รูปกะห์บะหินดำ หินดำที่นครเมกกะ |
หินดำ เมืองเมกกะ รูปหินดำ รูปกะห์บะหินดำ หินดำที่นครเมกกะ ความสําคัญของหินดำ ในเมกกะ
*หินดำ - เป็นที่รู้จักกันดี ทั้งมุสลิมและผู้ไม่ใช่มุสลิม...แต่ก็มีอีกหลายคนที่เข้าใจว่า หินดำคือวัตถุบูชาในศาสนาอิสลาม เพียงเพราะเห็นว่า มุสลิมนับล้านคนไปร่วมพิธีฮัจญ์แล้วมีการเวียนรอบวิหารกะบะห์นั้น นั่นคือความเข้าใจที่ผิด...
เราควรมาทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหินดำใหม่ดังนี้หินดำ หรือในภาษาอาหรับ คืออัลฮฺยา อัล อัสวัต นั้นเป็นศิลาที่มีสัณฐาน เป็นรูปครึ่งวงกลม กว้างประมาณ 10 นิ้ว สูง 12 นิ้ว
จากการตรวจสอบโดยนักวิทยาศาสตร์จาก สหรัฐฯ พบว่าหินดำเป็นวัตถุนอกโลก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นก้อนอุกกาบาต ที่มาจากที่อื่น ซึ่งองค์ประกอบและธาตุบางชนิดที่พบ เป็นสิ่งที่ไม่มีในโลก หรือในกาแลคซี่เรานี้
โดยประวัติของหินดำ
จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ และอายุที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์นั้น พบว่ามีอายุยาวนานมาก และสีดำของหินนั้นไม่ใช่สีที่มีมาแต่แรกเริ่ม ซึ่งตรงกับหะดิษที่ว่า
จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ และอายุที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์นั้น พบว่ามีอายุยาวนานมาก และสีดำของหินนั้นไม่ใช่สีที่มีมาแต่แรกเริ่ม ซึ่งตรงกับหะดิษที่ว่า
- จากท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวความว่า "หินดำถูกประทานลงมาจากสวรรค์ ซึ่งความขาว (ของหินดำนั้น), ขาวยิ่งกว่า (ความขาวของ) น้ำนมเสียอีก, (แต่ที่เปลี่ยนเป็นสีดำเนื่องจาก) ความผิดต่างๆ ของลูกหลานอาดัมทำให้หินดำนั้นเป็นสีดำ" บันทึกโดยติรฺมิซีย์
...ซึ่งจากบันทึกประวัติศาสตร์ เข้าใจได้ว่า หินเปลี่ยนเป็นสีดำเพราะ การที่ชาวอาหรับในสมัยก่อนนั้น ชอบนำสัตว์ไปเชือดบูชายัญบนหิน และเอาเลือดสัตว์ชโลมลงบนหิน พอนานเข้าหินจึงมีสีดำ
...ถ้าอ้างอิงหลักฐานจากกุรอาน จะพบว่า หินดำนั้นเป็นเครื่องหมายกำหนดตำแหน่งการสร้างวิหารกะบะห์
(วิหารทรงลูกบาศก์ อยู่ตรงกลางมัสยิดอัล -ฮะรอม) ในสมัยท่านนบีอาดัม...ต่อมาในสมัยนบีอิบรอฮีม (อับราฮัม) หินดำก็มีส่วนในช่วยในการบูรณะวิหารกะบะห์ เนื่องจากมีหลักฐานว่า หินดำลอยจากพื้นได้ และท่านนบีอิบรอฮีมก็ขึ้นไปเหยียบบนหินนั้น เพื่อบูรณะวิหาร
(วิหารทรงลูกบาศก์ อยู่ตรงกลางมัสยิดอัล -ฮะรอม) ในสมัยท่านนบีอาดัม...ต่อมาในสมัยนบีอิบรอฮีม (อับราฮัม) หินดำก็มีส่วนในช่วยในการบูรณะวิหารกะบะห์ เนื่องจากมีหลักฐานว่า หินดำลอยจากพื้นได้ และท่านนบีอิบรอฮีมก็ขึ้นไปเหยียบบนหินนั้น เพื่อบูรณะวิหาร
...ในช่วงเวลาต่อมาแห่งการตั้งถิ่นฐานของชาวอาหรับ หินดำถูกถือเสมือนว่าเป็น สมบัติของแผ่นดิน (คล้ายตราประทับแผ่นดิน) คืออาหรับเผ่าไหนได้ครอบครอง ก็ถือว่าเผ่านั้นมีอำนาจในการปกครอง และเป็นเผ่าที่มีเกียรติ หินดำจึงกลายเป็นศักดิ์ศรี และเป็นสัญลักษณ์แสดงอำนาจแห่งการปกครองคาบสมุทรอารเบีย
ในต้นศตวรรษที่ 7 เกิดไฟไหม้วิหารกะบะห์ทำความเสียหายให้ตัววิหารเป็นอันมาก อาหรับแต่ละเผ่าจึงพร้อมใจกันบูรณะวิหารใหม่จนเสร็จเรียบร้อย แต่ปัญหาคือ ใครจะเป็นผู้ได้รับเกียรติให้ยกหินดำกลับไปไว้ที่เดิม
...จากความขัดแย้งนี้ ได้ส่งผลให้เกิดข้อสรุปที่ทุกฝ่ายเห็นชอบคือ ให้ท่านนบีมูฮัมมัด(ศ.ล.)
