงจะรับไว้ จากนั้นร่างทรงจะลุกไปเลือกเสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวที่ชอบและสวมทับ จะมีการซักถามกันเล็กน้อยโดยมีล่ามซึ่งเป็นคนที่ชอบพูดคุยซักถาม ถ้าเป็นคำตอบที่ถูกผีก็จะผงกหัว คำถามที่ใช้เช่น เป็นใคร มาจากไหน มาด้วยวิธีใด เป็นต้น จากนั้นจะเป็นการฟ้อนสังเวย มีวงปี่พาทย์บรรเลง ปี่พาทย์นี้เป็นปี่พาทย์แบบพื้นเมืองล้านนาซึ่งมีจังหวะคึกคักเร้าใจ มีการร้อง "ฮิ้วๆ" ประกอบการฟ้อนรำไปด้วยอย่างสนุกสนาน



ร่างทรงส่วนมากจะเป็นผู้หญิง มีตั้งแต่คนแก่อายุหลายสิบปีไปจนเด็กสาวรุ่นอายุสิบกว่า ถ้าเป็นผู้ชายฟ้อนจะฟ้อนดาบ พิธีกรรมจะเริ่มตั้งแต่เช้าไปจนเย็น มีการฟ้อนสังเวยไปเรื่อยๆ พอเที่ยงวันจึงหยุดพักรับประทานอาหาร จะมีการถวายอาหารให้ผีกินก่อนจากนั้นคนจึงกินต่อ

เจ้าภาพจะถวายอาหารคาวหวานต่างๆที่เตรียมไว้โดยจัดใส่ขันโตกเป็นชุดๆ จากนั้นจะมอบดาบให้ร่างทรงคนละอันโดยจุดเทียนไขผูกปลายดาบ ร่างทรงจะรับดาบไปเวียนรอบๆอาหารทุกจานจนครบเป็นอันเสร็จพิธีถวายอาหารให้ผี ในการรับประทานอาหารผีมดจะรับประทานอาหารทุกชนิดทั้งคาวและหวาน ส่วนผีเม็งจะเลือกรับประทานเฉพาะอาหารหวานและน้ำมะพร้าวเท่านั้น

หลังจากฟ้อนมาตลอดทั้งวันแล้วก็จะถึงเวลาส่งผี จังหวะดนตรีปี่พาทย์จะช้าลงจนหยุดบรรเลง

ร่างทรงจะเดินไปที่หอผีและการขับจ๊อยซอเป็นกลอนสดเสียงโหยหวน มีขันดอกไม้ธูปเทียนพร้อมอาวุธ เช่น ดาบ นำมาฟ้อนเป็นจังหวะเนิบนาบอ่อนช้อย ก่อนผีจะออกจะรับขันข้าวตอกดอกไม้ เมื่อเสร็จแล้วจะล้มฟุบลงกับพื้นถือว่าผีออกแล้ว ร่างทรงก็เข้าสู่สภาพปกติ หลังจากเสร็จพิธีแล้วผู้คนในตระกูลก็จะช่วยกันรื้อผามทำความสะอาดสถานที่ และรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน



หน้าที่ของผู้เข้าร่วมพิธีกรรม
เนื่องจากเป็นงานที่จัดกันในวงศ์ตระกูล ลูกหลานแต่ละคนจะมีหน้าที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้

"ม้าขี่" หรือบางครั้งเรียกว่า "ที่นั่ง" หมายถึงผู้ทำหน้าที่เป็นร่างทรงนั่นเอง ส่วนมากจะเป็นเพศหญิง หน้าที่นี้จะเป็นหน้าที่ประจำ ถ้าจะเปลี่ยนต้องขออนุญาตจากผีเสียก่อน จะเปลี่ยนโดยพลการไม่ได้
"ควาญ" คือ ผู้มีหน้าที่ปรนนิบัติผี มีหน้าที่ช่วยกันแต่งองค์ทรงเครื่อง จัดหาน้ำดื่ม น้ำมะพร้าว สุราหรือเครื่องดื่ม หมาก เมี่ยง บุหรี่ ฯลฯ ตามแต่ผีจะเรียกหา เวลาผีจะไปงานฟ้อนที่ผามอื่นๆ ควาญก็จะติดสอยห้อยตามทำหน้าที่หิ้วข้าวของเครื่องใช้ตามไปด้วย

"กำลัง" หรือ "กำลังผาม" หมายถึง พลังของวงศ์ตระกูลที่มีอยู่ในรูปของ "กำลังกาย" หรือแรงงานจากคนและ "กำลังทรัพย์" ที่สามารถระดมได้จากลูกหลานในตระกูลนั่นเอง คำว่า กำลัง มักใช้กับบรรดาลูกหลานเพศชาย ซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ เช่น ปลูกสร้างผาม แบกขนอุปกรณ์ ประกอบอาหาร ยกสำรับ ตักน้ำ ผ่าฟืน ฯลฯ

รายการบล็อกของฉัน