นักวิทย์เผย จุดกำเนิดของกาฬโรคอยู่ที่ประเทศคีร์กีซสถาน หลังวิเคราะห์กระดูกฟันจากซากศพโบราณในทศวรรษ 1330
กลางศตวรรษที่ 14 โรคระบาดเป็นหนึ่งในภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โรคระบาดดังกล่าว ได้แก่ กาฬโรค ซึ่งถูกเรียกว่า “ความตายสีดำ” (Black Death) โดยอ้างอิงจากอวัยวะในร่างกาย เช่น นิ้วมือและนิ้วเท้า ที่จะเน่าเปื่อย กลายเป็นสีดำเมื่อได้รับโรคนี้
โดยโรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน และคนสู่คน เกิดจากแบคทีเรียเเยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) ที่อยู่ในสัตว์ประเภทฟันกัดแทะ เช่น หนู กระรอก หมัดจะเป็นหานะนำโรคนี้มาสู่คน
หลังจากทำการวิจัยมาหลายปี นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถหาข้อสันนิษฐานได้ว่า กาฬโรคน่าจะเริ่มระบาดที่ประเทศคีย์กีซสถาน
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of Stirling ประเทศสกอตแลนด์, Max Planck Institutes และ University of Tubingen ประเทศเยอรมนีได้วิเคราะห์ DNA กระดูกฟันโบราณจากสุสาน Kara-Djigach ใกล้ทะเลสาบ Issyk Kul ประเทศคีร์กีซสถาน โดยพวกเขาเลือกพื้นที่บริเวณดังกล่าวในการสำรวจจากการสังเกตเห็นจำนวนการฝังศพที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในปีคริสตศักราช 1338 - 1339
Maria Spyrou ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of Tubingen กล่าวว่า ทีมของตนนั้นได้รวบรวม DNA จากโครงกระดูก 7 ชิ้น และทำการวิเคราะห์จากฟันเนื่องจากฟันมีเส้นเลือดจำนวนมากและทำให้ทีมนักวิจัยมีโอกาสสูงที่จะตรวจพบเชื้อโรคที่ติดต่อทางเลือดซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งพวกเขาก็พบ ร่องรอยของแบคทีเรียเยอร์ซีเนีย เพสติสจริง
Philip Slavin นักประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัย University of Stirling กล่าวถึงการค้นพบนี้ว่า การศึกษาของเราทำให้คำถามที่สำคัญที่สุดและน่าสนใจที่สุดข้อหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุติลง และสามารถระบุได้ว่าการสร้างความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มต้นขึ้นเมื่อไรและที่ไหน
Michael Knapp จากมหาวิทยาลัย University of Otago ประเทศนิวซีแลนด์ ได้กล่าวว่า เป็นการศึกษาที่ทรงคุณค่ามาก แต่ก็ยังได้กล่าวเสริมว่า ข้อมูลจากบุคคล เวลา และภูมิภาคที่มากขึ้นจะช่วยชี้แจงให้ข้อมูลที่กำลังเสนอเหล่านี้กระจ่างมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม