Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คุณธรรมคือ..(Virtue)

คุณธรรม (อังกฤษ: Virtue) เป็น มุมมองแง่หนึ่งของ จริยธรรม ซึ่งคำนึงถึง สิ่งที่ถูกและผิด โดยมีหลักใหญ่สามประการ ได้แก่ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในแต่ล่ะบุคคล ระบบยุติธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ทางสังคม และ ธรรมเนียมปฏิบัติ สภาพคุณความดี หรือคุณลักษณะที่แสดงออกของความดี ที่แสดงออกด้วยการปฏิบัติและเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป
*คุณธรรมบุคคล คือการพิจารณา และ จำแนกระหว่างสิ่งที่ถูกและผิด ตามเจตนา แรงจูงใจ หรือการกระทำ
*คุณธรรม คือ นามธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับจิตสำนึกของมนุษย์ที่ตระหนักถึงความผิดชอบชั่วดี
*คุณธรรมเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงมาตรฐานทางศีลธรรม และเป็นรูปแบบของความคิดและการกระทำบนพื้นฐานของมาตรฐานทางศีลธรรม คุณธรรมอาจนับรวมในบริบทกว้างๆของค่านิยม บุคคลแต่ละคนละมีแก่นของค่านิยมภายใจที่ เป็นหลักของความเชื่อ ความคิด ความเห็น ของคนๆนั้น ความซื่อสัตย์ต่อเอง (integrity) ในแง่ของค่านิยม คือคุณธรรมที่ เชื่อมค่านิยมของคนๆนั้นเข้ากับ ความเชื่อ ความคิด ความเห็น และ การกระทำของเขา สังคมมีค่านิยมร่วมที่คนในสังคมยึดถือร่วมกัน ค่านิยมส่วนตัว โดยทั่วไปแล้ว มักจะเข้ากับค่านิยมของสังคม
คุณธรรมของบุคคล สามารถจัดได้เป็นกลุ่มต่างๆ
หรือแบ่งตามค่านิยม:
1. จริยธรรม(ดี-เลว, มีศีลธรรม-ขัดศีลธรรม-ไร้ศีลธรรม,ถูก-ผิด)
2. สุนทรียภาพ (ไม่สมดุล, พอใจ)
3. ลัทธิคำสอน (การเมือง, ศาสนา, ค่านิยมและกระแสสังคม)
4. คุณธรรมโดยกำเนิดสันดาน
5. คุณธรรมสำคัญของวัฒนธรรมตะวันตกคลาสสิก (The four classic Western Cardinal virtues) คือ: ความอดทนอดกลั้น (temperance): σωφροσύνη (sōphrosynē)
6. ความรอบคอบ (prudence): φρόνησις (phronēsis)
7. ความกล้าหาญ (courage): ἀνδρεία (andreia)
8. ความยุติธรรม (justice): δικαιοσύνη (dikaiosynē)
ซึ่งคุณธรรมเหล่านี้มีที่มาจากปรัชญากรีก 
เช่น งานเขียนของ พลาโต ซึ่งอาจรวมถึงงานของโซคราติส

คุณธรรม ตามคำสอนของอริสโตเติล
อริสโตเติลนิยาม คุณธรรม ว่าคือ จุดสมดุลระหว่างความขาดและเกินของคุณลักษณะ โดยคุณธรรมสูงสุดไม่ได้อยู่ที่ตรงกลางๆ แต่อยู่ที่จุดเฉลี่ยทอง ที่บางครั้งก็ใกล้ปลายหนึ่งมากกว่าอีกปลายหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ความกล้าหาญ เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความขี้ขลาด กับ ความโง่เขลา ความมั่นใจ เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความน้อยเนื้อต่ำใจ กับ ความหลงตัวเอง ความโอบอ้อมอารี เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความขัดสน กับ ความฟุ้มเฟือย
อริสโตเติลเชื่อว่า การเป็นคนเป็นสิ่งประเสริญ ที่ได้มีทักษะเในการดำรงชีวิต ในการเจริญก้าวหน้า ในการมีความสัมพันธ์ที่ดี และในการแสวงหาความสุข การเรียนรู้คุณธรรมอาจจะยากตอนแรกๆ แต่มันจะง่ายขึ้นถ้าได้รับการฝึกฝนจนเป็นนิสัย