เป็นผู้ยกกลับไปไว้ที่เดิม เนื่องจากในตอนนั้นท่านยังไม่ได้เผยแพร่ศาสนาอิสลาม ประกอบกับเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากทุกฝ่ายว่าเป็นคนมีคุณธรรมและเป็นกลางที่สุด
เป็นผู้ยกกลับไปไว้ที่เดิม เนื่องจากในตอนนั้นท่านยังไม่ได้เผยแพร่ศาสนาอิสลาม ประกอบกับเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากทุกฝ่ายว่าเป็นคนมีคุณธรรมและเป็นกลางที่สุด
...ต่อมาเมื่อท่านนบี ประกาศศาสนาแล้ว จนกระทั่งพิชิตเมกกะฮ์ได้ ท่านก็ได้ทำความสะอาดและปรับปรุงวิหารให้กลับมาอยู่ในสภาพเรียบร้อยอีกครั้ง หินดำก็ยังคงตั้งอยู่ที่เดิม
...ในปี ค.ศ.682 เกิดความขัดแย้งในคาบสมุทรอาหรับ มีการกรีฑาทัพเข้าตีนครเมกกะฮ์จนวิหารได้รับความเสียหายอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้มีผลทำให้หินดำแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ ประชาชนได้ทำการซ่อมแซมหินดำหลังจากสงครามจบลง โดยนำลวดเงินมารัดไว้
...หินดำในปัจจุบันจึงมีสภาพที่เหมือนนำเศษหินมาประติดประต่อกัน และรัดไว้ด้วยวงแวนเงิน ถูกวางไว้มุมผนัง อยู่เหนือพื้นดินประมาณ 3 ฟุต
หิินดำกาบะห์ |
ดังนั้นหากเราพิจารณาด้วยใจเป็นกลาง อาจตั้งข้อสังเกตว่า หากหินดำเป็นสิ่งน่าเคารพ สักการะ หรือเป็นสิ่งบูชาจริง
1.เหตุใด มุสลิมจึงไม่ปกป้องหินดำให้รอดพ้นจากการทำลาย ทั้ง ๆ ที่เขาสามารถปกป้องอาคารหรือมัสยิดที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ กับแค่หินก้อนเดียว ทำไมเขาไม่ปกป้อง
2.หากหินดำเป็นสิ่งเคารพ สักการะ เหตุใด ในสมัยที่ท่านศาสดาอพยพไปมาดีนะห์ ท่านจึงสั่งให้ผู้คนหันทิศกิบลัต (ทิศทางที่หันเวลาละหมาด) ไปทางบัยตุลมักดิส ที่เยรูซาเล็ม แทนที่จะเป็น ที่มัสยิด อัลฮะรอม ซึ่งเป็นที่ตั้งของกะบะห์และหินดำ
3.หากวิหารกะบะห์ หรือหินดำคือสิ่งสักการะบูชาจริง เหตุใด อิสลามจึงอนุญาตให้มุอัซซิน
(ผู้ป่าวประกาศ เวลาละหมาด) ปีนขึ้นไปตะโกน ป่าวประกาศบนหลังคากะบะห์ได้ เพราะนั่นคือการขึ้นไปเหยียบอยู่เหนือหินดำชัด ๆ
(ผู้ป่าวประกาศ เวลาละหมาด) ปีนขึ้นไปตะโกน ป่าวประกาศบนหลังคากะบะห์ได้ เพราะนั่นคือการขึ้นไปเหยียบอยู่เหนือหินดำชัด ๆ
4.หากหินดำคือสิ่งสักการะบูชาจริง เหตุใดท่านอุมัรฺ (ผู้เป็นตัวแทนท่านศาสดาคนที่ 2 ) จึงกล่าวความว่า “แท้จริงฉันรู้ว่าเจ้า (หมายถึงหินดำ) คือหินธรรมดาก้อนหนึ่งเท่านั้น เจ้าไม่ให้โทษและไม่ให้คุณ, หากว่าฉันไม่เห็นท่านรสูลุลลอฮฺจูบเจ้าแล้วละก้อ ฉันก็จะไม่จูบเจ้า
ความมหัศจรรย์ของกะบะฮ์