Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ปริศนาการระเบิดที่ไซบีเรีย รุนแรงกว่าฮิโรชิม่าถึง 10 เท่า


🗻"ปริศนาการระเบิดที่ไซบีเรีย รุนแรงกว่าฮิโรชิม่าถึง 10 เท่า"
หายนะของโลกในยุด 2012 จะเป็นจริงหรือไม่ก็ไม่สำคัญสำหรับตอนนี้ เอาเป็นว่าเราจะมาดูอดีตที่เคยเกิดขึ้นกันดีกว่า

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเคยถูกดาวหางพุ่งชน ล่าสุดก็คือ การเกิดระเบิดครั้งใหญ่ที่แถบบริเวณแม่น้ำทังกัสกาในไซบีเรีย สหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ที่เรียกกันว่า การระเบิดไซบีเรียหรือการระเบิดทังกัสกา นั่นแหละ

การระเบิดทังกัสกาเป็นการระเบิดที่ยิ่งใหญ่และน่ากลัวอย่างยิ่ง เกิดขึ้นตอนเช้าของวันนั้น เป็นลูกไฟสว่างจ้าระเบิดขึ้น เหนือพื้นดิน เห็นได้ไกลถึง 800 กิโลเมตร เสียงระเบิดได้ยินไปไกลถึง 800 กิโลเมตร แรงระเบิดรู้สึกไปได้ไกล 80 กิโลเมตร ทำให้เกิดคลื่นแผ่นดินไหว วัดได้ทั่วโลก 

หมู่บ้านสองหมู่บ้านถูกพังราบ ป่าไม้ทั้งป่าถูกพังราบเป็นหน้ากลองกินอาณาบริเวณกว้างถึง 2,000 ตารางกิโลเมตร ต้นไม้ถูกแรงระเบิดพังราบเป็นแถบ ๆ เกิดไฟไหม้ป่าอย่างรุนแรง ท้องฟ้าแถบกลางคืนทั่วโลกสว่างอยู่หลายคืน

แต่ท้องฟ้าเหนือกรุงลอนดอนก็สว่างขื้นมาดังกลางวัน จนกระทั่งคนในลอนดอนสามารถอ่านหนังสือพิมพ์กลางถนนได้ 

แต่เดิมมา ก็มีหลายทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์เสนอกันขึ้นมาเพื่ออธิบายสาเหตุการระเบิดที่ทังกัสกา ทว่าหลักฐานข้อมูลล่าสุดทำให้นักวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมาก

เชื่อกันว่า สาเหตุของการระเบิด
ที่ทังกัสกา มีเค้าว่าจะเป็นดาวหางมากที่สุด และก้าวไปไกลถึงขั้นระบุว่าดาวหางต้นเหตุของการระเบิดที่ทังกัสกา คือ ดาวหางชื่อ เองเก (Encke) มีวงโคจรระเบิดรอบดวงอาทิตย์ทุก ๆ 3.3 ปี การระเบิดนั้น 
ก็เป็นการระเบิดของชิ้นส่วนดาวหางเองเกที่ระเบิดเหนือทังกัสกานั่นเอง

โชคดีที่การระเบิดทังกัสกาเกิดขึ้นในแถบที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น จึงไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายถึงชีวิต

ปี ค.ศ. 1490 นักวิทยาศาสตร์รัสเซียผู้หนึ่ง นาม E.L. Krinov 
ได้ตามรอยนักวิทยาศาสตร์รุ่นพี่อย่างคูลิค เข้าไปสำรวจบริเวณทุ่งทังกัสก้า เขาได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ที่ไม่มีหลุมขนาดใหญ่บนพื้นดินอย่างที่คาดกันไว้ น่าจะเป็นเพราะว่า วัตถุดังกล่าว เกิดการระเบิดขึ้นกลางอากาศ ก่อนที่มันจะตกลงถึงพื้นดิน โชคร้ายที่สงครามโลกครั้งที่สองมาขัดขวางการวิจัยของครินอฟเสียก่อน บรรดานักวิทยาศาสตร์ถูกดึงตัวไปช่วยงานด้านอื่นหมด ทุ่งทังกัสก้าก็เลยถูกทิ้งไปไม่มีใครแยแสอีกหลายปี .

😀ทุกครั้งที่เอ่ยถึงสงครามโลก
ครั้งที่สอง ใครๆต่างก็หวนนึกไปถึงเจ้าอาวุธมหาประลัย ที่มนุษยชาติคิดค้นขึ้นมาทำลายล้างกัน มันก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมและความสยองขวัญจนยากจะลืมมาถึงทุกวันนี้ เจ้าระเบิดมหากาฬที่คร่าชีวิตผู้คนเรือนแสนที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิ "อะตอมมิค บอมบ์" หรือระเบิดปรมาณูนั่นเอง

Aleksander Kazansev
เป็นนักวิทยาศาสตร์รัสเซียคนแรก ที่ทำให้วงการวิทยาศาสตร์มองเห็นความเกี่ยวพัน ระหว่างระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่า และภัยพิบัติปริศนาที่ทังกัสก้า 

โดยเฉพาะสภาพของต้นไม้ในบริเวณทั้งสอง สภาพที่ต้นไม้โดนความร้อนจนไหม้เกรียม แต่ยังยืนต้นอยู่ได้ในบริเวณศูนย์กลางการระเบิด ในขณะรอบบริเวณออกไป ทุกสิ่งทุกอย่างเอนระเนระนาดเพราะแรงระเบิด คลื่นความร้อน และพิษสงของกัมมัตภาพรังสี เพลิงและควันรูปดอกเห็ดที่เกิดจากการระเบิด ฝนสีดำที่ตกลงมาหลังการระเบิด สิ่งที่เกิดขึ้นในฮิโรชิม่าเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนกับที่ทังกัสก้า 

👉Kazantsev ระบุว่า 
ระเบิดที่เกิดขึ้นที่ทังกัสก้า เป็นระเบิดปรมาณูอย่างไม่ต้องสงสัย และก็เป็นไปได้ที่ว่า ระเบิดปรมาณูที่เกิดนั้น อาจมาจากเตาปฏิกรณ์ปรมาณูของยานอวกาศจากนอกโลกสักลำหนึ่ง เพราะช่วงที่เกิดการระเบิดนั้น มัน ก่อนหน้าที่ชาติใดๆจะคิดค้นระเบิดปรมาณูได้นับเป็นสิบๆปี แถมแรงระเบิดนั้นนับว่ามากกว่าที่ฮิโรชิมานับร้อยนับพันเท่าเลยทีเดียว

ปริศนาม้วนทองแดงแห่งเดดซี


ปริศนาม้วนทองแดงแห่งเดดซี
เรื่องราวต่าง ๆ บนโลกหลายเรื่องถูกย่อและย่อยลงอย่างเป็นระเบียบในพื้นที่เหล่านี้ รอเวลาให้เรามารับรู้ อยู่ที่นักเดินทางจะสนใจหรือไม่
ทุกครั้งก่อนเที่ยวพิพิธภัณฑ์ไม่ว่าจะนอกหรือในประเทศ สิ่งหนึ่งที่ควรจะเตรียมตัวคือ ทำการบ้านว่าที่นั่นมีอะไรดี สิ่งล้ำค่าประเภทห้ามพลาดเด็ดขาด

ไม่นานมานี้มีโอกาสแวะกรุงอัมมาน พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจอร์แดน (The Jordan Museum) คือเป้าหมายอันดับต้น ๆ ในการเยี่ยมชมเมืองหลวงสมบัติล้ำค่าได้แก่บันทึกเก่าแก่อันหนึ่งของโลก คือม้วนทองแดงแห่งเดดซี (Dead Sea Scrolls) 

ซึ่งเพิ่งย้ายมาจัดแสดงที่นี่ตั้งแต่ ค.ศ. ๒๐๑๓หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องราวอันโด่งดังของม้วนหนังสือนี้

ย้อนกลับไปช่วง ค.ศ. ๑๙๔๗-๑๙๕๖ ในเมืองกุมราน (Qumran) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลสาบเดดซี (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิสราเอล) เป็นพื้นที่ต่ำ อยู่ต่ำกว่าระดับทะเลปานกลาง ๔๐๐ เมตร 
มีการค้นพบหนังสือม้วนในถ้ำ 
๑๑ แห่ง มีเอกสาร ๘๐๐ รายการ ส่วนใหญ่เป็นคัมภีร์เกี่ยวกับศาสนายิวที่ไม่เคยพบมาก่อน คาดว่าเขียนขึ้นราว ๑๕๐ ปีก่อนคริสตกาลถึง ค.ศ. ๗๐ โดยพวกเอสซีน (Essene) บรรพบุรุษของชาวอิสราเอล ร่วมสมัยกับพระเยซู

การค้นพบนั้นเป็นเหตุบังเอิญ กล่าวคือ ใน ค.ศ. ๑๙๔๗ มุฮัมมัด อาดิบ (Mohammed Adib) เด็กเลี้ยงแกะชาวเบดูอินชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทราย พยายามเดินตามหาแกะที่พลัดหลงในเทือกเขากลางทะเลทราย กระทั่งพบถ้ำแห่งหนึ่งที่คิดว่าแกะอยู่ข้างใน เขาขว้างก้อนหินเพื่อเป็นการเบิกทาง ปรากฏว่าได้ยินเสียงไหแตก 

จึงคิดว่าเจอขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ตามถ้ำบนภูเขา วันรุ่งขึ้นตามเพื่อนมาสำรวจ พวกเขาพบไหดินเผาแปดใบ พอเปิดไหดู ไม่ใช่เพชรพลอยหรือกรุสมบัติ มีเพียงผ้าลินินพันม้วนหนังสัตว์เก่า ๆ เจ็ดม้วน จึงขนกลับมาขายราคาถูก ๆ ให้พ่อค้าของเก่าในตลาดเมืองเบทลิเฮม

พ่อค้าขายของเก่าคลี่ออกดูเห็นอักษรจารึกบนหนังสัตว์ความยาว ๘ เมตร ด้วยความสงสัยจึงเดินทางไปกรุงเยรูซาเลมซึ่งอยู่ไม่ไกล ให้นักบวชผู้เชี่ยวชาญภาษาโบราณ นาม อัททานาซีอุส ซามูเอล (Athanasius Yeshue Samuel) วิเคราะห์ และพบว่าเป็นฮีบรูโบราณ ภาษาเก่าแก่ของชาวยิว
ซามูเอลทราบดีว่า สิ่งที่เห็นต่อหน้าไม่ธรรมดาเลย 

จึงเดินทางไปเมืองกุมราน และค้นพบม้วนหนังสือในถ้ำต่าง ๆ อีกสี่ม้วน เมื่อส่งไปวัดอายุที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ พบว่าหนังสัตว์มีอายุเก่าแก่ระหว่าง ๑,๘๐๐-๒,๐๐๐ ปี

ม้วนหนังสือแห่งเดดซีจึงเป็นข่าวใหญ่โต ด้วยเป็นการค้นพบจารึกตัวเขียนหนังสือที่ยิ่งใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในประวัติศาสตร์ และม้วนหนังสือนี้เป็นจารึกตัวเขียนพระคัมภีร์เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา

หลังจากนั้นบรรดานักโบราณคดี นักวิทยาศาสตร์ ต่างระดมคนไปขุดหาตามถ้ำต่าง ๆ จนพบม้วนหนังสัตว์ถึง ๘๐๐ ม้วนจากถ้ำ ๑๑ แห่ง มีทั้งหนังสัตว์และกระดาษปาปิรุส ส่วนใหญ่เป็นบันทึกเนื้อหาเกี่ยวกับพระคัมภีร์ นอกนั้นเป็นเรื่องกฎหมาย ประเพณี ตำราสงคราม พิธีกรรม บทสวดต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดเขียนโดยหมึกที่มีคาร์บอนเป็นส่วนผสมหลัก

นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ม้วนหนังสือเหล่านี้อาจถูกนำมาจากห้องสมุดของชาวยิวในกรุงเยรูซาเลมหลังจากกองทัพโรมันยึดครองอาณาจักรยิวอย่างเบ็ดเสร็จช่วง ค.ศ. ๖๐ บรรดานักบวชจึงแอบเอาม้วนหนังสือแห่งเดดซีไปซ่อนไว้ตามถ้ำในเทือกเขาแห่งกุมราน

แต่ในบรรดาม้วนหนังสือทั้งหมดนั้น ที่ฮือฮาที่สุดคือม้วนหนังสือที่ไม่ได้ทำจากหนังสัตว์ ในถ้ำหมายเลข ๓ แต่ทำด้วยแผ่นทองแดง และไม่ได้ค้นพบโดยเด็กเลี้ยงแกะ แต่นักโบราณคดีเป็นผู้ค้นพบภายหลัง

ผู้เขียนเดินเข้าห้องพิเศษห้องหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ ภายในห้องเปิดไฟสลัวเพื่อรักษาของล้ำค่าที่จัดแสดง เบื้องหน้าคือแผ่นโลหะทองแดงที่มีตัวอักษรฮีบรูโบราณรอยสลักตัวอักษรบนแผ่นโลหะอายุร่วม ๒,๐๐๐ ปี ได้เผยนัยสำคัญแก่ชนรุ่นหลัง

เล่ากันว่า ตอนที่มีการค้นพบ ม้วนทองแดงอยู่ในสภาพสนิมเกาะเต็ม นักโบราณคดีจึงตัดสินใจผ่าม้วนนั้นออก ได้แผ่นทองแดง ๒๓ แผ่น ภายในมีจารึกตัวอักษรฮีบรูโบราณที่ใช้ค้อนตอกเป็นตัวหนังสือ มีอายุประมาณ ค.ศ. ๗๐

นักนิรุกติศาสตร์ใช้เวลานานกว่าจะอ่านเนื้อหาที่ไม่ใช่เรื่องราวเกี่ยวกับพระคัมภีร์ได้ แต่ต้องตกตะลึงเมื่อพบว่ามันคือลายแทงขุมทรัพย์มหาสมบัติอันล้ำค่าที่ถูกเก็บซ่อนไว้ให้พ้นเงื้อมมือศัตรู
เนื้อหาบันทึกถึงสถานที่ซ่อนสมบัติ ทองคำ เงิน เครื่องหอม ที่กระจัดกระจายอยู่ในดินแดนอิสราเอลและปาเลสไตน์ ซึ่งถูกลักลอบนำออกจากมหาวิหารเยรูซาเลมมาซ่อนไว้เพื่อความปลอดภัย

ในอดีตกาลวิหารหรือโบสถ์ชาวยิวคือสถานที่เก็บสมบัติล้ำค่า ไม่น่าแปลกใจเมื่อกองทัพโรมันยึดเมืองได้แล้ว โบสถ์วิหารจึงถูกทำลายอย่างราบคาบเพื่อขุดหาทรัพย์สมบัติ

จารึกบนแผ่นทองแดงยังเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้ อาทิ ประโยคที่ว่า“หุบเขาแห่งอาคอร์ เข้าไปทางทิศตะวันออก จะพบหีบเงิน”
“ในหลุมเกลือทางทิศใต้มีก้อนเงิน
“ถ้ำของคนทำความสะอาด เก็บทองคำไว้ ๔๕ แท่ง”
“หลุมที่สามเก็บทองคำไว้ ๘๐๐ แท่ง เงิน ๒๐๐ แท่ง”
“หลุมศพอับโซโลมทางฝั่งตะวันตก ขุดลึกลงไปจะมีเหรียญเงิน ๘๐ เหรียญ
“บริเวณปากน้ำพุ ขุดลงไปจะพบทองคำ ๒ ทาเลนต์”
“บริเวณหุบเขาอาเชอร์มีกองเงินมหาศาล น้ำหนักมากถึง ๑๗ ทาเลนต์”

บันทึกเหล่านี้บรรยายถึงที่ซ่อนทองคำและเงินกระจายไปตามสถานที่ต่าง ๆ ถึง ๖๔ แห่ง และนับรวมน้ำหนักทองคำและเงินได้ประมาณ ๔,๖๓๐ ทาเลนต์ (talent คือหน่วยวัดน้ำหนักเงินและทองสมัยโบราณ เทียบเท่าน้ำหนัก ๑๒๐,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๒๐ ตัน คิดเป็นมูลค่าในปัจจุบันนับแสนล้านบาท)

ปัจจุบันยังไม่มีการขุดพบสมบัติล้ำค่าตามลายแทง นักโบราณคดีบางคนเชื่อว่าอาจมีบันทึกที่เฉลยปริศนาหรือให้รายละเอียดที่ซ่อนมหาสมบัติ แต่ยังค้นไม่พบ บางคนสันนิษฐานว่าทหารโรมันน่าจะขุดเอาทองคำไปตั้งแต่สมัยนั้น โดยจับนักบวชชาวยิวมาสอบสวนและทรมานจนยอมสารภาพตำแหน่งที่ซ่อน และลายแทงเหล่านี้น่าจะมีมากกว่าหนึ่งชุด

บางตำนานก็เชื่อว่า อัศวินเทมพลาร์ 
(กองทัพอัศวินชาวคริสต์ ลักษณะพิเศษคือเสื้อคลุมไร้แขนสีขาวที่มีกางเขนสีแดงบนเสื้อ เป็นหนึ่งในหน่วยรบฝีมือดีที่สุดในสงครามครูเสด) ค้นพบทองคำจำนวนมากและนำกลับไปยุโรประหว่างเดินทางมาทำสงครามครูเสดกับพวกมุสลิม

อย่างไรก็ตามเนื้อหาตัวอักษรของม้วนหนังสือแห่งเดดซี ทั้งที่เป็นหนังสัตว์ กระดาษปาปิรุส หรือแผ่นทองแดง ต่างทยอยเปิดเผยข้อมูลออกมา แต่ไม่หมด ล่าสุด ค.ศ. ๑๙๙๑ เป็นเวลา ๔๐ กว่าปีนับจากการค้นพบหนังสือม้วนแรก “Biblical Archaeology Society” ได้ตีพิมพ์ม้วนหนังสือก่อนเงียบหายไป

ม้วนหนังสือแห่งเดดซีส่วนใหญ่อยู่ในการครอบครองของอิสราเอล แต่ดูเหมือนคนภายนอกจะค่อนข้างกังขาว่า ทางการอิสราเอลไม่ค่อยเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความลับภายในม้วนหนังสืออันเป็นความลับของศาสนายิวโดยตรง

ล่าสุด Israel Antiquities Authority ผู้ดูแลจารึกชุดนี้เปิดเผยว่ากำลังร่วมมือกับกูเกิลถ่ายภาพม้วนหนังสือทั้งหมดด้วยความละเอียดสูง และจะนำเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต โดยเชื่อว่าจะทำให้มีผู้รอบรู้จำนวนมากมาช่วยกันวิเคราะห์และร่นระยะเวลาการไขปริศนาบนแผ่นหนังและกระดาษปาปิรุสอายุร่วม ๒,๐๐๐ ปี และอาจเป็นหลักฐานสำคัญในการยืนยันการมีชีวิตอยู่จริงของพระเยซู
ส่วนการตามล่ามหาสมบัติจากลายแทงม้วนทองแดงนั้น สักวันหนึ่งขุมสมบัติล้ำค่าอาจเผยโฉมให้เห็นใครจะรู้ ขณะนี้อาจมี อินเดียน่า โจนส์ ตัวจริงตามล่าหาสมบัติอยู่อย่างเงียบ ๆ ก็ได้ตีพิมพ์ใน นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 376 มิถุนายน 2559

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564

นักวิทย์ฯ เผย สาเหตุแท้จริงที่ทำให้เป็นโรค Trypophobia หรือ โรคกลัวรู

นักวิทย์ฯ เผย สาเหตุแท้จริงที่ทำให้เป็นโรค Trypophobia หรือโรคกลัวรู
โรคกลัวรู หรือ Trypophobia เป็นอีกหนึ่งโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการดังกล่าว แต่ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์เริ่มค้นพบทฤษฎีที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคที่ว่านี้แล้ว โดยการศึกษาของ Geoff Cole และ Arnold Wilkins ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Psychological Science บอกว่า ‘ผู้ที่มีอาการกลัวรูนั้นอาจไม่ได้รู้สึกกลัวรู แต่มีสาเหตุมาจากการกลัวสิ่งแปลกปลอมที่อาศัยอยู่
ในรูเหล่านั้น ทำให้ผู้ป่วยอาจเกิดอาการสั่นและรู้สึกกลัวเมื่อเห็นภาพของรังผึ้ง ฟองน้ำ ปะการัง หรืออะไรก็ตามที่มีรูพรุน’
ทั้งคู่ยังได้วิเคราะห์ภาพถ่ายของรูปหลุมต่างๆ และเขียนอธิบายไว้ในเว็บไซต์ Trypophobia.com โดยการศึกษาดังกล่าวพูดถึงความแตกต่างของรูต่างๆ 
ในภาพถ่ายที่มีผลต่อความกลัวของผู้ป่วย โดย Geoff Cole ได้ทดลองให้ผู้ป่วยดูภาพของหมึกสายวงน้ำเงินที่มีจุดวงกลมต่างๆ ชัดเจน แต่เขากลับพบว่าผู้ป่วยก็กลัวภาพถ่ายรูปรูภาพอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

ทั้งสองคนจึงสรุปผลการศึกษาว่าอาการ Trypophobia นั้นเกิดจากการเห็นภาพของหลุมหรือรูต่างๆ เป็นตัวกระตุ้น ‘ประสบการณ์ที่ฝังอยู่ในสมองของพวกเขาจะเชื่อมโยงกับภาพที่เห็น และทำให้รู้สึกว่ากำลังจะได้รับอันตรายเมื่อมองไปที่ภาพที่เป็นตัวกระตุ้น’ Geoff Cole กล่าวกับทาง NPR’s Shots blog

จะว่าไปแล้วมันก็คงจริงอย่างที่ทั้งสองคนนี้ได้ทำการศึกษาเหมือนกันนะ เพราะบางครั้งเราอาจไม่ได้กลัวรูหรือหลุมจำนวนมากที่เราเห็นอยู่ตรงหน้าหรอก แต่ว่ากลัวสิ่งที่อยู่ข้างในซึ่งเราไม่ทราบหรอกว่าในนั้นมันจะมีอะไรอยู่มากกว่า หรือไม่ก็เราอาจจินตนาการไปต่างๆ นานาเองได้ว่าในรูหรือหลุมนั้นมีอะไรอยู่ ว่าแต่เพื่อนๆ คนไหนรู้สึกกลัวรูหรือมีคนใกล้ตัวเป็นอาการนี้ 
แล้วมีวิธีรักษาอย่างไร ยังไงก็มาแชร์ให้ทราบได้นะจ๊ะ ส่วนเพื่อนๆ ที่อยากติดตามอ่านเรื่องราวโลกแปลกๆ ก็เข้าไปที่ ผู้เชี่ยวชาญเผย ‘โรคดูดนิ้ว’ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ 1 ใน 10 คน และ Foreign Accent Syndrome โรคที่ทำให้ภาษาพูดผิดเพี้ยนไปจากเดิม กันเลยจ้า

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564

Giant Virusไวรัสตัวเบิ้มกับยีนปริศนาคล้ายสิ่งมีชีวิต

รู้จักกับ “Giant Virus” ไวรัสตัวเบิ้มกับยีนปริศนาคล้ายสิ่งมีชีวิต

Giant Virus คือไวรัสขนาดใหญ่ที่สุดที่มนุษย์เคยค้นพบ ด้วยขนาดอนุภาคที่ใหญ่กว่าไวรัสทั่วไปยังคงเป็นปริศนาที่หาคำตอบไม่ได้ แต่สิ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์มึนตึ้บยิ่งกว่า คือยีนในตัวพวกมันมีความคล้ายคลึงกับยีนของสิ่งมีชีวิต !!

Giant Virus จากข้อมูลของเว็บไซต์ Science Alert ประจำวันที่ 9 เมษายน 2020 เผยความลับเกี่ยวกับไวรัสขนาดใหญ่ มันถูกเรียกว่า Giant Virus ให้สมกับขนาดของมันที่อาจทำให้คุณสับสนกับแบคทีเรียได้ แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาลึกลงไปมากเท่าไร พวกเขายิ่งพบกับปริศนามากมายนอกเหนือจากขนาดที่ใหญ่กว่าไวรัสทั่วไป

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบคือ Giant Virus บางกลุ่มสามารถสร้างยีนใหม่ขึ้นมาได้เอง หรือบางกลุ่มตรวจพบรหัสพันธุกรรมพันธุกรรมที่ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน ที่น่าสนใจคือนอกจากยีนที่ใช้สร้างไวรัสตัวใหม่แล้ว (เช่น ยีนสำหรับสร้างส่วนห่อหุ้ม) นักวิทยาศาสตร์ยังพบยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับสารอาหาร, การดูดกลืนแสง และการนำไนโตรเจนไปใช้ประโยชน์

Giant Virus (Mimivirus) เทียบกับไวรัสชนิดอื่น ๆ อันที่จริงเราอาจพบเห็นยีนที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีพของเซลล์สิ่งมีชีวิตในไวรัสได้ สมมุติว่าไวรัสตัวหนึ่งติดเชื้อเข้าไปในเซลล์ของแบคทีเรียและดำเนินการเพื่อเพิ่มจำนวนตัวมันเองเป็นที่เรียบร้อย ไวรัสรุ่นลูกอาจมียีนบางส่วนของแบคทีเรียติดไปด้วย ดังนั้น เราจึงมีโอกาสพบเห็นยีนของแบคทีเรียตัวนั้นในไวรัสรุ่นลูกได้เช่นกัน

แต่สำหรับยีนเพื่อการดำรงชีพของ Giant Virus มีความต่างออกไปจากรูปแบบดังกล่าว จากการศึกษาลงลึกเข้าไปในรหัสพันธุกรรม ปรากฏว่ายีนเหล่านี้น่าจะอยู่กับไวรัสมานานหลายล้านปีแล้ว โดยยีนดังกล่าวส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับยีนที่พบในเซลล์ของสาหร่าย ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ Giant Virus จะเข้าไปอาศัยอยู่นั่นเอง ราวกับว่าในอดีตกาลหลังจากที่ไวรัสรับยีนอันเป็นประโยชน์มาจากสาหร่ายแล้ว พวกมันเลือกที่จะไม่ทิ้งยีนดังกล่าวและเก็บไว้เพื่อการดำรงชีพ

Pithovirus เป็น Giant virus สายพันธุ์หนึ่ง เทียบกับขนาดของแบคทีเรีย E.coli สรุป – ถึงกระนั้น แนวคิดที่ว่าไวรัสใช้ยีนเหล่านี้เพื่อสร้างสารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพด้วยตัวเองอาจเกินจริงไปหน่อย นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าไวรัสจะใช้ยีนเหล่านี้เพื่อควบคุมเซลล์สิ่งมีชีวิตที่พวกมันอาศัยอยู่ ให้สร้างสารต่าง ๆ ตามยีนของพวกมัน จนเกิดเป็นสิ่งแวดล้อมแบบใหม่ที่อาจเอื้อต่อการดำรงชีพขณะอยู่ในเซลล์ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดจึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปครับ

Giant Virus มีขนาดราว ๆ 400 นาโนเมตร ในขณะที่แบคทีเรียขนาดเล็กที่สุดอย่าง Mycoplasma มีขนาดเฉลี่ยเพียง 300 นาโนเมตร สำหรับสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดของ Giant Virus คือ Pithovirus รูปร่างคล้ายแบคทีเรียชนิดแท่ง (กลุ่มบาซิลลัส – Bacillus) มีขนาดประมาณ 1500 นาโนเมตร ถูกค้นพบในชั้นน้ำแข็งอายุราว 30,000 ปีก่อนในแถบไซบีเรีย

นักโบราณคดีพบ ไข่มุกเก่าแก่ที่สุดในโลก อายุ 8,000 ปี ที่อาบูดาบี

วันที่ 20 ต.ค. 2021
สำนักข่าว The Guardian รายงานว่า  นักโบราณคดีได้ค้นพบไข่มุกธรรมชาติ 1 เม็ด ซึ่งพวกเขาเชื่อว่ามันคือไข่มุกที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุราว 8,000 ปี 

โดยไข่มุกเม็ดนี้ถูกตั้งชื่อว่า 
“ไข่มุกอาบูดาบี” ตามชื่อเมืองหลวงของประเทศ ที่ค้นพบนั่นเอง
ตามรายงานระบุว่า หลังจากที่นักโบราณคดีได้สำรวจพื้นที่บนเกาะมาราวาห์ (Marawah Island)
นอกชายฝั่งกรุงอาบูดาบี
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็ได้พบกับไข่มุกเม็ดนี้ ที่มีขนาดเล็กเพียง 4 มิลลิเมตรและแม้ว่ามันจะดูเหมือนมีค่าน้อยนิด แต่นักสำรวจก็ได้ส่งมันไปตรวจสอบ ซึ่งผลจากการตรวจคาร์บอนในชั้นไข่มุกพบว่า มีอายุอยู่ในช่วง 5800-5600 ก่อนคริสตกาล
ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ช่วยยืนยันว่า มนุษย์รู้จักการซื้อขายอัญมณีตั้งแต่ยุคหินใหม่ หรือพวกเขาอาจไม่ได้กำหนดมูลค่าของมันแต่ใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนกับพ่อค้าเท่านั้น(นี่เป็นเพียงการคาดเดานะครับ) 

ซึ่งคิดตามบันทึกประวัติศาสตร์ที่ว่ามนุษย์เริ่มเห็นคุณค่าของสิ่งสวยงามอย่างอัญมณีมานานร่วมหมื่นปีแล้ว
ทั้งนี้ ไข่มุกอาบูดาบี 
(Abu Dhabi Pearl) จะถูกแสดงโชว์ครั้งแรกในงาน 10,000 Years of Luxury ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะและอารยธรรมลูฟร์ (Louvre Abu Dhabi) วันที่ 30 ต.ค. 2021 ที่จะถึงนี้ครับ
เมื่อปี 2006 ชาวประมงผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ได้ค้นพบ “ไข่มุกขนาดใหญ่ที่สุดในโลก” หนักถึง 34 กิโลกรัม มูลค่า 2,900 ล้านบาท ที่เกาะปาลาวัน ประเทศฟิลิปปินส์

วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2564

บัวสัญญาลักษ์แห่งความดี

ในสัญลักษณ์ และ ความเชื่อ
ค้นหา
บัวมีมาตั้งแต่ สมัยพุทธกาล ซึ่งมีตำนานกล่าวว่า หมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้ปรุงยาจากดอกบัว ถวายแด่ 
องค์สมเด็จพระพุทธเจ้า แก้อาการอ่อนเพลีย

ถือว่าดอกบัวเป็น ดอกไม้ประจำศาสนาพุทธ ตามพุทธประวัติพบว่า บัวมีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่
เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพาน เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเมื่อ ได้ทรงตรัสรู้แล้ว แต่เนื่องจากพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัวสี่เหล่า

คนไทยส่วนใหญ่มักจะใช้ดอกบัว ในการบูชาพระอยู่เสมอ แต่บัวที่เรานิยมปลูกไว้ภายในบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล คือ บัวหลวง บัวผัน บัวฝรั่ง บัวสาย และบัวกระด้ง

ความเชื่อในทางพุทธศาสนา 
ตั้งแต่สมัยโบราณว่า ดอกบัวก็เหมือนกับคนเรานี้เอง ดอกบัวที่ชูดอกพ้นจากผิวน้ำขึ้นมารับแสงสว่างได้นั้น ก็เหมือนกับ ผู้ที่หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง กลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ซึ่งถือเป็นความหมายอันลึกซึ้ง และเป็นมงคลยิ่งนัก
👵คนโบราณจึงมึความเชื่อว่า ครอบครัวใดที่ปลูกบัวเอาไว้ประจำบ้าน ก็จะช่วยให้คนครอบครัวนั้น 
มีจิตใจที่บริสุทธิ์ สะอาด และเบิกบานแจ่มใส เช่นเดียวกับดอกบัว และยังเชื่ออีกว่า สายใยของบัวที่ยืดยาวนั้น คือสายสัมพันธ์ของครอบครัว จะทำให้ทุกคนมีความห่วงใยรักใคร่ และผูกพันต่อกันอย่างแนบแน่น ครอบครัวนั้น ก็จะมีแต่ความสุข เพราะความรักใคร่ปรองดองของคนในครอบครัวทุกคน

ควรปลูกต้นบัวในวันพุธ เพราะวันพุธนั้น เหมาะสำหรับการปลูกต้นไม้ที่ให้ดอกสวยงาม ต้นบัวที่ปลูกในวันพุธ จะทำให้บัวผลิดอกบานสะพรั่งงดงามไปทั่วทั้งสระ

👨ผู้ที่เหมาะที่จะปลูกบัวมากที่สุด คือ ผู้ที่เกิดปีจอ เพราะต้นบัวนั้น เป็นต้นไม้ประจำปีของคนเกิดปีจอ หากผู้ที่เกิดปีจอเป็นผู้ปลูก และมีผู้ที่เกิดปีเดียวกันอาศัยอยู่ภายในบ้าน ก็จะช่วยเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้นไปอีก (ถ้าไม่มีผู้ที่เกิดปีจอ ก็ควรให้หัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ปลูกก็ได้)

การดูแลรักษาปลูกบัวทางทิศตะวันตก เจริญงอกงามมากกว่าการปลูกบัวทางทิศอื่นๆ

บัว เป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า ไหล หรือหัว ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้าน
ใบบัว

บัวเป็นราชินีแห่งไม้น้ำ จัดเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ถือเป็นสัญญลักษณ์ของคุณงามความดี บัวหลวงชอบขึ้นในน้ำจืดออกดอกตลอดปี ชอบน้ำสะอาด อยู่ในน้ำลึกพอสมควร ถิ่นกำเนิดของบัวอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียวหรือสีเทาชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนหลายสี
ชนิดบัวที่พบและนิยมปลูกในประเทศไทย มาจาก 3 สกุล คือ
   * บัวหลวง (lotus) เป็นบัวในสกุล Nelumbo มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ปทุมชาติ หรือบัวหลวง
   * บัวผัน, บัวสาย (waterlily) เป็นบัวในสกุล Nymphaea มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว หรือเหง้า ใบและดอกเกิดจากตาหรือหน่อ ที่เจริญขึ้นมาที่ผิวน้ำด้วยก้านส่งใบและยอด
   * บัววิกตอเรีย (Victoria) เป็นบัวในสกุล Victoria มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า บัวกระด้ง จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

พ.ศ. 2551 ค้นพบสายพันธุ์บัวสายพันธุ์ใหม่ของโลกที่พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ได้ตั้งชื่อว่า "ธัญกาฬ" และ "รินลอุบล"
ในวรรณกรรม
บัวปรากฏในนิราศธารโศก พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ 
(เจ้าฟ้ากุ้ง)
บัวบานในคงคา
นึกผ้าสีบัวโรยบาง
นวลละอองอ่องขลิบนาง
น้องเราห่มลอยชายงาม
นิราศธารโศก - พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ (เจ้าฟ้ากุ้ง)

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย
เรียบเรียงโดยmanman

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ศึกห่ากระสุนออตโตมันหวังถล่มเกาะโรดส์ให้ย่อยยับด้วยปืนใหญ่ แต่ทว่าโดนเครื่องดีดหินโต้กลับ

ศึกห่ากระสุน! ออตโตมันหวังถล่มเกาะโรดส์ให้ย่อยยับด้วยปืนใหญ่ แต่ทว่าโดนเครื่องดีดหินโต้กลับ ผลเป็นไง มาดู

ในปี 1480 จักรวรรดิออตโตมันซึ่งในขณะนั้นถือว่าเป็นหนึ่งในอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ได้ทำการบุกยึดดินแดนต่างๆ ซึ่งนอกจากกองทัพที่มีกำลังไพร่พลมหาศาลแล้ว พวกเขายังมีอาวุธหนักอีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือ “ปืนใหญ่” ที่ยิงกระสุนที่ทำจากเหล็กออกจากกระบอกด้วยดินปืน ถือว่าเป็นอาวุธที่ทรงอานุภาพ

เกาะโรดส์ที่ตั้งอยู่ในบริเวณอ่าวเทรียนตา ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอิตาลีก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่จะถูกโจมตี กองทัพออตโตมานได้ยกทัพโดยมีกำลังพลกว่า 70,000 นาย หวังบุกยึด

ฝ่ายจักรวรรดิออตโตมันได้ใช้ปืนใหญ่ยิงถล่มเข้าไปในเมือง ซึ่งทหารอิตาลีนั้นมีอาวุธโจมตีระยะไกลเพียงแค่เครื่องดีดหินซึ่งเป็นอาวุธสุดโบราณไว้ตั้งรับเพียงเท่านั้น หลังจากที่เมืองถูกโจมตีโดยห่ากระสุนปืนใหญ่ไปได้สักพัก 

ฝ่ายทหารอิตาลีก็ได้สังเกตว่าถึงอาวุธชนิดนี้จะมีพลังทำลายมหาศาลแต่ว่ากว่าที่ลูกกระสุนของมันจะลอยเข้ามาปะทะเป้าหมายนั้นใช้เวลาค่อนข้างนาน ทำให้รู้จุดที่มันจะตกล่วงหน้า จึงสามารถสั่งการให้ทหารและประชาชนในเมืองหลบได้ทัน และสั่งให้มีการขุดหลุมเป็นสนามเพลาะเพื่อให้ทหารได้หลบภัยจากลูกกระสุน

เมื่อเป็นเช่นนี้ ทหารอิตาลีจึงได้ทำการโจมตีกลับด้วยเครื่องยิงหินที่มีและที่สร้างใหม่อย่างรวดเร็ว จนปืนใหญ่เสียหายจากนั้นก็ทำการบุกตีโต้กลับด้วยทหารราบ จนสามารถไล่กองทัพของจักรวรรดิออตโตมันกลับไปพร้อมกับความพ่ายแพ้
นี่ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่อาวุธเก่าๆ โบราณสามารถที่จะเอาชนะเทคโนโลยีใหม่ได้ ความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ส่งผลให้จักรวรรดิออตโตมันไม่ยุ่งกับเกาะโรดส์อีก จนกระทั่งอีก 40 ปีต่อมาก็ได้กลับมาอีกครั้งและคราวนี้สามารถยึดได้สำเร็จ
จักรวรรดิออตโตมัน
กระสุน
อาณาจักร
กองทัพ
ออตโตมัน

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564

หน้ากากหินลึกลับสีเขียว อายุ 2,000 ปี ณ ประเทศเม็กซิโก


ค้นหา
การค้นพบนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2011 ทีมนักโบราณคดีเม็กซิโกขุดพบ “หน้ากากแกะสลัก” จากหินเซอร์เพนทีน (Serpentine-หินสีเขียว) อายุกว่า 2,000 ปี ถูกซ่อนไว้ใต้อุโมงค์บริเวณฐานพิระมิดแห่งดวงอาทิตย์ (The Pyramid of The Sun) ณ เมืองเตโอติอัวกัน ประเทศเม็กซิโก

ย้อนไปในปี 2003 เซอร์จิโอ โกเมซ นักวิจัยชาวเม็กซิโก ได้บังเอิญพบอุโมงค์ลับใต้ฐานพิระมิดแห่งดวงอาทิตย์ ในระหว่างภารกิจศึกษาโครงสร้างโบราณ ซึ่งอุโมงค์ดังกล่าวอยู่ลึกลงไปกว่า 10 เมตร และยาวอีกกว่า 90 เมตร ทีมงานต้องใช้เวลากว่า 8 ปีในการขุดอุโมงค์ เนื่องจากอุดตันเพราะตะกอนดิน แต่ก็คุ้มค่าเพราะภายในเต็มไปด้วยวัตถุโบราณ และที่ดูจะโดดเด่นที่สุดก็คือ “หน้ากากหินสีเขียว”

โดยหน้ากากใบนี้มีขนาดเล็กมาก กว้างเพียง 11.5 ซม. สูง 11 ซม. หนา 7.8 ซม. นักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นสมบัติของราชวงศ์แห่งเมืองเตโอติอัวกัน จากการวิเคราะห์มีความเป็นไปได้ว่า อาจถูกใช้เป็นเครื่องเซ่นบูชาก่อนที่จะทำการสร้างพีระมิดแห่งนี้ขึ้น

เซอร์จิโอ โกเมซ พร้อมด้วยทีมนักสำรวจโคเซ ลูบัลคาบา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟิสิกส์นานาชาติ ระบุว่า “เนื่องจากปลายสุดของอุโมงค์พบโครงกระดูกที่อาจเป็นของกษัตริย์แห่งเมืองเตโอติอัวกัน ซึ่งหน้ากากอาจมีต้นแบบมาจากใบหน้าของพระองค์ก็เป็นได้ เพราะเป็นหน้ากากเพียงชิ้นเดียวที่ถูกพบในบริเวณดังกล่าวนั่นเอง” 

นอกจากหน้ากากแล้วยังมีวัตถุโบราณต่าง ๆ อีกมาก เช่น มีดสั้น เปลือกหอยแกะสลัก เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องประดับต่าง ๆ ทั้งหมดถูกเก็บกู้และนำขึ้นมาบูรณะ ปัจจุบันถูกจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาแห่งชาติเม็กซิโก (Museo Nacional de Antropologia)

สำหรับพีระมิดแห่งดวงอาทิตย์ (The Pyramid of Sun) เป็นที่รู้จักในฐานะพีระมิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก สูง 60 เมตร ฐานแต่ละด้านกว้าง 200 เมตร ถูกสร้างขึ้นเมื่อ 2,000 ปีก่อน โดยชื่อของ “พีระมิดแห่งดวงอาทิตย์” ตั้งขึ้นโดยชาวแอซเท็ก (Aztec) ที่มาพบเข้าเมื่อ 700 ปีก่อน

พิระมิดแห่งดวงอาทิตย์ พร้อมด้วยแท่นบูชายัญอีกมากมาย เชื่อว่าแท่นบูชายัญเหล่านี้ ชาวแอซแท็กเป็นผู้สร้างขึ้นในภายหลัง
.
อารยธรรมแอซเท็ก ขึ้นชื่อเรื่องการบูชายัญบ่อยครั้งที่สุดในโลก ถือกำเนิดขึ้นในช่วง ค.ศ.1325 ณ บริเวณตอนกลางของเม็กซิโกในปัจจุบัน ยังรู้จักกันอีกชื่อว่า ชาวเม็กซิกา (Mexica) เพราะเชื่อว่า พวกเขาคือบรรพบุรุษของชาวเม็กซิโก แต่การมาถึงของชาวสเปนในช่วงปี ค.ศ.1517-1521 ก็ทำให้อารยธรรมแอซเท็กล่มสลายลง

นักโบราณคดีเชื่อว่า ในอดีตสถานที่แห่งนี้เคยรุ่งเรื่องมาก อาจมีประชากรอาศัยอยู่ถึง 200,000 คน แต่ก็ต้องกลายเป็นเมืองร้างเนื่องจากความแห้งแล้งและภัยสงคราม อย่างไรก็ตาม จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีข้อมูลมากพอที่จะทราบได้ว่า ประชากรที่เคยอาศัยอยู่คือชนเผ่าใด? 
ใครคือผู้สร้างพีระมิด? และเมื่อหลายพันปีก่อน พวกเขาสามารถก่อสร้างสิ่งยิ่งใหญ่ขนาดนี้ได้อย่างไร ? ปริศนาทั้งหมดยังคงรอการเฉลยในอนาคต

Russell-McPherron เอฟเฟ็กต์ รอยแตกของสนามแม่เหล็กโลก


ค้นหา
ในช่วงดึกของวันที่ 16 มีนาคมปีที่แล้วนั้น มีรอยร้าวเปิดขึ้นในสนามแม่เหล็กของโลก 

- มัน ไม่ใหญ่โตอะไร แต่ใหญ่พอที่จะก่อให้เกิดพายุ Geomagnetic ระดับ G1

สิ่งนี้เรียกว่า "Russell-McPherron เอฟเฟ็กต์" ตั้งชื่อตามนักวิจัยที่อธิบายเรื่องนี้เป็นครั้งแรก รอยแตกนั้นถูกเปิดโดยลมสุริยะนั้นเอง สนามแม่เหล็กที่ชี้ไปทิศใต้อยู่ในลมสุริยะต่อต้านกันกับสนามแม่เหล็กที่ชี้ทิศเหนือของโลก ทั้งสองขั้ว, N กับ S, ได้อ่อนแรงลงบางส่วน,

ทำให้การป้องกันของสนามแม่เหล็กของโลกลดลง การเกิดรอยแตก หรือการล่มของสนามแม่เหล็กโลกนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาตลอดทั้งปี อันที่จริงการศึกษา 75 ปีแสดงให้เห็นว่าเดือนมีนาคมเป็นเดือนที่มีการใช้งานทางธรณีวิทยามากที่สุดของปี 
ให้ติดตามดูตามในเดือนกันยายนถึงตุลาคมนี้ ค้นคำว่า "equinox cracks."

วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564

หมู่บ้านคู่แฝด The village Of Twins

หมู่บ้านโคดินฮี ในรัฐเคราลา ทางใต้ของอินเดียที่ห่างไกล สร้างความพิศวงให้กับวงการแพทย์ เพราะเป็นหมู่บ้านที่มีฝาแฝดมากผิดปกติ ที่นี่ให้กำเนิดฝาแฝดมากกว่า 220-250 คู่ ทั้งที่มีกันอยู่ประมาณเพียง 2,000 ครอบครัว เป็นสัดส่วนที่มากกว่าอัตราการเกิดของฝาแฝดทั่วโลกโดยเฉลี่ยเกือบ 6 เท่า

ที่น่าแปลกคือจำนวนฝาแฝดของหมู่บ้านมีเพิ่มขึ้นทุกปี โดยไม่มีใครรู้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ปกติแล้วการเกิดแฝดนั้นเกิดขึ้นได้ยาก สัดส่วนการเกิดฝาแฝดของโลกอยู่ที่ 4 คู่ต่อการเกิด 1,000 ครั้งเท่านั้น
สำหรับข้อสันนิษฐานปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดนั้น อาจขึ้นอยู่กับลักษณะพันธุกรรมพิเศษของคนในหมู่บ้าน หรืออาจเกิดสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเฉพาะที่น่าจะเกิดจากแร่ธาตุบางอย่างในน้ำใต้ดิน และทุกวันนี้หมู่บ้านฝาแฝดก็ยังคงเป็นสิ่งลึกลับในประเทศอินเดีย
The village Of Twins

เหตุระเบิดลึกลับ ที่เมืองจ๊อดปูร์ The Jodhpur Boom


เหตุระเบิดเมืองจ๊อดปูร์
(The Jodhpur Boom)
เมื่อปี 2012 เกิดเหตุประชานที่เมืองจ๊อดปูร์ (Jodhpur) ได้ยินเสียงระเบิดดังสนั่น

โดยที่ไม่มีแหล่งที่มาที่สามารถตรวจสอบได้ว่า ชนวนระเบิดอยู่ที่ใด ใครเป็นผู้กระทำ ไม่มีแม้กระทั่งเหตุเครื่องบินตก ไม่มีอาคารบ้านเรือนไหนได้รับความเสียหาย แม้กระทั่งตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วก็ไม่พบ

อีกทั้งเสียงระเบิดดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่อินเดีย แต่ยังเกิดขึ้นไปทั่วโลก จากสหราชอาณาจักรไปยังเท็กซัส และบางครั้งมักมีการพบเห็นแสงสีเขียวแปลกๆ พร้อมกับเสียงด้วย
เสียงแปลกๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีจุดเชื่อมโยงอย่างไร หรือมันจะเป็นการทดลองอาวุธใหม่ของรัฐบาล หรือ ฝีมือมนุษย์ต่างดาว หรือ เกิดจากความเรื่องธรรมชาติโดยบังเอิญ จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีใครตอบได้
The Jodhpur Boom

วันเสาร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564

นักวิทย์สร้าง AI ช่วยไขคดี หรือโลกนี้เป็นเพียงสิ่งสมมุติ


นักวิทย์สร้าง AI ช่วยไขคดี "หรือโลกนี้เป็นเพียงสิ่งสมมติ?"
 
ครั้งหนึ่ง ภาพยนตร์ The Matrix เคยสร้างปรากฎการณ์โลกเสมือนที่สมจริงเสียจนเกิดทฤษฎีที่ทำให้หลายคนเชื่อว่าแท้จริงแล้วโลกใบนี้ "อาจไม่มีอยู่จริงมาตั้งแต่ต้น"
 
เมื่อไม่นานมานี้ Hong Qin นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยฟิสิกส์ Princeton Plasma ในสังกัดกระทรวงพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ตอกย้ำทฤษฎีดังกล่าวให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ด้วยการสร้าง AI ที่จะมาไขปริศนาดังกล่าว
 
สิ่งที่ Hong Qin และทีมวิจัยกำลังพัฒนาคืออัลกอริทึมที่สามารถคาดการณ์การโคจรของระบบสุริยะได้ โดยอาศัยข้อมูลจากการสังเกตการโคจรของกลุ่มดาวเคราะห์ (พุธ ศุกร์ โลก อังคาร พฤหัส) และดาวเคราะห์แคระห์ซีรีส 
 
จากนั้นนำมาใช้งานร่วมกับโปรแกรมแสดงผลเพื่อให้สามารถจำลองการโคจรของดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งกฎการเคลื่อนที่และแรงโน้มถ่วงของนิวตัน
 
"สิ่งที่เรากำลังทำ คือการแทนที่กระบวนการศึกษาที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น และสามารถคาดเดาได้อย่างแม่นยำยิ่งกว่าโดยไม่ต้องอาศัยทฤษฎีหรือเงื่อนไขแบบดั้งเดิม"
 
แล้วการพัฒนานี้บอกอะไรกับเรา? 
 
จากบทสัมภาษณ์  Hong Qin อธิบายว่าเขาพัฒนา AI นี้โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Nick Bostrom นักปรัชญาจากมหาวิทยาลัย Oxford ผู้เคยกล่าวไว้ว่า 
 
"จักรวาลคือการจำลองจากคอมพิวเตอร์  ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงมันจะประกอบไปด้วยเอกภพ ช่วงเวลา และอวกาศ ซึ่งแต่ละชิ้นก็จะเป็นดังพิกเซลในวิดีโอเกมที่เชื่อมต่อกันได้"
 
ดังนั้น การพัฒนา AI ในครั้งนี้จึงอาจพิสูจน์ให้เราได้รู้ว่าจักรวาลอาจไม่ได้เชื่อมต่อกันอย่างที่เราเคยคาดคิด และในช่องว่างเหล่านั้นอาจมีโลกเสมือนที่เรากำลังอาศัยอยู่อย่างไม่รู้ตัว
 

อย่างไรก็ตาม โปรเจ็กต์นี้กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาและยังต้องได้รับการพิสูจน์ในเรื่องของทฤษฎีรวมถึงข้อเท็จจริงอีกหลายอย่าง
 
แต่หากคิดตามว่าในขณะนี้เราอาจกำลังล่องลอยอยู่ในโลกเสมือนที่ทุกอย่าง "ไม่มีจริง" มาตั้งแต่แรก คุณคิดว่าใครกันคือผู้อยู่เบื้องหลังและเฝ้ามองการใช้ชีวิตของมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน?

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2564

ยีราฟสัตว์ที่ร่างสูงโย่งที่สุดบนผืนพิภพ




"ซูลู" เพราะสูงเกิน 19 ฟุตสูงกว่าสัตว์ตระกูลเดียวกันโดยเฉลี่ยราว 4 ฟุตซูลูยีราฟเพศผู้อายุ 18 ปีน้ำหนัก 1.3 ตันนำมาจากเนเธอร์แลนด์เมื่อห้าปีก่อน

แม้กระทั่งผู้ชำนาญงานขนย้ายยีราฟก็ยังงงงวยประหลาดใจในเรือนร่างที่สูงใหญ่ผิดยีราฟทั้งหลาย ปัจจุบันซูลูอยู่ที่สวนสัตว์ฟอลลีฟาร์ม ในเมืองซาวเดอร์ฟูตเขตเพมโบรกเชียร์อังกฤษ

ทิมมอร์ฟิวผู้ดูแลสวนสัตว์ฟอลลีฟาร์ม ตัวสูงเฉลี่ยประมาณ 15 ฟุตซูลูจึงเข้าข่ายยีราฟพิเศษ 20 กก ตามด้วยอาหารหนั​​กอีกสามโลก

แต่ซูลูเป็นยักษ์ใหญ่ใจดีสุภาพแถมขี้เล่น ทิมเล่า "ความที่ซูลูใจดีสุภาพอ่อนโยนบรรดาเด็ก ๆ เลยกล้าเข้าใกล้กล้าลูบหัวบ้างบี้จมูกนุ่มของซูลูเล่น"

ด้านโฆษก "กินเนสเวิลด์เรกคอร์ด" บอกยินดีรับรองการทุบสถิติโลกของซูลู.

ทัลลี่ปาปิรัส หลักฐานจานบินในอียิปต์โบราณ?


ทัลลี่ปาปิรัส หลักฐานจานบินในอียิปต์โบราณ?

สำหรับใครที่เป็นสาวกจานบินหรือชื่นชอบเรื่องราวของ UFO น่าจะพอทราบกันดีว่า เรื่องราวของยานบินลึกลับไม่ปรากฏสัญชาตินั้นเริ่มโด่งดังขึ้นครั้งแรกตั้งแต่กรณีที่เชื่อกันว่ามีจานบินตกที่รอสเวลล์ (Roswell) เมื่อปี ค.ศ. 1947 และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีผู้ที่พบเห็นจานบินหลายต่อหลายครั้ง
 
สิ่งที่พวกเขาบอกเล่าเกี่ยวกับปรากฏการณ์ UFO ค่อนข้างที่จะสอดคล้องและคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเห็นแสงประหลาดปรากฏบนฟากฟ้า บ้างก็ปรากฏขึ้นมาอย่างเงียบๆ บ้างก็มาพร้อมกลิ่นเหม็นพิศวงที่หาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ บางคนก็ได้ระบุขนาดของจานบินลึกลับเอาไว้อย่างชัดเจนในบันทึกของพวกเขาด้วย
 
แต่ย้อนกลับไปก่อนหน้าเหตุการณ์ที่รอสเวลล์หลายพันปี หลักฐานชิ้นหนึ่งของชาวอียิปต์โบราณดูเหมือนว่าจะพูดถึงการมาเยือนของ “จานบิน” หรือ UFO ในสมัยโบราณไว้ด้วยเช่นกัน!!
 
มันเป็นปาปิรัสที่รู้จักกันในชื่อว่า “ปาปิรัสทัลลี่” (Tulli Papyrus) ที่คาดว่ามีความเก่าแก่ย้อนกลับไปได้ถึงสมัยของฟาโรห์ทุธโมซิสที่ 3 (Tuthmosis III) หรือเมื่อประมาณ 1,500 ปี ก่อนคริสตกาลเลยทีเดียว
 
ที่มาที่ไปของปาปิรัสฉบับนี้ก็ถือว่าไม่ค่อยที่จะชัดเจนเท่าใดนัก เราทราบเพียงแค่ว่าต้นฉบับดั้งเดิมของมันอันตรธานไปนานแล้ว ที่หลงเหลืออยู่ก็เป็นเพียงแค่ฉบับคัดลอกเท่านั้นเอง ผู้ที่ค้นพบมันก็คืออัลเบอร์โต้ ทัลลี่ (Alberto Tulli)  เขาได้ไปเจอกระดาษปาปิรัสแผ่นนี้เข้าที่ร้านขายของโบราณแห่งหนึ่งในกรุงไคโร เมื่อปี ค.ศ. 1934 

แต่ด้วยว่าราคาของมันแพงมาก ทัลลี่จึงขอคัดลอกข้อความบนแผ่นปาปิรัสนั้นมาแทนและได้นำไปให้บอริส เดอ ราเชวิตซ์ (Boris de Rachewiltz) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอียิปต์โบราณลองถอดความดู ซึ่งข้อความที่บอริสแปลออกมาได้นั้นก็ถือว่าน่าทึ่งเอามากๆ
 
ข้อความที่อาลักษณ์ในสมัยของฟาโรห์ทุธโมซิสที่ 3 ได้บันทึกเอาไว้ถอดความออกมาได้ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นใน “ปีที่ 22 เดือนที่ 3 ฤดูเพาะปลูก ชั่วโมงที่ 6 ช่วงกลางวัน อาลักษณ์ได้พบเห็นดวงไฟวงกลม (Circle of Fire) ลงมาจากท้องฟ้า มันไม่มีศีรษะและปล่อยกลิ่นที่เหม็นอย่างรุนแรงออกมาจากปากของมัน มันกว้าง 100 คิวบิต ยาว 100 คิวบิต มันไม่มีเสียง...” ความยาว 100 คิวบิตของชาวไอยคุปต์เทียบเท่ากับ 52 เมตร นั่นหมายความว่าดวงไฟวงกลมที่อาลักษณ์ได้เห็นในวันนั้นมีขนาดใหญ่มากเลยทีเดียว
 
หลังจากนั้นไม่นาน ดวงไฟวงกลมปริศนานี้ก็กลับมาอีกครั้งด้วยจำนวนที่มากกว่าเดิม อาลักษณ์ได้บันทึกเอาไว้ว่า “...พวกมันส่องแสงสว่างเต็มท้องฟ้า สว่างเกินกว่าแสงจากดวงอาทิตย์ มันได้แผ่ขยายออกไปทั้งสี่มุมในท้องฟ้า ทั่วทั้งท้องฟ้าเต็มไปด้วยเจ้าดวงไฟวงกลมเหล่านี้...”
 
เท่านั้นยังไม่พอ เพราะเมื่อดวงไฟเหล่านี้หายลับออกไปจากท้องฟ้าแล้วก็ได้มีปรากฏการณ์ประหลาดเกิดขึ้นตามมา ด้วยว่ามีปลาและนกตกลงมาจากท้องฟ้าอย่างหาคำอธิบายไม่ได้ ซึ่งอาลักษณ์ที่บันทึกเหตุการณ์ในครั้งนั้นก็ได้แต่งงงวย แต่เขาก็ยังตั้งหน้าตั้งตาจดบันทึกเพื่อที่จะได้ให้ทุกคนได้ระลึกถึงเหตุการณ์ประหลาดที่เขาได้เห็นในวันนั้น
 
คำถามที่น่าสนใจก็คืออะไรคือ “ดวงไฟวงกลม” ที่ชาวอียิปต์โบราณบันทึกเอาไว้ในปาปิรัสทัลลี่และมันจะใช่ UFO หรือไม่!? น่าเสียดายที่ยังไม่มีใครให้คำตอบที่ชัดเจนได้จนถึงทุกวันนี้
 

บางทีสิ่งที่ชาวอียิปต์โบราณเห็นอาจจะเป็นเพียงปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่างที่แปลกประหลาดหรือบางทีมันอาจจะเป็นเรื่องโอละพ่อ เพราะว่าปาปิรัสต้นฉบับดั้งเดิมได้สูญหายไปนานแล้ว อีกทั้งยังไม่มีใครกล้าฟันธงเสียด้วยสิว่า อักษรภาพที่อัลเบอร์โต้ ทัลลี่คัดลอกมานั้นจะถูกต้องตามต้นฉบับมากน้อยแค่ไหน
แต่ถ้าสิ่งที่เขาคัดลอกมาถูกต้อง ข้อความที่ปรากฏบนปาปิรัสก็เขียนได้ตรงตามรูปแบบไวยากรณ์อียิปต์โบราณแท้ๆ เรียกง่ายๆ ว่าถ้ามีคนทำปลอมมันขึ้น คนๆ นั้นก็จะต้องเชี่ยวชาญภาษาของชาวไอยคุปต์เป็นอย่างมาก นั่นจึงทำให้ปาปิรัสทัลลี่เป็นหนึ่งในเรื่องราวพิศวงที่สุดของอียิปต์โบราณที่ยังไม่มีใครสามารถอธิบายมันได้อย่างแน่ชัด
 
และบางทีมันก็อาจจะเป็นปริศนาเช่นนี้ต่อไปตลอดกาล

ดาราศาสตร์ดึกดำบรรพ์ของชาวมายาโบราณ


ดาราศาสตร์ดึกดำบรรพ์ของชาวมายาโบราณ
องค์ความรู้ของชาวมายาโบราณที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ ปฏิทิน อักขระเฮียโรกลิฟฟิคและสถาปัตยกรรมทางด้านการก่อสร้างวิหารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ล้วนเกี่ยวพันกับสิ่งสิ่งหนึ่งอยู่เสมอ นั่นก็คือ 'ดาราศาสตร์'
นักโบราณคดียอมรับว่าชาวมายาโบราณเป็นนักดาราศาสตร์ที่เก่งกาจ พวกเขาสามารถสร้างวิหารและอาคารต่างๆ ให้สอดรับกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับดวงดาวต่างๆ ได้อย่างน่าทึ่ง โดยเฉพาะดวงอาทิตย์ที่มักจะสร้างแสงและเงาต่างๆ ให้กับสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงดาวศุกร์ที่ชาวมายาโบราณนับถือในฐานะของสัญลักษณ์แห่งสงคราม ในครั้งนี้เราจะมาดูกันว่าผลงานใดบ้างของชาวมายาโบราณที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการผนวกองค์ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์เข้ากับผลงานทางสถาปัตยกรรมได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ

วิหารเอล-คาราคอล หรือ 'หอยทาก' ในเมืองชิเชน อิทซา ที่มาของภาพ

ชนโบราณแต่ครั้งอดีตล้วนนับถือดวงอาทิตย์เป็นเทพเจ้า รวมถึงชาวมายาโบราณด้วยเช่นกัน พวกเขาเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏกายขึ้นจากขอบฟ้าฝั่งตะวันออกทุกวันและลับขอบฟ้าไปทางตะวันตกทุกวันด้วยเช่นกัน แต่สิ่งที่พวกเขาสังเกตเห็นนั้นไม่ได้มีเพียงแค่การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ ทว่ารวมถึง 'ตำแหน่ง' ในการปรากฏของดวงอาทิตย์เหนือขอบฟ้าที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงเวลาของปีอีกด้วย ชาวมายาโบราณทราบดีว่าในช่วงระยะเวลา 1 ปีนั้น จะมีปรากฏการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับดวงสุริยาขึ้น 3 ปรากฏการณ์แต่รวมแล้ว 4 ครั้งในช่วงที่ตรงกับเดือนในปัจจุบันคือ มีนาคม, มิถุนายน, กันยายนและธันวาคม

ในช่วงวันที่ 21 เดือนมิถุนายนของทุกปีคือวัน 'ครีษมายัน' (Summer Solstice) เป็นจุดที่ดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นทางด้านเหนือสุดของขอบฟ้าฝั่งทิศตะวันออกและเป็นวันที่กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี และเมื่อเวลาล่วงเลยผ่านไป ดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนตำแหน่งการปรากฏตัวของมันไปเรื่อยๆ โดยจะเคลื่อนตัวลงมาทางด้านทิศใต้ และเมื่อถึงประมาณวันที่ 21 กันยายน ก็จะถึงอีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่เรียกว่าวัน
'ศารทวิษุวัต' (Autumnal Equinox) ซึ่งเป็นวันที่เวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน หลังจากนั้นดวงอาทิตย์ก็ยังคงเคลื่อนตัวลงไปทางทิศใต้มากขึ้น จนถึงประมาณวันที่ 21 ธันวาคม หรือวัน 'เหมายัน'
(Winter Solstice) ดวงอาทิตย์จะไม่เคลื่อนลงไปทางทิศใต้อีกแล้ว ทว่าจะเริ่มเปลี่ยนทิศทางกลับมาทางทิศเหนือดังเดิม อีกทั้งยังเป็นวันที่กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปีอีกด้วย และเมื่อถึงประมาณวันที่ 21 มีนาคมดวงอาทิตย์ก็จะเข้าสู่วัน 'วสันตวิษุวัต' (Spring Equinox) ซึ่งเป็นวันที่เวลากลางวันและกลางคืนเท่ากันอีกครั้ง วนเป็นวงรอบเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ทุกปี ดังนั้นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ของ
ชาวมายาโบราณในหลากหลายเมือง ก็ล้วนแล้วแต่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาเพื่อให้สอดรับกับปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ทั้งสี่วันนี้ทั้งสิ้น นอกจากนั้นอาคารบางแห่งยังถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการเฝ้าสังเกตเส้นทางโคจรของดาวศุกร์ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการทำสงครามอีกด้วย

แผนผังของวิหารเอล-คาราคอล แสดงให้เห็นว่าวิหารแห่งนี้ดูบิดเบี้ยว แถมยังไม่สมมาตร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ล้วนแล้วแต่มีเหตุผลทางด้านดาราศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
ที่มาของภาพ

กลุ่มอาคารแรกสุดของอารยธรรมมายาที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถทางด้านดาราศาสตร์ของชาวมายาโบราณอย่างชัดเจนก็คืออาคารชื่อว่า 'เอล-คาราคอล' (El-Caracol) ซึ่งแปลว่า 'หอยทาก' ในภาษาสเปน อาคารนี้ตั้งอยู่ในเมืองชิเชน อิทซา (Chichen Itza) แถบคาบสมุทรยูคาทาน เป็นหนึ่งในนครที่รุ่งเรืองอยู่ในยุคหลังคลาสสิก (Post-Classic Period) ในช่วงประมาณปี ค.ศ. 900 เมื่อลองดูที่โครงสร้างของอาคารแล้ว หลายๆ ท่านอาจจะคิดว่าสถาปนิกชาวมายาเขาเมาโกโก้ระหว่างกำลังออกแบบหรือเปล่า?

เพราะอาคารที่สร้างออกมานั้นมันช่างดูบิดเบี้ยว ฐานก็ไม่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสดี บันไดที่สร้างเอาไว้ก็ไม่สมมาตร แต่แท้ที่จริงแล้วความจริงที่ซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังความแปลกประหลาดของโครงสร้างแห่งอาคาร 'หอยทาก' นี้ก็คือมันทำหน้าที่ประหนึ่ง 'หอดูดาว' ที่ใช้ในการสังเกตเทหวัตถุต่างๆ บนท้องฟ้าต่างหากล่ะ

เช่นแท่นยกพื้นของวิหารที่ทำมุมสุดพิลึกนั้น แท้ที่จริงแล้วต้องการให้ชี้ไปยังจุดที่ดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นในตอนเช้าของวันครีษมายัน ขั้นบันไดชุดหนึ่งชี้ไปยังเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ที่ผ่านจุดจอมฟ้า (Zenith Passage) ของเมืองชิเชน อิทซา นอกจากนั้นแล้วขั้นบันไดอีกชุดหนึ่งยังเกี่ยวข้องกับเส้นทางการเคลื่อนที่ของดาวศุกร์ โดยแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งทางด้านทิศเหนือที่สุดของดาวศุกร์บนท้องฟ้าซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงแค่ครั้งเดียวในรอบ 8 ปีเท่านั้นเอง นอกจากนั้นแล้วหน้าต่างและประตูอีกหลายบานของอาคาร 'เอล-คาราคอล' ยังเชื่อมโยงกับตำแหน่งต่างๆ ของดวงอาทิตย์และดวงดาวอีกด้วย แต่ถึงอย่างนั้น
นักดาราศาสตร์ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถฟันธงได้ว่าหน้าต่างบานใดจะเกี่ยวข้องกับดวงดาวใดบ้าง เพราะอาคารนี้สร้างขึ้นมายาวนานนับพันปีแล้ว ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 906 อีกทั้งตำแหน่งของดวงดาวยังเคลื่อนไปหนึ่งองศาทุกๆ 72 ปีอีกด้วย นั่นจึงทำให้ตำแหน่งของดวงดาวในปัจจุบันอาจจะไม่สอดคล้องตรงกันกับตำแหน่งของดวงดาวในอดีตที่ชาวมายาโบราณในนครชิเชน อิทซาเคยสังเกตเห็นเสมอไป

เงาที่เกิดขึ้นบริเวณราวระเบียงพีระมิดเอล-คาสติลโญในวันวิษุวัตดูคล้ายอสรพิษยักษ์ที่กำลังเลื้อยไปตามขั้นบันไดขององค์พีระมิด ที่มาของภาพ

อีกหนึ่งอาคารของชาวมายาโบราณในเมืองชิเชน อิทซา ที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือพีระมิด 'เอล-คาสติลโญ' (El-Castillo) อันเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ใหม่ของโลกที่เพิ่งได้รับการจัดอันดับไปเมื่อปี ค.ศ. 2007 นั่นเอง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ณ วิหารชิเชน อิทซานี้เกี่ยวข้องกับ 'เงา' นั่นหมายความว่าต้องสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์เป็นแน่ นักโบราณคดีเรียกการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้กับปรากฏการณ์ธรรมชาติว่า
'เฮียโรฟานี' (Hierophany) และปรากฏการณ์ที่ว่านั้นก็จะเกิดขึ้นที่ขั้นบันไดของมหาพีระมิดแห่งชิเชนอิทซาที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่เทพเจ้าอสรพิษขนนกนี้เอง

ด้วยว่าเมื่อดวงอาทิตย์เริ่มจะลับขอบฟ้าไปในวันวิษุวัตทั้งสองครั้งในรอบปีนั้น จะเกิด 'เงา' ของอสรพิษขนาดใหญ่ปรากฏขึ้นบริเวณราวระเบียงของขั้นบันได ประหนึ่งว่ามีงูยักษ์กำลังเลื้อยลงมาตามขั้นบันไดนั้นก็ไม่ปาน โดยที่บริเวณปลายด้านล่างของบันไดได้มีภาพสลักเศียรงูยักษ์รอท่าอยู่ด้วยเช่นกัน นักโบราณคดียังคงตั้งคำถามกันว่านี่จะเป็นความตั้งใจของชาวมายาโบราณหรือไม่ หรือว่านี่จะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงเพราะแค่ 'ความบังเอิญ' เท่านั้นกันแน่?

นอกจากอาคารที่ทำหน้าที่เป็นหอดูดาว หรือการสร้างปรากฏการณ์เฮียโรฟานีได้ด้วยตัวของมันเองแล้ว ชาวมายาโบราณยังได้สร้างสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์โดยให้ทำงานเป็น 'กลุ่ม' อีกด้วยในปัจจุบัน นักโบราณคดีเรียกขานกลุ่มอาคารนั้นว่า 'กลุ่ม-อี'
(E-Group) และกลุ่มอาคารที่ว่านี้ตั้งอยู่ที่เมือง 'วาชัคตุน' (Uaxactun) ห่างออกมาจากนครโบราณอย่างติกัล (Tikal) ขึ้นมาทางเหนือเพียงแค่ราว 19 กิโลเมตรเท่านั้น

กลุ่มโครงสร้างหลักๆ ของอาคาร 'กลุ่ม-อี' นั้นมีด้วยกันสี่อาคาร อาคารทางเหนือเรียกว่า 'วิหาร อี-1' (Temple E-I) อาคารทางทิศใต้เรียกว่า 'วิหาร อี-3' (Temple E-III) และอาคารที่ตั้งอยู่ตรงกลางเรียกว่า 'วิหาร อี-2' (Temple E-II) ทั้งสามวิหารนี้ตั้งอยู่บนแท่นยกพื้นยาวแห่งเดียวกัน ห่างออกไปจะมีวิหารอีกแห่งหนึ่งเรียกว่า 'วิหาร อี-7' (Temple E-VII) และเมื่อชาวมายาโบราณมองกลุ่มวิหารสามแห่งจากวิหาร อี-7 ก็จะพบว่าวิหารทั้งสามแห่งสัมพันธ์กับวันสำคัญต่างๆ ด้วยเช่นกัน โดยที่วิหาร อี-1 นั้นจะสัมพันธ์กับวันครีษมายัน วิหาร อี-2 สัมพันธ์กับวันวิษุวัตทั้งสองวัน และวิหาร อี-3 สัมพันธ์กับวันเหมายันนั่นเอง

แผนผังแสดงความสัมพันธ์ของวิหาร 'กลุ่ม-อี' ในเมืองวาชัคตุนที่เชื่อมโยงกับวันครีษมายัน วันเหมายันและวันวิษุวัต ที่มาของภาพ

นอกจากนั้น อีกหนึ่งความมหัศจรรย์ขององค์ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ของชาวมายาโบราณที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์ในปัจจุบันทึ่งได้ไม่แพ้กัน ก็คือชาวมายาโบราณสามารถคำนวณปีทางสุริยคติได้แม่นยำเป็นอย่างมาก ด้วยว่าชาวมายาโบราณมีระบบปฏิทินหลากหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นเรียกว่าปฏิทินแบบ 'ฮาบ' (Haab’) ซึ่งเป็นปฏิทินที่มีจำนวนวันในหนึ่งปีเท่ากับตัวเลขที่เราใช้กันในปัจจุบัน(โดยไม่มีปีอธิกสุรทิน) พวกเขาได้กำหนดให้ 1 ปีในปฏิทินแบบฮาบนั้นมีทั้งหมด 365 วัน และในปี ค.ศ. 1906 

นักมายันวิทยานามว่า 'ชาร์ลส์ พี. โบวดิทช์' (Charles P. Bowditch) ได้ค้นพบหลักฐานว่าชาวมายาโบราณได้ระบุว่าระยะเวลา 1,508 ฮาบ เท่ากับ 1,507 ปีทางสุริยคติ โดยที่ 1,508 ฮาบ มีจำนวนวันเท่ากับ 1,508 x 365 = 550,420 วัน และนั่นหมายความว่าสำหรับชาวมายาโบราณแล้ว หนึ่งปีสุริยคติของพวกเขามีจำนวนวันทั้งหมด 550,420/1,507 = 365.2422 วัน ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับตัวเลขที่นักวิชาการในปัจจุบันให้เอาไว้ที่ 365.24219 วันเป็นอย่างมากเลยทีเดียว!
ในปัจจุบัน นักโบราณคดีและนักมายันวิทยาเพิ่งทำการศึกษาและทำความเข้าใจชาวมายาโบราณมาได้เพียงแค่ราว 120 ปีเท่านั้น แต่เราก็ยังค้นพบความน่าทึ่งใหม่ๆ เกี่ยวกับองค์ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ของชาวมายาโบราณอยู่เสมอ ดังนั้นจึงจินตนาการได้ไม่ยากเลยว่า ในอนาคตข้างหน้านี้ นักโบราณคดีต้องค้นพบองค์ความรู้สุดอัศจรรย์ของชาวมายาโบราณอีกนับไม่ถ้วนอย่างแน่นอน.

ตามหา ราชวงศ์ที่สาบสูญ ของอียิปต์โบราณ


ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ตำราประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณแทบทุกเล่มจะแบ่งราชวงศ์ของเหล่าฟาโรห์แห่งไอยคุปต์ออกเป็น 33 ราชวงศ์คล้ายๆ กัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่านักอียิปต์วิทยาค้นพบหลักฐานของฟาโรห์หรือราชวงศ์ในอียิปต์โบราณครบถ้วนสมบูรณ์ตลอดระยะเวลากว่า 3,000 ปีของหน้าประวัติศาสตร์ไอยคุปต์แต่อย่างใด แน่นอนว่ายังคงมีฟาโรห์อีกหลายพระองค์ที่ปรากฏเพียงแค่ 'พระนาม' ในเอกสารโบราณโดยไม่มีหลักฐานอื่นประกอบเลยแม้แต่น้อย และนักอียิปต์วิทยาส่วนหนึ่งก็จัดฟาโรห์ปริศนาเหล่านั้นเอาไว้ในราชวงศ์ที่ไม่ได้อยู่ในตำราประวัติศาสตร์กระแสหลัก นี่คือปฐมบทของ 'ราชวงศ์ที่สาบสูญ'
แห่งอียิปต์โบราณที่เราจะไปตามหากันในครั้งนี้

จารึกแห่งตูรินคือหนึ่งในเอกสารทางประวัติศาสตร์ไม่กี่ชิ้นที่บันทึกถึงพระนามของฟาโรห์แห่งราชวงศ์อไบดอสที่สาบสูญ ที่มาของภาพ


แหล่งข้อมูลสำคัญที่นักอียิปต์วิทยาใช้ระบุพระนามของฟาโรห์รวมทั้งปีการครองราชย์ของกษัตริย์แต่ละพระองค์ก็คือบันทึกจากนักประวัติศาสตร์ในอดีตอย่างเช่น มาเนโธ (Manetho) ที่เป็นผู้จัดแบ่งราชวงศ์อียิปต์โบราณออกเป็น 30 ราชวงศ์หลักๆ พร้อมระบุพระนามเอาไว้อย่างค่อนข้างชัดเจน หรือ แผ่นศิลาพาเลอร์โม (Palermo Stone) ที่บันทึกรายพระนามของฟาโรห์ตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 1 ถึงราชวงศ์ที่ 5 ตอนต้นเอาไว้ รวมถึงรายพระนามของฟาโรห์ 76 พระองค์ที่จารึกเรียงต่อกันตั้งแต่ เมเนส (Menes) ซึ่งอาจจะเป็นฟาโรห์องค์เดียวกันกับนาร์เมอร์ ร่ายยาวมาจนถึงพระนามของฟาโรห์เซติที่ 1 (Sety I) ในวิหารแห่งเทพโอซิริส (Osiris) ที่นครอไบดอส (Abydos) ก็เป็นอีกหนึ่งแหล่งข้อมูลที่สำคัญไม่แพ้กัน แต่ที่โดดเด่นที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้น “จารึกแห่งตูริน” (Turin Canon) เป็นแน่แท้ ด้วยว่านี่คือเอกสารที่บันทึกในสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 แสดงให้เห็นพระนามและจำนวนปีการครองราชย์ของฟาโรห์พระองค์ต่างๆ มากกว่า 76 พระองค์ที่ถูกจารึกเอาไว้บนผนังวิหารของฟาโรห์เซติที่ 1 เสียอีก

แต่ถึงอย่างนั้น สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ชาวอียิปต์โบราณเองก็ไม่ได้บันทึกพระนามฟาโรห์ของพวกเขาเอาไว้อย่างครบถ้วนแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุครอยต่อ (Intermediate Period) ทั้งสามครั้งที่อียิปต์แตกออกเป็นสองส่วน การปกครองแตกออกไปตามหัวเมืองใหญ่ๆ ยิ่งทำให้นักอียิปต์วิทยารวบรวมและเรียบเรียงรายพระนามของฟาโรห์ในช่วงนี้ได้ยากยิ่ง หนึ่งในช่วงรอยต่อที่ยุ่งเหยิงที่สุดก็คือรอยต่อระยะที่สอง ซึ่งอียิปต์ต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกฮิคซอส (Hyksos) ที่ปกครองอยู่ในนครอวาริส (Avaris) ทางตอนเหนือ ส่วนทางอียิปต์เองก็มีฐานบัญชาการอยู่ทางตอนใต้ในเมืองธีบส์ (Thebes) หรือลักซอร์ (Luxor) ปัจจุบัน ยุคนี้นักอียิปต์วิทยาแบ่งการปกครองออกเป็น 5 ราชวงศ์ด้วยกัน ให้ลำดับไว้ตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 13 ถึงราชวงศ์ที่ 17 โดยที่เหล่าฟาโรห์แห่งฮิคซอสปกครองอยู่ทางตอนเหนือในช่วงราชวงศ์ที่ 15 และ 16 ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเหล่าฟาโรห์แห่งธีบส์ก็ปกครองอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 17 หลังจากนั้นไม่นานนักฟาโรห์อาห์โมส (Ahmose) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 18 ก็สามารถปลดแอกอียิปต์ได้สำเร็จ

สุสานของฟาโรห์เซเนบคาอี หนึ่งในฟาโรห์แห่งราชวงศ์อไบดอสที่สาบสูญ ที่มาของภาพ

พระนามของฟาโรห์ในช่วงรอยต่อระยะที่สองสูญหายไปเยอะมาก ไม่มีหลักฐานชิ้นใดที่แสดงรายพระนามของฟาโรห์ในช่วงรอยต่อนี้เอาไว้อย่างชัดเจน แต่กระนั้นก็มีหลักฐานอยู่ชิ้นหนึ่งที่พอจะบอกนัยบางอย่างนั่นก็คือ 'จารึกแห่งตูริน' ที่ปรากฏพระนามของฟาโรห์ในช่วงนี้แบบคลุมเครือเอาไว้ถึง 16 พระองค์ด้วยกัน ประเด็นนี้นักอียิปต์วิทยานามว่า คิม ไรโฮล์ท (Kim Ryholt) ได้เสนอเอาไว้ในช่วงปี ค.ศ. 1997 ว่าพระนามของฟาโรห์ปริศนาทั้ง 16 พระองค์นั้นน่าจะเป็นฟาโรห์ที่ปกครองอยู่ที่นคร 'อไบดอส' ในช่วงประมาณ 1,650 ถึง 1,600 ปีก่อนคริสตกาล และไรโฮล์ทก็ได้ตั้งชื่อราชวงศ์ที่สาบสูญให้กับฟาโรห์ปริศนาเหล่านี้ว่า 'ราชวงศ์อไบดอส' (Abydos Dynasty) ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาก็ยังไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นใดสนับสนุนทฤษฎีของไรโฮล์ทได้เลย แต่ล่าสุดเมื่อต้นปี ค.ศ. 2014 นักอียิปต์วิทยาก็ค้นพบหลักฐานที่จะมาสนับสนุนถึงการมีอยู่จริงของราชวงศ์อไบดอสที่หายสาบสูญออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไอยคุปต์จนได้

การขุดสำรวจทางตอนใต้ของ
อไบดอสเมื่อต้นปี ค.ศ. 2014 นำโดยทีมสำรวจของ ดร.โจเซฟ เวกเนอร์ (Dr.Josef Wegner) ได้ค้นพบสุสานของฟาโรห์ที่เสนอกันว่าพระองค์อยู่ในราชวงศ์ที่หายสาบสูญออกไปจากหน้าบันทึกในประวัติศาสตร์ พระนามของพระองค์คือ 'อูเซอร์อิบเร-เซเนบคาอี' (Useribre-Senebkay) ฟาโรห์พระองค์นี้คือห่วงโซ่ที่หายไปของหลักฐานที่จะมาสนับสนุนแนวคิดเรื่อง 'ราชวงศ์อไบดอส' ของคิม ไรโฮล์ท ด้วยว่า ดร.เวกเนอร์เสนอว่า เซเนบคาอีน่าจะเป็นฟาโรห์พระองค์แรกๆ ของราชวงศ์อไบดอสที่ปกครองอยู่ในช่วงประมาณ 1,650 ปีก่อนคริสตกาล พระนามของพระองค์อาจจะปรากฏอยู่ในส่วนที่สูญหายออกไปจากรายพระนามฟาโรห์ 16 ชื่อที่เอกสารฉบับนี้ได้บันทึกเอาไว้ด้วยเช่นกัน

คาร์ทูชพระนามของฟาโรห์เขียนว่า'บุตรแห่งรา เซเนบคาอี'
ที่มาของภาพ

สุสานของฟาโรห์เซเนบคาอีมีทั้งหมด 4 ห้อง ในส่วนของห้องฝังพระศพสร้างจากหินปูน ประดับตกแต่งลวดลายไม่ค่อยฉูดฉาดมากเท่าใดนัก แต่ก็ถือว่ามีองค์ประกอบที่ลงตัวทีเดียว ทีมสำรวจของดร.เวกเนอร์ค้นพบภาพสลักของเทพีนูต (Nut) ซึ่งเป็นเทพีแห่งท้องฟ้า พร้อมด้วยเทพีเนฟทิส (Nephthys), ไอซิส (Isis) และเซอร์เคต (Serket) ประทับอยู่ด้านข้างของสถูปคาโนปิกของฟาโรห์ นอกจากนั้นบนผนังห้องยังปรากฏพระนามของฟาโรห์เอาไว้อย่างชัดเจนว่า 'กษัตริย์แห่งอียิปต์บนและอียิปต์ล่าง อูเซอร์อิบเร, โอรสแห่งรา เซเนบคาอี'

แต่สุสานของเซเนบคาอีไม่ได้สมบูรณ์ดังเช่นสุสานของยุวฟาโรห์ตุตันคาเมน (Tutankhamen) ในสมัยที่โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) ค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1922 ข้าวของส่วนใหญ่ในสุสานของเซเนบคาอีก็ถูกโจรในสมัยโบราณเข้ามาปล้นและทำลายจนเสียหายไปหลายส่วน ที่น่าเสียดายก็คือ 'มัมมี่พระศพ' ของฟาโรห์เซเนบคาอีเองก็ไม่รอดพ้นจากฝีมือโจรร้ายด้วยเช่นกัน ทีมของดร.เวกเนอร์ให้ข้อสังเกตว่า เดิมทีพระศพของฟาโรห์เซเนบคาอีคงจะได้รับการทำมัมมี่เรียบร้อยดีตามธรรมเนียมปฏิบัติแต่ด้วยว่ามีโจรเข้ามารุมทึ้งพระศพและฉกฉวยแย่งชิงของมีค่าออกไป จึงทำให้ในปัจจุบันพระศพของพระองค์หลงเหลือเพียงแค่กระดูกที่กระจัดกระจายไปทั่วท่ามกลางข้าวของเครื่องใช้ประกอบพิธีศพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากหรือหีบคาโนปิก แต่กระนั้นก็นับว่าโชคดีที่โครงกระดูกของเซเนบคาอียังคงหลงเหลืออยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จนทำให้ทีมของดร.เวกเนอร์พอจะนำมาวิเคราะห์ตีความได้ว่าพระองค์น่าจะเป็นชายร่างสูงราว 175 เซนติเมตร และน่าจะสิ้นพระชนม์ในช่วงประมาณอายุ 35 ถึง 40 ปี

โครงกระดูกของฟาโรห์เซเนบคาอี บ่งบอกว่าพระองค์เป็นบุรุษร่างใหญ่ ตามร่างกายปรากฏบาดแผล 18 ตำแหน่ง สื่อว่าพระองค์
อาจจะสิ้นพระชนม์ระหว่างทำสงครามก็เป็นได้ ที่มาของภาพ

อีกหนึ่งหลักฐานที่ค้นพบในสุสานแห่งนี้ก็คือหีบคาโนปิกสำหรับใส่เครื่องในของฟาโรห์เซเนบคาอี เป็นที่น่าเสียดายด้วยว่าหีบดังกล่าวทำจากไม้สนซีดาร์ (Cedar) จึงเสื่อมสลายไปตามกาลเวลาค่อนข้างมากแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงแสดงให้นักอียิปต์วิทยาได้เห็นอย่างเด่นชัดก็คือมันเป็นหีบของฟาโรห์องค์ก่อนที่ถูกนำมาใช้ซ้ำ พฤติกรรมการใช้ของเก่าของฟาโรห์ในราชวงศ์อไบดอสเช่นนี้แสดงให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจและในช่วงนั้นได้เป็นอย่างดีว่าข้าวของวัสดุต่างๆ คงจะขาดแคลนเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้แม้แต่กระทั่งองค์ฟาโรห์เองก็ยังไม่สามารถหาวัสดุใหม่เอี่ยมอ่องมาใช้ในสุสานของตัวเองได้ นั่นจึงทำให้นักอียิปต์วิทยาสามารถตีความสภาพความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของชาวอไบดอสในช่วงนี้ได้ดีขึ้นตามไปด้วย

การค้นพบในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นข่าวใหญ่ที่เขย่าวงการอียิปต์วิทยาเป็นอย่างมากเลยก็ว่าได้ เพราะมันช่วยให้นักอียิปต์วิทยาสามารถเข้าใจสถานภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของยุครอยต่อระยะที่สอง ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่ค่อยหลงเหลือหลักฐานสักเท่าใดนักได้เด่นชัดขึ้นเป็นอย่างมาก 

อีกทั้งยังพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของทฤษฎีที่ถูกเสนอเอาไว้โดย คิม ไรโฮล์ท เมื่อปี ค.ศ. 1997 เกี่ยวกับราชวงศ์อไบดอสที่ปกครองนครแห่งนี้ร่วมสมัยกับฟาโรห์แห่งธีบส์และฟาโรห์ชาวฮิคซอสที่อวาริสได้อีกด้วย ดร.เวกเนอร์เสนอว่า บริเวณทางใต้ของ อไบดอสที่เขากำลังขุดค้นอยู่นี้ หรือที่เรียกว่า 'ภูเขาอนูบิส' (Anubis-Mountain) ในอดีตนั้นน่าจะเป็นที่ตั้งนครสุสานของเหล่าฟาโรห์แห่งราชวงศ์อไบดอสที่หายสาบสูญออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์ 

อีกทั้งยังหายออกไปจากจารึกรายพระนามแห่งตูรินด้วย และนั่นย่อมหมายความว่าการค้นพบนี้คือปฐมบทของประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณหน้าใหม่ และถ้าทฤษฎีของดร.เวกเนอร์ถูกต้อง ใต้ผืนทรายของอไบดอสจะต้องมีสุสานของฟาโรห์อีกนับสิบพระองค์ที่เคยปรากฏพระนามอยู่ในจารึกแห่งตูรินฝังอยู่ด้วยเป็นแน่
สุดท้ายแล้วทฤษฎีใหม่ของดร.เวกเนอร์จะถูกต้องมากน้อยแค่ไหน และราชวงศ์ที่สาบสูญของอียิปต์โบราณจะถูกเปิดเผยอย่างเต็มรูปแบบจากสุสานที่ยังไม่ถูกค้นพบใกล้ 'ภูเขาอนูบิส' หรือไม่ คำตอบยังคงรอคอยนักอียิปต์วิทยาอยู่ใต้ผืนทรายอันกว้างใหญ่ของประเทศอียิปต์อย่างแน่นอน

รายการบล็อกของฉัน