คุณธรรมตามความเชื่อของโรมัน
1. อำนาจทางจิตวิญญาณ (Auctoritas หรือ "Spiritual Authority") การมีจุดยืนทางความคิด
2. ความเป็นมิตร (Comitas หรือ "Humour") ความสุภาพ ใจกว้าง และเป็นมิตร
3. ความบากบั่นภาคเพียร (Constantia หรือ "Perseverance") ความมุมานะ พยายาม อดทน
4. ความอ่อนโยน (Clementia หรือ "Mercy")
5. ศักดิ์ศรี (Dignitas หรือ "Dignity") การมีคุณค่าแห่งตน มีความภาคภูมิใจในตัวเอง
6. วินัย (Disciplina หรือ "Discipline")
7. ความมั่นคงเด็ดเดี่ยว (Firmitas หรือ "Tenacity") ความแข็งแกร่งของจิตใจที่จะยึดมั่นกับจุดมุ่งหมาย
8. ความประหยัดมัธยัสถ์ (Frugalitas หรือ "Frugality")
9. ความรับผิดชอบ (Gravitas หรือ "Gravity") การรู้ถึงความสำคัญของงานที่ได้รับมอบหมาย
10. ความน่านับถือ (Honestas หรือ "Respectability")
11. การรู้จักมารยาทธรรมเนียม (Humanitas หรือ "Humanity")
12. การขยันทำงานหนัก (Industria หรือ "Industriousness")
13. การมีความยุติธรรม (Iustitia หรือ "Justice")
14. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ (Pietas หรือ "Dutifulness")
15. ความรอบคอบ (Prudentia หรือ "Prudence")
16. การรักษาสุขภาพและความสะอาด (Salubritas หรือ "Wholesomeness")
17. การควบคุมตัวเอง (Severitas หรือ "Sternness")
18. ความซื่อสัตย์ (Veritas หรือ "Truthfulness")
19. ความเป็นลูกผู้ชาย (Virtus หรือ "Manliness") ความองอาจ กล้าหาญ

คุณธรรม ตามศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์ ถือว่า ความศรัทธา (faith), ความหวัง (hope), และ ความรัก (love) คือ คุณธรรม โดยคุณธรรมทั้งสามนี้มาจาก 1 Corinthians 13:13 (νυνι δε μενει πιστις ελπις αγαπη τα τρια ταυτα μειζων δε τουτων η αγαπη (pistis, elpis, agape)).

คุณธรรม ตามความเชื่อของมุสลิม
โดยทั่วไปแล้ว มุสลิมเชื่อว่า อัลกุรอาน เป็นแหล่งรวบรวมคุณธรรมทั้งหมดไว้ อิสลามโดยชื่อแล้ว หมายถึง การยอม ซึ่งคือ การยอมรับประสงค์ของอัลลอฮ์ การยอมรับสิ่งต่างๆในแบบที่มันเป็น คุณธรรมที่เด่นที่สุดคือ ความกรุณา และ ความเมตตา โดยแต่บทของทั้ง 114 บทใน อัลกุรอาน
(โดยยกเว้น แค่บทเดียว) เริ่มต้นด้วย "In the name of God the Compassionate, the Merciful".
คุณธรรม ตามความเชื่อของมุสลิม: การสวดมนต์, การสำนึกบาป, ความซื่อสัตย์, ความจงรักภักดี, ความจริงใจ, การประหยัด, ความรอบคอบ, ความรู้จักประมาณ, การควบคุมตัวเอง, วินัย, ความพากเพียร, ความอดทน, ความหวัง, ศักดิ์ศรี, ความกล้าหาญ, ความยุติธรรม, ความใจกว้าง (tolerance), ปัญญา, การพูดดี, ความเคารพ, ความบริสุทธิ์, ความสุภาพ, ความใจดี, ความรู้คุณ, ความโอบอ้อมอารีย์, ความพอใจ
คุณธรรม ตามศาสนาฮินดู
1. การเห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น (Altruism): การบำเพ็ญประโยชน์กับมนุษยชาติอย่างไม่เห็นแก่ตัว
2. การควบคุมตัวเอง (Self Control) และการรู้จักพอประมาณ (Moderation): การรู้จักควบคุมตัวเองและพอประมาณในทุกๆสิ่ง ความสัมพันธ์ทางเพศ อาหาร กิจกรรมบันเทิงต่างๆ
3. ความซื่อสัตย์ (Honesty): การซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อเพื่อน ต่อมนุษยชาติ
4. ความสะอาด (Cleanliness): ความสะอาดภายนอกคือการรักษาสุขภาพและสุขลักษณะที่ดี ความสะอาดภายในคือการบูชาพระเจ้า ความไม่เห็นแก่ตัว อหิงสา การละเว้นจากของมึนเมาต่างๆ
5. การปกป้องและเคารพต่อโลก (Protection and reverence for the Earth)
6. การใจกว้าง (Universality): การเป็นคนใจกว้างและเคารพทุกๆคน ทุกๆสิ่ง และวิถีของเอกภพ
7. การมีสันติภาพ (Peace): การฝึกนิสัยให้มีกริยาที่สงบสันติเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลรอบข้าง
8. การไม่ใช้ความรุนแรง/อหิงสา (Non-Violence/Ahimsa): การไม่ฆ่าหรือการทำรุนแรงกับสิ่งมีชีวิตใดๆไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม
9. การให้ความเคารพคนชราและครูอาจารย์ (Reverence for elders and teachers)

คุณธรรม ตามศาสนาพุทธ
พุทธศาสนิกชนปฏิบัติตามแนวทางของมรรค ๘ ซึ่งอาจนับเป็นรายการจำแนกคุณธรรม ดังนี้
1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง เห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา เข้าใจอริยสัจ 4
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย musa

จริยธรรมคืออะไร..

