Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557

โรคไบโพล่าร์ Bipolar disorder


โรคไบโพล่าร์
เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความผิดปกติของอารมณ์ โรคนี้มีหลายชื่อเช่น โรคอารมณ์แปรปรวน , manic-depressive disorder, bipolar affective disorder, bipolar disorder ในปัจจุบันชื่อเป็นทางการคือ โรคไบโพล่าร์ (bipolar disorder) ลักษณะสำคัญของโรคนี้คืออาการผิดปกติของอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นแบบซึมเศร้า (depressive episode หรือ depression) หรือตรงข้ามกับซึมเศร้าคืออารมณ์ดีผิดปกติ
(manic episode หรือ mania) ก็ได้

อาการซึมเศร้า (depressive episode)
อาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในโรคไบโพล่าร์จะเหมือนกับอาการของโรคซึมเศร้า (major depressive disorder) ทุกประการนั่นคืออยู่ๆผู้ป่วยก็กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ร้องไห้ง่าย คิดแต่เรื่องร้ายๆ รู้สึกเศร้าๆ ไม่แจ่มใส เบื่อหน่ายไปหมดทุกเรื่อง ไม่รู้สึกดีใจเวลามีอะไรดีๆเกิดขึ้น ไม่อยากได้อะไร ไม่มีความสุข เก็บเนื้อเก็บตัวไม่อยากพบหน้าใคร บางคนจะหงุดหงิดโมโหง่าย เบื่อชีวิต อยากตาย บางคนถึงกับฆ่าตัวตาย มีอาการอยู่แทบทุกวันเป็นหลายๆสัปดาห์หรือเป็นเดือน ในช่วงซึมเศร้าผู้ป่วยมักรู้ว่าตนกำลังป่วยนอกจากในรายที่เป็นมากๆ

คนประเภท “ผีเข้าผีออก” ซึ่งหมายถึงเดี๋ยวอารมณ์ดี เดี๋ยวอารมณ์ร้าย เปลี่ยนแปลงไปมาบ่อยๆ จนสร้างความปวดหัวให้คนใกล้ตัว เพราะไม่รู้จะทำงานกับเขาหรือเธออย่างไร
ซึ่งหากความถี่ของอาการผีเข้าผีออกนี้ค่อนข้างสาหัสจนกระทบต่อการทำงาน เขาหรือเธออาจไม่ใช่แค่ถูกอารมณ์ผี (ความโกรธ หงุดหงิด) สิงเท่านั้น แต่อาจจะเจ็บป่วยจากโรคอารมณ์แปรปรวน หรือไบโพลาร์ได้ (Bipolar Disorder) ลองมาเช็กอาการ พร้อมทั้งรู้ถึงสาเหตุและวิธีป้องกันหรือแก้ไขกันครับ

เหตุสารเคมีในสมองไม่สมดุล
   เราสามารถแยกโรคไบโพลาร์และอาการผีเข้าผีออกจากกันได้ว่า ไบโพลาร์มักจะเกิดกับคนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะกับคนทำงาน สาเหตุเกิดจากสมองผลิตสารเคมี 2 ชนิดไม่สมดุลกัน คือ สารเซโรโทนิน(Serotonin) ซึ่งผลิตในปริมาณน้อยเกินไป และสารนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) ที่ผลิตในปริมาณมากเกินไป

 “สารเคมีทั้งสองชนิดมีผลต่อวงจรกระแสประสาทในสมอง ถ้าสมองผลิตสารเคมีได้สมดุล การควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมจะเป็นไปอย่างปกติ ในทางตรงข้ามถ้าสมองผลิตเซโรโทนินน้อยเกินไป อารมณ์หรือพฤติกรรมก็จะเป็นไปทางซึมเศร้า ส่วนการผลิตสารนอร์เอพิเนฟรินปริมาณมากเกินไป เราก็จะแสดงอารมณ์สนุกสนานและตื่นเต้นผิดปกติเช่นกัน”

   ส่วนอาการผีเข้าผีออกนั้น อธิบายว่า เป็นเพียงแค่การไม่สามารถจัดการหรือควบคุมอารมณ์ซึ่งอาจเกิดจากความเครียด ความไม่ลงตัวของชีวิตในด้านอื่นๆ ให้อยู่ในภาวะปกติได้ จึงแสดงอารมณ์หรือพฤติกรรมอย่างไม่เหมาะสมออกมา ซึ่งเป็นเรื่องของวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับไบโพลาร์ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง

   นอกจากนี้คนจำพวกผีเข้าผีออกแม้จะทำให้คนทำงานร่วมด้วยรู้สึกหงุดหงิด แต่เขาก็ยังสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นเป็นปกติ ต่างจากคนป่วยไบโพลาร์ที่ไม่สามารถทำงานออกมาเป็นผลงานได้

ลักษณะสำคัญของโรคไบโพลาร์

คนไข้จะมีอาการสำคัญ 2 ขั้ว คือ มีอารมณ์รื่นเริงสนุกสนาน ตื่นเต้นผิดปกติ เป็นอาการหลัก และมีอาการซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน โกรธ หงุดหงิดเป็นอาการรอง สลับกันเป็นครั้งคราว

10 สัญญาณมนุษย์งาน ถูกโรคอารมณ์แปรปรวนรุมกินโต๊ะเช็กอาการเบื้องต้นต่อไปนี้ดูครับ
ระยะซึมเศร้า
   • เบื่อหน่ายทุกอย่าง แม้กระทั่งสิ่งที่ชอบหรือกิจวัตรที่ทำเป็นประจำ
   • อ่อนไหวมากเป็นพิเศษ เช่น ร้องไห้ง่าย หงุดหงิดง่าย รู้สึกไร้ค่า คิดอยากตาย
   • ขาดสมาธิ ความจำแย่ลง หลงลืมบ่อย
   • นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ รู้สึกเหนื่อยตลอดทั้งวัน
   • เชื่องช้า กระวนกระวาย

ระยะคึกคัก
   • ครึกครื้นรื่นเริงมากผิดปกติ
   • ความคิดแล่น สร้างสรรค์ มีพลังทำกิจกรรมมากมาย
   • พูดไม่หยุด พูดมาก สนใจทุกอย่าง
   • รู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญมาก
   • ไม่อยากนอน
หมายเหตุ : อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นสลับกันเป็นช่วงๆ อาจนานเป็นเดือนหรือปีก็ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการตอบแบบลำเอียง ขอแรงคนใกล้ตัวช่วยประเมินก็ได้ครับ
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย musa samu

รายการบล็อกของฉัน