นักวิทย์สร้าง AI ช่วยไขคดี "หรือโลกนี้เป็นเพียงสิ่งสมมติ?"
ครั้งหนึ่ง ภาพยนตร์ The Matrix เคยสร้างปรากฎการณ์โลกเสมือนที่สมจริงเสียจนเกิดทฤษฎีที่ทำให้หลายคนเชื่อว่าแท้จริงแล้วโลกใบนี้ "อาจไม่มีอยู่จริงมาตั้งแต่ต้น"
เมื่อไม่นานมานี้ Hong Qin นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยฟิสิกส์ Princeton Plasma ในสังกัดกระทรวงพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ตอกย้ำทฤษฎีดังกล่าวให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ด้วยการสร้าง AI ที่จะมาไขปริศนาดังกล่าว
สิ่งที่ Hong Qin และทีมวิจัยกำลังพัฒนาคืออัลกอริทึมที่สามารถคาดการณ์การโคจรของระบบสุริยะได้ โดยอาศัยข้อมูลจากการสังเกตการโคจรของกลุ่มดาวเคราะห์ (พุธ ศุกร์ โลก อังคาร พฤหัส) และดาวเคราะห์แคระห์ซีรีส
จากนั้นนำมาใช้งานร่วมกับโปรแกรมแสดงผลเพื่อให้สามารถจำลองการโคจรของดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งกฎการเคลื่อนที่และแรงโน้มถ่วงของนิวตัน
"สิ่งที่เรากำลังทำ คือการแทนที่กระบวนการศึกษาที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น และสามารถคาดเดาได้อย่างแม่นยำยิ่งกว่าโดยไม่ต้องอาศัยทฤษฎีหรือเงื่อนไขแบบดั้งเดิม"
แล้วการพัฒนานี้บอกอะไรกับเรา?
จากบทสัมภาษณ์ Hong Qin อธิบายว่าเขาพัฒนา AI นี้โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Nick Bostrom นักปรัชญาจากมหาวิทยาลัย Oxford ผู้เคยกล่าวไว้ว่า
"จักรวาลคือการจำลองจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงมันจะประกอบไปด้วยเอกภพ ช่วงเวลา และอวกาศ ซึ่งแต่ละชิ้นก็จะเป็นดังพิกเซลในวิดีโอเกมที่เชื่อมต่อกันได้"
ดังนั้น การพัฒนา AI ในครั้งนี้จึงอาจพิสูจน์ให้เราได้รู้ว่าจักรวาลอาจไม่ได้เชื่อมต่อกันอย่างที่เราเคยคาดคิด และในช่องว่างเหล่านั้นอาจมีโลกเสมือนที่เรากำลังอาศัยอยู่อย่างไม่รู้ตัว
อย่างไรก็ตาม โปรเจ็กต์นี้กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาและยังต้องได้รับการพิสูจน์ในเรื่องของทฤษฎีรวมถึงข้อเท็จจริงอีกหลายอย่าง
แต่หากคิดตามว่าในขณะนี้เราอาจกำลังล่องลอยอยู่ในโลกเสมือนที่ทุกอย่าง "ไม่มีจริง" มาตั้งแต่แรก คุณคิดว่าใครกันคือผู้อยู่เบื้องหลังและเฝ้ามองการใช้ชีวิตของมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน?