Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ข้อมูลใหม่ฉีกตำราเดิม ชี้คนแพร่เชื้อกาฬโรคไม่ใช่หนู


🐹เดิมเชื่อกันว่าหนูเป็นตัวการแพร่เชื้อกาฬโรคในยุโรปยุคกลาง จนทำให้มีผู้คนล้มตายกันหลายล้านคน

ผลการศึกษาล่าสุดโดยมหาวิทยาลัยออสโลของนอร์เวย์และมหาวิทยาลัยเฟอร์ราราของอิตาลี ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ PNAS ระบุว่า
พบหลักฐานที่ชี้ว่าความเชื่อเรื่องหนูเป็นตัวการแพร่เชื้อกาฬโรคในยุโรปยุคกลางนั้นไม่เป็นความจริง แต่มนุษย์ด้วยกันต่างหากคือพาหะของโรคที่อันตรายยิ่งกว่า โดยกาฬโรคทำให้มีผู้คนล้มตายกันหลายล้านคนในช่วงศตวรรษที่ 14 เรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 19
ก่อนหน้านี้วงการวิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์การแพทย์เชื่อว่า หมัดที่อาศัยอยู่กับตัวหนูสามารถกัดและแพร่เชื้อกาฬโรคให้กับคน จนเป็นเหตุให้เกิดโรคระบาดแพร่ไปอย่างรวดเร็ว คร่าชีวิตผู้คนในยุโรปถึง 25 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นจำนวนมากกว่า 1 ใน 3 ของประชากรยุโรประหว่างปี 1347-1351

แต่อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยผู้เสนอผลการศึกษาล่าสุดได้ตรวจสอบข้อสันนิษฐานดังกล่าว โดยใช้ข้อมูลเรื่องการระบาดและการตายของประชากรในเมือง 9 แห่งของยุโรป ที่มีการจดบันทึกไว้เป็นอย่างดีมาวิเคราะห์ จากนั้นได้สร้างแบบจำลองพลวัตรของการระบาดที่เป็นไปได้ 
3 แบบ คือการระบาดจากหนู การระบาดด้วยการแพร่เชื้อทางอากาศ และการระบาดจากตัวหมัดและเหาที่อยู่ตามร่างกายและเสื้อผ้าของมนุษย์ ขึ้นมาใช้ทดสอบข้อมูลเหล่านี้

หนูดำ (Rattus rattus) ถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการแพร่เชื้อกาฬโรคมาหลายร้อยปี
ผลการทดสอบข้อมูลที่บันทึกไว้กับแบบจำลองทั้ง 3 แบบพบว่า มีข้อมูลของเมืองถึง 7 ใน 9 แห่ง ที่สอดรับกับวงจรการระบาดจากตัวหมัดและเหาที่อยู่ตามร่างกายและเสื้อผ้าของมนุษย์เอง..

ศาสตราจารย์นีลส์ สเตนเซธ ผู้นำคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยออสโลบอกว่า การติดต่อผ่านปรสิตในมนุษย์จะทำให้เชื้อกาฬโรคระบาดไปได้อย่างรวดเร็วเป็นวงกว้างมากที่สุด เพราะเป็นการแพร่เชื้อจากคนสู่คนโดยตรง ในขณะที่การระบาดจากหมัดหนูจะช้ากว่า เพราะเชื้อต้องไปใช้เวลาผ่านวงจรชีวิตของหนูมาก่อนที่จะมาถึงคน

ผลการวิจัยยังชี้ว่า การป้องกันเหตุกาฬโรคระบาดในอนาคตขึ้นอยู่กับการรักษาสุขอนามัยเป็นสำคัญ รวมทั้งขึ้นอยู่กับการกักกันควบคุมผู้ติดเชื้อ ไม่ให้เที่ยวออกไปแพร่เชื้อให้ผู้อื่นในที่สาธารณะ "หากคุณรู้สึกไม่สบาย ก็ควรจะอยู่กับบ้าน" ศาสตราจารย์สเตนเซธกล่าว
ปัจจุบันยังคงมีการระบาดของกาฬโรคอยู่บ้างในบางพื้นที่ของภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และบางส่วนของทวีปอเมริกา โดยยังคงมีเชื้อกาฬโรคหลงเหลืออยู่ในประชากรหนูแถบนั้น 

องค์การอนามัยโลกระบุว่า ระหว่างปี 2005-2010 มีรายงานผู้ติดเชื้อกาฬโรค 2,348 รายจากทั่วโลก และมีรายงานผู้เสียชีวิตทั้งหมด 584 ราย
เมื่อปี 2001 มีการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อกาฬโรค โดยใช้เชื้อที่ได้จากสัตวแพทย์ผู้เสียชีวิตในสหรัฐฯเมื่อปี 1992 หลังติดเชื้อกาฬโรคจากแมวที่จามใส่เขา หลังเขาพยายามช่วยมันขึ้นมาจากใต้ถุนบ้าน

ไขปริศนาที่ตั้ง มาชูปิกชู พบจงใจสร้างบนรอยเลื่อนแผ่นเปลือกโลก

นักโบราณคดีต่างสงสัยว่า เหตุใดชาวอินคาจึงเลือกก่อสร้างมาชูปิกชูบนหุบเขาสูงชันและลึกลับแห่งนี้

โบราณสถานอารยธรรมอินคา "มาชูปิกชู" (Machu Picchu) ของประเทศเปรูนั้น นอกจากจะเป็นมรดกโลกที่สวยงามดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกไปเยือนปีละกว่า 1.5 ล้านคนแล้ว เสน่ห์ที่ชวนให้หลงใหลอีกอย่างหนึ่งคือปริศนาเรื่องความเป็นมาและสถานที่ตั้ง ซึ่งยังไม่มีใครรู้แน่ชัดว่ามาชูปิกชูถูกสร้างขึ้นเพื่ออะไร และเหตุใดจึงต้องซ่อนตัวอยู่บนหุบเขาสูงชันยากแก่การเข้าถึง

ล่าสุดมีผู้เสนอผลการศึกษาทางธรณีวิทยา ซึ่งชี้ถึงคำตอบที่เป็นไปได้ว่า ชาวอินคาเลือกบริเวณ "หุบเขาศักดิ์สิทธิ์" ที่มีแม่น้ำอูรูบัมบาโอบล้อมเป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญ เพราะมีรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกและรอยแยกของพื้นหินตัดกันเป็นเครื่องหมายรูปกากบาท (X) เช่นเดียวกับเมืองโบราณแห่งสำคัญอื่น ๆ ในจักรวรรดิอินคา
ผลวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมและการตรวจวัดทำแผนที่จากสถานที่จริงยืนยันว่า มาชูปิกชูถูกสร้างอยู่บนรอยเลื่อนและรอยแยกลักษณะดังกล่าว 

โดยรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกบางแนวที่พบมีความยาวถึง 175 กิโลเมตรเลยทีเดียว
ดร. รูอัลโด เมเนกัต 
นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งริโอกรานเดโดซูลของบราซิล รายงานผลการศึกษาข้างต้นต่อที่ประชุมประจำปีของสมาคมธรณีวิทยาแห่งอเมริกา (GSA) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยชี้ว่าชาวอินคาจงใจสร้างเมืองตามแนวรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกที่มีเทือกเขาสูงและมีแหล่งหินเก่าแก่ตามธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งจะสามารถใช้ในการก่อสร้างได้อย่างสะดวกและเหลือเฟือ โดยไม่ต้องเจาะสกัดและเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น
การสร้างเมืองตามแนวของแหล่งหินธรรมชาติ ทำให้ชาวอินคาสร้างกำแพง ขั้นบันได และตัวอาคารได้ โดยไม่ต้องใช้วิธีก่ออิฐถือปูน แต่ใช้การตัดและเรียงหินแต่ละก้อนให้ทำมุมแนบสนิทกันพอดี 

ซึ่งการก่อสร้างที่ใช้วิธีประณีตเช่นนี้จะสำเร็จลงได้อย่างรวดเร็วและไม่เปลืองแรง ก็จะต้องทำในแหล่งหินที่ใช้เป็นวัสดุเท่านั้น

กำแพงและขั้นบันไดของมาชูปิกชูยังสร้างขึ้นตามแนวรอยแยกของพื้นหิน เพื่อเป็นทางระบายน้ำตามธรรมชาติ
"การเลือกตำแหน่งที่ตั้งของมาชูปิกชูไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสร้างเมืองหรือป้อมปราการบนยอดเขาสูงชันขนาดนั้น หากบนพื้นผิวไม่ได้มีรอยแตกอยู่ก่อนแล้ว" 
ดร. เมเนกัตกล่าว

"การวางแผนผังของกลุ่มอาคารและขั้นบันไดในมาชูปิกชู สอดคล้องกับแนวรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกและเครือข่ายของรอยแยกในพื้นหินอย่างชัดเจน ซึ่งรอยแตกเหล่านี้ยังทำหน้าที่เป็นทางระบายน้ำเมื่อเกิดฝนตกหนัก ช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับสิ่งก่อสร้างได้เป็นอย่างดีอีกด้วย"

มาชูปิกชูตั้งอยู่ในหุบเขาที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 2,430 เมตร เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอินคาที่เคยรุ่งเรืองในภูมิภาคอเมริกากลางระหว่างศตวรรษที่ 13-16 นักโบราณคดีบางกลุ่มเชื่อว่ามาชูปิกชูถูกสร้างขึ้นเป็นที่มั่นแห่งท้าย ๆ เพื่อหลบหนีการรุกรานของนักล่าอาณานิคม 
Machu Picchu
บ้างก็เชื่อว่าอาจจะเป็นอารามของนักบวชหญิง, พระราชวังสำหรับจักรพรรดิเสด็จแปรพระราชฐาน, วิหารที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาหุบเขาศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งอาจเป็นสถานที่จำลองตำนานกำเนิดโลกและจักรวาลตามคติความเชื่อของชาวอินคาได้อีกด้วย

