Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

การศึกษาใหม่จากประเทศญี่ปุ่น พบมนุษย์อาจมีอายุถึง 100 ปี ขึ้นไป ด้วยแบคทีเรียพิเศษ

การศึกษาใหม่จากประเทศญี่ปุ่น พบมนุษย์อาจมีอายุถึง 100 ปี ขึ้นไป ด้วยแบคทีเรียพิเศษ

😁👉🏿👵ท่านใดที่อยากจะอายุยืน100ปีขึ้นไป ก็ลองอ่านบทความนี้ดูนะครับว่าในตัวท่านมีแบคทีเรียชนิดพิเศษในอยู่ตัวหรือเปล่า

👵มนุษย์อาจมีอายุถึง 100 ปี ขึ้นไปด้วยแบคทีเรียพิเศษ

👉🏿การศึกษาใหม่จากประเทศญี่ปุ่น พบว่าผู้ที่มีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 100 ปีขึ้นไป อาจมีแบคทีเรียในลำไส้ชนิดพิเศษที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ โดยผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าแบคทีเรียและสารประกอบที่พวกมันผลิตขึ้นหรือที่เรียกว่า กรดน้ำดีทุติยภูมิ (Secondary bile acids) มีส่วนช่วยทำให้ลำไส้แข็งแรง มีสุขภาพดีและอาจส่งผลต่อการมีอายุยืนยาวด้วย

👉🏿ศาสตราจารย์ เคนยะ ฮอนดะ (Kenya Honda) ภาควิชาจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยามหาวิทยาลัยเคโอ กล่าวว่า จากผลการศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียในลำไส้เหล่านี้กับผู้ที่มีอายุยืนถึง 100 ปี ขึ้นไป แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าแบคทีเรียเหล่านี้ทำให้คนมีอายุยืนยาว ถึงแม้ว่าแบคทีเรียที่ผลิตกรดน้ำดีเหล่านี้อาจมีส่วนทำให้อายุยืน แต่ก็ไม่มีข้อมูลใดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นของมัน อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมว่าแบคทีเรียเหล่านี้มีส่วนช่วยให้มนุษย์มีอายุยืนยาวได้อย่างไร

🧟“ชุมชนแบคทีเรีย” หรือ “กลุ่มจุลินทรีย์” ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ หรือที่เรียกว่า ชีวนิเวศจุลชีพ หรือไมโครไบโอม (Microbiome) มีบทบาทต่อสุขภาพของคนเรา และจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อคนมีอายุมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การมีความหลากหลายน้อยชนิดของแบคทีเรียในลำไส้มีความเชื่อมโยงกับความอ่อนแอในผู้สูงอายุ แต่นักวิจัยยังสงสัยว่าคนที่อายุถึง 100 ปี อาจมีแบคทีเรียในลำไส้ชนิดพิเศษที่มีแนวโน้มเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังและการติดเชื้อน้อยกว่า

🤵นักวิจัยพบว่า จากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่มีอายุ 100 ปีขึ้นไป จำนวน 160 คน โดยมีอายุเฉลี่ย 107 ปี เมื่อนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับลักษณะของชีวนิเวศจุลชีพในลำไส้ที่พบในกลุ่มตัวอย่างอายุ 85-89 ปี จำนวน 112 คน และกลุ่มตัวอย่างอายุ 21-55 ปี จำนวน 47 คน

👉🏿พบว่า คนที่มีอายุยืนกว่า 100 ปี มีแบคทีเรียจำพวกที่ช่วยผลิตกรดน้ำดีทุติยภูมิสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างในวัยอื่นมาก และยังมีปริมาณของกรดน้ำดีทุติยภูมิบางชนิดในลำไส้สูงกว่าอีกด้วย



ปกติแล้วตับจะผลิตกรดน้ำดีเพื่อช่วยย่อยอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทไขมัน กรดน้ำดีเหล่านี้จะถูกปล่อยเข้าสู่ลำไส้เล็ก ซึ่งแบคทีเรียบางชนิดในลำไส้จะเปลี่ยนกรดน้ำดีจากตับให้เป็นกรดน้ำดีทุติยภูมิ

🤵นักวิจัยพบกรดน้ำดีทุติยภูมิในระดับสูงที่เรียกว่า Isoallolithocholic acid (IsoalloLCA) ในผู้ที่มีอายุ 100 ปี ขึ้นไป โดยทีมผู้วิจัยยกตัวอย่างผู้เข้ารับการทดสอบรายหนึ่งที่มีอายุ 110 ปี

ซึ่งพบว่าผู้สูงอายุรายนี้มีแบคทีเรียวงศ์ Odoribacteraceae อยู่ในระดับที่สูง ซึ่งสามารถยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล์ (Clostridium difficile) ที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรงและลำไส้อักเสบ รวมถึงยังยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียเอ็นเทโรคอคัสที่ดื้อยาปฏิชีวนะแวนโคมัยซิน (Vancomycin-resistant enterococci) ได้อีกด้วย

ซึ่งผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า isoalloLCA อาจมีส่วนช่วยให้ลำไส้แข็งแรงโดยป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ไม่ดี

🤵ศาสตราจารย์ ฮอนดะ กล่าวว่า หากแบคทีเรียที่ผลิตกรดน้ำดีเหล่านี้มีส่วนทำให้ลำไส้แข็งแรง ในอนาคตอาจถูกนำไปใช้เป็นโพรไบโอติก (Probiotics) เพื่อปรับปรุงสุขภาพของมนุษย์ให้ดีขึ้น เพราะแบคทีเรียเหล่านี้มีความปลอดภัย เนื่องจากไม่ก่อให้เกิดสารพิษหรือเป็นแหล่งของยีนที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ

👉🏿อย่างไรก็ตาม ทีมผู้วิจัยยังไม่ทราบว่ากลุ่มคนอายุยืนกว่า 100 ปี นี้ได้รับแบคทีเรียดีดังกล่าวมาได้อย่างไร แต่พันธุกรรมและการกินอาหาร อาจมีบทบาทในการกำหนดองค์ประกอบของจุลินทรีย์ในลำไส้ของคนเหล่านี้ได้ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในระยะยาวกันต่อไป

รายการบล็อกของฉัน