Giant Virus (Mimivirus) เทียบกับไวรัสชนิดอื่น ๆ
อันที่จริงเราอาจพบเห็นยีนที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีพของเซลล์สิ่งมีชีวิตในไวรัสได้ สมมุติว่าไวรัสตัวหนึ่งติดเชื้อเข้าไปในเซลล์ของแบคทีเรียและดำเนินการเพื่อเพิ่มจำนวนตัวมันเองเป็นที่เรียบร้อย ไวรัสรุ่นลูกอาจมียีนบางส่วนของแบคทีเรียติดไปด้วย ดังนั้น เราจึงมีโอกาสพบเห็นยีนของแบคทีเรียตัวนั้นในไวรัสรุ่นลูกได้เช่นกัน
แต่สำหรับยีนเพื่อการดำรงชีพของ Giant Virus มีความต่างออกไปจากรูปแบบดังกล่าว จากการศึกษาลงลึกเข้าไปในรหัสพันธุกรรม ปรากฏว่ายีนเหล่านี้น่าจะอยู่กับไวรัสมานานหลายล้านปีแล้ว โดยยีนดังกล่าวส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับยีนที่พบในเซลล์ของสาหร่าย ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ Giant Virus จะเข้าไปอาศัยอยู่นั่นเอง ราวกับว่าในอดีตกาลหลังจากที่ไวรัสรับยีนอันเป็นประโยชน์มาจากสาหร่ายแล้ว พวกมันเลือกที่จะไม่ทิ้งยีนดังกล่าวและเก็บไว้เพื่อการดำรงชีพ
Pithovirus เป็น Giant virus สายพันธุ์หนึ่ง เทียบกับขนาดของแบคทีเรีย E.coli
สรุป – ถึงกระนั้น แนวคิดที่ว่าไวรัสใช้ยีนเหล่านี้เพื่อสร้างสารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพด้วยตัวเองอาจเกินจริงไปหน่อย นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าไวรัสจะใช้ยีนเหล่านี้เพื่อควบคุมเซลล์สิ่งมีชีวิตที่พวกมันอาศัยอยู่ ให้สร้างสารต่าง ๆ ตามยีนของพวกมัน จนเกิดเป็นสิ่งแวดล้อมแบบใหม่ที่อาจเอื้อต่อการดำรงชีพขณะอยู่ในเซลล์ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดจึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปครับ
Giant Virus มีขนาดราว ๆ 400 นาโนเมตร ในขณะที่แบคทีเรียขนาดเล็กที่สุดอย่าง Mycoplasma มีขนาดเฉลี่ยเพียง 300 นาโนเมตร สำหรับสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดของ Giant Virus คือ Pithovirus รูปร่างคล้ายแบคทีเรียชนิดแท่ง (กลุ่มบาซิลลัส – Bacillus) มีขนาดประมาณ 1500 นาโนเมตร ถูกค้นพบในชั้นน้ำแข็งอายุราว 30,000 ปีก่อนในแถบไซบีเรีย