พบขวดนมโบราณชี้ทารกหย่านม 5,000 ปีก่อน

การค้นคว้าข้อมูลเชิงลึกของชีวิตของแม่และเด็กรวมถึงครอบครัวในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการให้อาหารและโภชนาการแก่ทารกในช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงมากกับชีวิตของทารกเพราะการตายของเด็กจะสูง และในยุคนั้นที่ยังไม่มียาปฏิชีวนะเป็นสิ่งที่นักวิจัยหลายรายสนใจ เนื่องจากการวิจัยในปัจจุบันเผยว่า นมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อจะมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากแบคทีเรียและสามารถแพร่เชื้อโรคจากสัตว์ได้

สิ่งที่น่าสนใจก็คือทารกยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้รับอาหารและเลี้ยงดูอย่างไร แต่เมื่อเร็วๆนี้การพบหลักฐานภาชนะดินเหนียวที่ขุดพบในเยอรมนี นักวิจัยจากวิทยาลัยเคมีของมหาวิทยาลัยบริสตอล ในอังกฤษ ได้ตรวจสอบภาชนะโบราณนี้

โดยวิเคราะห์สารอินทรีย์ตกค้าง สันนิษฐานว่าภาชนะดังกล่าวน่าจะเปรียบเสมือนขวดนมที่ให้เด็กดื่มนมหลังจากหย่านมแม่เมื่อกว่า 5,000 ปีที่แล้ว และเป็นไปได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาในยุคสัมฤทธิ์และยุคเหล็กในทวีปยุโรป ชี้ให้เห็นว่าพ่อแม่ยุคก่อนประวัติศาสตร์อาจไม่แตกต่างจากพ่อแม่ยุคใหม่

และจากการวิเคราะห์ซากโครงกระดูกเด็กจากช่วงเวลานั้น เผยว่ามีการให้อาหารเสริมแก่เด็กทารกเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนและหย่านมเสร็จสมบูรณ์เมื่ออายุ 2-3 ขวบ ภาชนะเหล่านี้มีรูปทรงแตกต่างและขนาดเล็กมาก มีพวยกาที่ของเหลวอาจถูกเทออกมาหรือใช้ปากดูดได้ 

ภาชนะลักษณะนี้จะพบเห็นได้ยากในบริเวณขุดค้นซากโบราณคดี อย่างไรก็ตาม จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดถึงการใช้งานจริงของภาชนะว่าใช้กับอาหารประเภทใด

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562

ภูเขาสีรุ้งแห่งเทือกเขาแอนดีส


ชมความงาม ‘ภูเขาสีรุ้ง’ แห่งเทือกเขาแอนดีส แหล่งอารยธรรมโบราณพันปี ของจริงไม่อิงโปรแกรมแต่งภาพ


เราอาจจะเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ “ภูเขาสีรุ้ง” ในแถบประเทศจีนกันไปบ้างแล้ว
วันนี้เรามีอีกสถานที่หนึ่งมานำเสนอ ที่มี ภูเขาสีรุ้งเช้นกัน
แถมยังเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมที่เก่าแก่ งดงาม และเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณด้วย

ประเทศที่ว่านั้น ก็คือประเทศ “เปรู” สถานที่ตั้งของภูเขาสีรุ้ง
ภูเขา Willkanut
ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอนดีส ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศนั้นเอง
เมื่อไปเยือนประเทศเล็กๆที่มีอารยธรรมสุดงดงามอย่างเปรู  ก็ไม่ควรพลาดที่จะไปเยี่ยมเยือน

ภูเขา Willkanut บนนเส้นทางท่องเที่ยว ถนน Apu Ausangate
หากใครได้ผ่านไปมักจะหยุดแชะภาพถ่ายรูปกับเทิอกเขาที่มีสีสันสุดน่าประหลาดใจ


ถ้าถ่ายรูปออกมาแล้วเอาไปอวดเพื่อนๆ เชื่อเถอะว่าร้อยทั้งร้อยต้องพูดว่า “ตัดต่อแน่ๆ” 
แต่ว่า ถ้าใครไม่ได้มาเยือนจริงๆ ก็คงไม่เชื่อว่า นี่แหละคือ “ธรรมชาติสร้างจริงๆ” 

สีสันที่สะกดสายตาทั้ง แดง ส้ม ตัดกับท้องฟ้าสีคราม ทำให้ทัศนียภาพนั้นดูเหมือนภาพที่ผ่านปลายนิ้วของนักตัดต่อ มากกว่า ศิลปะที่ธรรมชาติมอบให้

เนื่องจากสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่หนาวเย็นแล้วค่อนข้างแห้ง
ทำให้เทือกเขามีลักษณะที่เป็นดินแหละหินสีแดง รวมถึงต้นหญ้าเล็กๆขึ้นประปราย

ซึ่งชาวเมืองในแถบนั้นใช้พืชเหล่านั้นเลี้ยงสัตว์อย่าง ม้า อัลปาก้า และตัวลามะนั่นเอง

รายการบล็อกของฉัน