จริยธรรม(Ethics)
จริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของ วิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ

ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม

จริยธรรม (Ethics)
คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ"

จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว
ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้
๑. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว
๒. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา
๓. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท
๔. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง
๕. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใด ๆ ได้
จริยธรรมคืออะไร
เรื่องจริยธรรมนั้นมีนักปราชญ์ให้ความหมายเอาไว้มาก  แนวคิดของแต่ละท่านมีทั้งเหมือนกัน คล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน  ถือว่าเป็นเรื่องนานาทัศนะ  เพราะจริยธรรมเป็นการตีกรอบความประพฤติให้คนในสังคมได้แนวทางปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะและอาจกล่าวได้ว่า
จริยธรรมคือเครื่องประดับของบุคคลในสังคมนั้น ๆ เพราะเป็นการบ่งบอกถึงลักษณะและคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่โดดเด่นให้เห็นได้ชัดเจน
คำว่า  จริยธรรม  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. 2525  ได้ให้ความหมายดังต่อไปนี้  ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ  ศีลธรรม  กฎศีลธรรม  (ราชบัณฑิตยสถาน. 2539: 216 )

จริยธรรม ( Ethical  Rules ) คือประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติ
 ( กีรติ  บุญเจือ . 2538 : 4 )
จริยธรรมหมายถึงธรรมชาติหรือหลักธรรมที่บุคคลควรประพฤติ  จัดว่าเป็นคุณธรรมที่แสดงออกทางร่างกายในลักษณะที่ดีงามถูกต้อง  อันเป็นสิ่งที่ประสงค์ของสังคมและจริยธรรมจะมีได้จำต้องอาศัยหลักคำสอนทางศาสนา  อันได้แก่  ศีล ( Precept ) อันหมายถึงหลักหรือกฎเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติเพื่อดัดหรือฝึกหัดกายและวาจาให้เรียบร้อย  ให้เป็นปกติ

กล่าวคือ  จะพูดหรือทำสิ่งใดให้เป็นไปตามธรรมชาติ  อย่าให้ผิดปกติ
( ผิดศีล ) เช่น  พูดให้ถูกต้องให้เป็นธรรม  กระทำให้ถูกต้องให้เป็นธรรม  เมื่อพูดหรือกระทำให้ถูกต้องและเป็นธรรม  ย่อมมีความสุข ความสบาย  เยือกเย็น  ไม่เดือดร้อนดังกล่าว จึงเป็นผลของการมีศีลหรือเป็นผลของการมีคุณธรรมในจิตใจ  เมื่อมีคุณธรรมในจิตใจแล้วก็เป็นเหตุให้ประพฤติจริยธรรมได้ถูกต้อง  ดังนั้นคุณธรรมและศีลจึงเป็นโครงสร้างของจริยธรรม
( บุญมี  แท่นแก้ว. 2541 : 1 )


จริยธรรม  คือ  กิริยามารยาทการประพฤติปฏิบัติที่สังคมปรารถนา  เป็นแนวทางเพื่อบรรลุสภาพชีวิตที่ดีงามทั้งทางกาย  วาจา  ใจ ( ทำ  พูด  คิด ) เป็นไปในทางที่ดีและละเว้นสิ่งที่ผิดต่อปทัสถานของสังคม ( social  Norm ) (  พิภพ  วชังเงิน. 2546 : 4 )

จริยธรรม คือ  กฎเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติ  โดยได้จากหลักการทางศีลธรรม  หลักปรัชญา  วัฒนธรรม  กฎหมายหรือจารีตประเพณี  เพื่อเสริมสร้างมนุษย์สมบัติที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์โดยธรรมชาติ  เพื่อประโยชน์สุข
แก่ตนเองและสังคม  นอกจากนี้จริยธรรมยังใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจเลือก
ความประพฤติ  การกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ด้วย
(  มัญชุภา  ว่องวีระ.2541 : 6 )

กล่าวโดยสรุปแล้ว  คำว่า  จริยธรรมมาจากรากศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต  ดังนี้  จริยะ  หมายถึง ความประพฤติปฏิบัติเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาจากการกระทำทางกาย  วาจาและใจ
ธรรมะ  หมายถึง  คำสั่งสอนในทางศาสนาที่มนุษย์นำมาเป็นสื่ออุปกรณ์  เพื่อข้ามไปสู่จุดหมายของชีวิตที่ถูกต้องดีงาม
ดังนั้นจริยธรรม  หมายถึง  การปฏิบัติตนตามคำสอนในทางศาสนาเพื่อความถูกต้องดีงามของชีวิต..
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย musa

รายการบล็อกของฉัน