Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564

นักวิทย์ฯ เผย สาเหตุแท้จริงที่ทำให้เป็นโรค Trypophobia หรือ โรคกลัวรู

นักวิทย์ฯ เผย สาเหตุแท้จริงที่ทำให้เป็นโรค Trypophobia หรือโรคกลัวรู
โรคกลัวรู หรือ Trypophobia เป็นอีกหนึ่งโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการดังกล่าว แต่ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์เริ่มค้นพบทฤษฎีที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคที่ว่านี้แล้ว โดยการศึกษาของ Geoff Cole และ Arnold Wilkins ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Psychological Science บอกว่า ‘ผู้ที่มีอาการกลัวรูนั้นอาจไม่ได้รู้สึกกลัวรู แต่มีสาเหตุมาจากการกลัวสิ่งแปลกปลอมที่อาศัยอยู่
ในรูเหล่านั้น ทำให้ผู้ป่วยอาจเกิดอาการสั่นและรู้สึกกลัวเมื่อเห็นภาพของรังผึ้ง ฟองน้ำ ปะการัง หรืออะไรก็ตามที่มีรูพรุน’
ทั้งคู่ยังได้วิเคราะห์ภาพถ่ายของรูปหลุมต่างๆ และเขียนอธิบายไว้ในเว็บไซต์ Trypophobia.com โดยการศึกษาดังกล่าวพูดถึงความแตกต่างของรูต่างๆ 
ในภาพถ่ายที่มีผลต่อความกลัวของผู้ป่วย โดย Geoff Cole ได้ทดลองให้ผู้ป่วยดูภาพของหมึกสายวงน้ำเงินที่มีจุดวงกลมต่างๆ ชัดเจน แต่เขากลับพบว่าผู้ป่วยก็กลัวภาพถ่ายรูปรูภาพอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

ทั้งสองคนจึงสรุปผลการศึกษาว่าอาการ Trypophobia นั้นเกิดจากการเห็นภาพของหลุมหรือรูต่างๆ เป็นตัวกระตุ้น ‘ประสบการณ์ที่ฝังอยู่ในสมองของพวกเขาจะเชื่อมโยงกับภาพที่เห็น และทำให้รู้สึกว่ากำลังจะได้รับอันตรายเมื่อมองไปที่ภาพที่เป็นตัวกระตุ้น’ Geoff Cole กล่าวกับทาง NPR’s Shots blog

จะว่าไปแล้วมันก็คงจริงอย่างที่ทั้งสองคนนี้ได้ทำการศึกษาเหมือนกันนะ เพราะบางครั้งเราอาจไม่ได้กลัวรูหรือหลุมจำนวนมากที่เราเห็นอยู่ตรงหน้าหรอก แต่ว่ากลัวสิ่งที่อยู่ข้างในซึ่งเราไม่ทราบหรอกว่าในนั้นมันจะมีอะไรอยู่มากกว่า หรือไม่ก็เราอาจจินตนาการไปต่างๆ นานาเองได้ว่าในรูหรือหลุมนั้นมีอะไรอยู่ ว่าแต่เพื่อนๆ คนไหนรู้สึกกลัวรูหรือมีคนใกล้ตัวเป็นอาการนี้ 
แล้วมีวิธีรักษาอย่างไร ยังไงก็มาแชร์ให้ทราบได้นะจ๊ะ ส่วนเพื่อนๆ ที่อยากติดตามอ่านเรื่องราวโลกแปลกๆ ก็เข้าไปที่ ผู้เชี่ยวชาญเผย ‘โรคดูดนิ้ว’ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ 1 ใน 10 คน และ Foreign Accent Syndrome โรคที่ทำให้ภาษาพูดผิดเพี้ยนไปจากเดิม กันเลยจ้า

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564

Giant Virusไวรัสตัวเบิ้มกับยีนปริศนาคล้ายสิ่งมีชีวิต

รู้จักกับ “Giant Virus” ไวรัสตัวเบิ้มกับยีนปริศนาคล้ายสิ่งมีชีวิต

Giant Virus คือไวรัสขนาดใหญ่ที่สุดที่มนุษย์เคยค้นพบ ด้วยขนาดอนุภาคที่ใหญ่กว่าไวรัสทั่วไปยังคงเป็นปริศนาที่หาคำตอบไม่ได้ แต่สิ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์มึนตึ้บยิ่งกว่า คือยีนในตัวพวกมันมีความคล้ายคลึงกับยีนของสิ่งมีชีวิต !!

Giant Virus จากข้อมูลของเว็บไซต์ Science Alert ประจำวันที่ 9 เมษายน 2020 เผยความลับเกี่ยวกับไวรัสขนาดใหญ่ มันถูกเรียกว่า Giant Virus ให้สมกับขนาดของมันที่อาจทำให้คุณสับสนกับแบคทีเรียได้ แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาลึกลงไปมากเท่าไร พวกเขายิ่งพบกับปริศนามากมายนอกเหนือจากขนาดที่ใหญ่กว่าไวรัสทั่วไป

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบคือ Giant Virus บางกลุ่มสามารถสร้างยีนใหม่ขึ้นมาได้เอง หรือบางกลุ่มตรวจพบรหัสพันธุกรรมพันธุกรรมที่ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน ที่น่าสนใจคือนอกจากยีนที่ใช้สร้างไวรัสตัวใหม่แล้ว (เช่น ยีนสำหรับสร้างส่วนห่อหุ้ม) นักวิทยาศาสตร์ยังพบยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับสารอาหาร, การดูดกลืนแสง และการนำไนโตรเจนไปใช้ประโยชน์

Giant Virus (Mimivirus) เทียบกับไวรัสชนิดอื่น ๆ อันที่จริงเราอาจพบเห็นยีนที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีพของเซลล์สิ่งมีชีวิตในไวรัสได้ สมมุติว่าไวรัสตัวหนึ่งติดเชื้อเข้าไปในเซลล์ของแบคทีเรียและดำเนินการเพื่อเพิ่มจำนวนตัวมันเองเป็นที่เรียบร้อย ไวรัสรุ่นลูกอาจมียีนบางส่วนของแบคทีเรียติดไปด้วย ดังนั้น เราจึงมีโอกาสพบเห็นยีนของแบคทีเรียตัวนั้นในไวรัสรุ่นลูกได้เช่นกัน

แต่สำหรับยีนเพื่อการดำรงชีพของ Giant Virus มีความต่างออกไปจากรูปแบบดังกล่าว จากการศึกษาลงลึกเข้าไปในรหัสพันธุกรรม ปรากฏว่ายีนเหล่านี้น่าจะอยู่กับไวรัสมานานหลายล้านปีแล้ว โดยยีนดังกล่าวส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับยีนที่พบในเซลล์ของสาหร่าย ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ Giant Virus จะเข้าไปอาศัยอยู่นั่นเอง ราวกับว่าในอดีตกาลหลังจากที่ไวรัสรับยีนอันเป็นประโยชน์มาจากสาหร่ายแล้ว พวกมันเลือกที่จะไม่ทิ้งยีนดังกล่าวและเก็บไว้เพื่อการดำรงชีพ

Pithovirus เป็น Giant virus สายพันธุ์หนึ่ง เทียบกับขนาดของแบคทีเรีย E.coli สรุป – ถึงกระนั้น แนวคิดที่ว่าไวรัสใช้ยีนเหล่านี้เพื่อสร้างสารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพด้วยตัวเองอาจเกินจริงไปหน่อย นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าไวรัสจะใช้ยีนเหล่านี้เพื่อควบคุมเซลล์สิ่งมีชีวิตที่พวกมันอาศัยอยู่ ให้สร้างสารต่าง ๆ ตามยีนของพวกมัน จนเกิดเป็นสิ่งแวดล้อมแบบใหม่ที่อาจเอื้อต่อการดำรงชีพขณะอยู่ในเซลล์ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดจึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปครับ

Giant Virus มีขนาดราว ๆ 400 นาโนเมตร ในขณะที่แบคทีเรียขนาดเล็กที่สุดอย่าง Mycoplasma มีขนาดเฉลี่ยเพียง 300 นาโนเมตร สำหรับสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดของ Giant Virus คือ Pithovirus รูปร่างคล้ายแบคทีเรียชนิดแท่ง (กลุ่มบาซิลลัส – Bacillus) มีขนาดประมาณ 1500 นาโนเมตร ถูกค้นพบในชั้นน้ำแข็งอายุราว 30,000 ปีก่อนในแถบไซบีเรีย

นักโบราณคดีพบ ไข่มุกเก่าแก่ที่สุดในโลก อายุ 8,000 ปี ที่อาบูดาบี

วันที่ 20 ต.ค. 2021
สำนักข่าว The Guardian รายงานว่า  นักโบราณคดีได้ค้นพบไข่มุกธรรมชาติ 1 เม็ด ซึ่งพวกเขาเชื่อว่ามันคือไข่มุกที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุราว 8,000 ปี 

โดยไข่มุกเม็ดนี้ถูกตั้งชื่อว่า 
“ไข่มุกอาบูดาบี” ตามชื่อเมืองหลวงของประเทศ ที่ค้นพบนั่นเอง
ตามรายงานระบุว่า หลังจากที่นักโบราณคดีได้สำรวจพื้นที่บนเกาะมาราวาห์ (Marawah Island)
นอกชายฝั่งกรุงอาบูดาบี
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็ได้พบกับไข่มุกเม็ดนี้ ที่มีขนาดเล็กเพียง 4 มิลลิเมตรและแม้ว่ามันจะดูเหมือนมีค่าน้อยนิด แต่นักสำรวจก็ได้ส่งมันไปตรวจสอบ ซึ่งผลจากการตรวจคาร์บอนในชั้นไข่มุกพบว่า มีอายุอยู่ในช่วง 5800-5600 ก่อนคริสตกาล
ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ช่วยยืนยันว่า มนุษย์รู้จักการซื้อขายอัญมณีตั้งแต่ยุคหินใหม่ หรือพวกเขาอาจไม่ได้กำหนดมูลค่าของมันแต่ใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนกับพ่อค้าเท่านั้น(นี่เป็นเพียงการคาดเดานะครับ) 

ซึ่งคิดตามบันทึกประวัติศาสตร์ที่ว่ามนุษย์เริ่มเห็นคุณค่าของสิ่งสวยงามอย่างอัญมณีมานานร่วมหมื่นปีแล้ว
ทั้งนี้ ไข่มุกอาบูดาบี 
(Abu Dhabi Pearl) จะถูกแสดงโชว์ครั้งแรกในงาน 10,000 Years of Luxury ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะและอารยธรรมลูฟร์ (Louvre Abu Dhabi) วันที่ 30 ต.ค. 2021 ที่จะถึงนี้ครับ
เมื่อปี 2006 ชาวประมงผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ได้ค้นพบ “ไข่มุกขนาดใหญ่ที่สุดในโลก” หนักถึง 34 กิโลกรัม มูลค่า 2,900 ล้านบาท ที่เกาะปาลาวัน ประเทศฟิลิปปินส์

รายการบล็อกของฉัน