Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565

ฝรั่งเศส ค้นพบโลงศพและวัตถุโบราณใต้มหาวิหารนอเทรอดาม อายุหลายร้อยปี ระหว่างเตรียมบูรณะ หลังเกิดไฟไหม้เมื่อปี 2019


ฝรั่งเศส ค้นพบโลงศพและวัตถุโบราณใต้มหาวิหารนอเทรอดาม  อายุหลายร้อยปี ระหว่างเตรียมบูรณะ หลังเกิดไฟไหม้เมื่อปี 2019

นักโบราณคดีพบโลงศพ โลงหิน รูปปั้น และวัตถุโบราณ ที่คาดว่ามาจากช่วงศตวรรษที่ 14 หรือราว 700 ปีก่อน ใต้มหาวิหาร Notre Dame ในฝรั่งเศส ขณะมีการซ่อมแซมอาสนวิหารแห่งนี้ หลังจากเกิดเหตุไฟไหม้เมื่อปี 2019

พื้นที่ฝังศพแห่งนี้ ถูกพบระหว่างการเตรียมบูรณะสร้างโบสถ์แห่งนี้ขึ้นมาอีกครั้ง โดยหนึ่งในสิ่งที่พบคือโลงหินรูปมนุษย์สภาพดี ซึ่งคาดว่าถูกสร้างเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลสำคัญในยุค 1300s หรือราว 100 ปีหลังจากที่มหาวิหารถูกสร้าง

การค้นพบนี้ ถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญของฝรั่งเศส โดยจะช่วยนำไปสู่การศึกษา และความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับพิธีศพในยุคกลาง ซึ่งนักโบราณคดีมีเวลาจนถึงวันที่ 25 มีนาคม ในการทำงาน ก่อนที่โครงการบูรณะจะดำเนินการต่อ เพื่อทำให้ทันแผนการเปิดมหาวิหารอีกครั้งในปี 2024

An Exclusive Look At The Restoration Of The Notre Dame Cathedral

โปรตุเกส ขุดค้นพบ ร่องรอยการทำมัมมี่ ในภาพถ่ายโครงกระดูกอายุ 8 พันปี คาดว่าเก่าแก่ที่สุดในโลก


โปรตุเกส ขุดค้นพบ ร่องรอยการทำมัมมี่ ในภาพถ่ายโครงกระดูกอายุ 8 พันปี คาดว่าเก่าแก่ที่สุดในโลก

ภาพจำลองขั้นตอนการทำมัมมี่แบบตากแห้ง ซึ่งพบร่องรอยที่เป็นหลักฐานในโครงกระดูกของคนยุโรปยุคหินกลาง

ทีมนักโบราณคดีจากโปรตุเกสและสวีเดน เผยว่าได้ค้นพบหลักฐานการทำมัมมี่ของคนยุคหินกลาง (Mesolithic) เมื่อราว 8,000 ปีก่อน โดยร่องรอยดังกล่าวอยู่ในภาพถ่ายโครงกระดูก ซึ่งพบในสุสานโบราณของหุบเขาซาดู (Sado) ทางตอนใต้ของโปรตุเกส

การค้นพบในครั้งนี้ไม่มีร่างที่อยู่ในสภาพของมัมมี่หลงเหลืออยู่ แต่การวิเคราะห์ภาพถ่ายโครงกระดูกที่นักสำรวจผู้หนึ่งบันทึกไว้เมื่อ 60 ปีก่อน ทำให้ทราบได้ว่าศพเหล่านั้นเคยผ่านกระบวนการทำมัมมี่ให้ร่างแห้งและเล็กลงก่อนทำพิธีฝัง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการทำมัมมี่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ยิ่งกว่าการทำมัมมี่ของอียิปต์หรือของชนเผ่าโบราณในทะเลทรายอาตากามาของชิลีหลายพันปี

การศึกษาข้างต้นตีพิมพ์ในวารสาร European Journal of Archaeology โดยดร. ริตา เปโรทีโอ-ชาร์นา ผู้นำทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยอุปป์ซอลา (Uppsala University) ของสวีเดนบอกว่า ระหว่างที่นำม้วนฟิล์มเก่าของนักโบราณคดีชาวโปรตุเกสผู้หนึ่งมาล้างและอัดขยายภาพ เธอพบว่าโครงกระดูกที่เป็นศพของคนโบราณมีลักษณะผิดปกติ

โดยแขนและขาถูกจัดให้อยู่ในมุมงอที่ไม่อาจเป็นไปได้ตามธรรมชาติ แสดงถึงการถูกมัดร่างจนแน่น ก่อนนำมาฝังจนเหลือแต่กระดูกที่ผิดรูปดังกล่าว

นอกจากนี้ทีมผู้วิจัยยังพบว่า กระดูกท่อนต่าง ๆ ของศพยังคงติดกันอยู่เป็นอย่างดี แม้แต่กระดูกชิ้นเล็กเช่นนิ้วเท้าก็ไม่หลุดร่วงไปตามที่ควรจะเป็น ดินที่อยู่โดยรอบหลุมศพก็ไม่มีร่องรอยของการไถลเข้ามาแทนที่ว่าง ซึ่งควรจะเกิดขึ้นเมื่อศพในหลุมเน่าเปื่อยและหดตัวเล็กลง แสดงว่าศพที่ฝังอยู่นั้นถูกทำให้อยู่ในสภาพที่ไม่เน่าเปื่อยมาก่อนแล้ว

โครงกระดูกอายุ 8,000 ปี มีร่องรอยของการจัดท่าและถูกมัดอย่างแน่นหนาเพื่อทำมัมมี่

เมื่อนำหลักฐานจากภาพถ่ายโครงกระดูกไปเปรียบเทียบกับสภาพการเสื่อมสลายของศพจริง ซึ่งได้ทดลองจัดทำขึ้นที่ศูนย์วิจัยทางนิติมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเท็กซัสสเตตของสหรัฐฯ พบว่ามีความเป็นไปได้ที่คนยุคหินกลางในยุโรปจะทำศพให้เป็นมัมมี่ด้วยวิธีตากแห้งและมัดให้แน่นขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ศพหดตัวเล็กลงและมีน้ำหนักเบา ซึ่งจะง่ายต่อการขนย้ายไปฝังที่สุสานภายในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป

การทำมัมมี่ในขั้นแรกจะจัดให้ศพอยู่ในท่านั่งชันเข่าบนแท่นยกสูง โดยมีไม้ค้ำยันศพไว้ที่ด้านหลัง เพื่อปล่อยให้น้ำหนองและของเหลวจากการย่อยสลายไหลออกไปจนศพแห้ง ในระหว่างนั้นจะมีการใช้แถบผ้าหรือเชือกมัดศพให้แน่นขึ้นเรื่อย ๆ จนอยู่ในสภาพที่พบจากรูปถ่ายโครงกระดูกในที่สุด

บริเวณที่เป็นสุสานโบราณของคนยุคหินกลาง ในหุบเขาซาดูของโปรตุเกส

อย่างไรก็ตาม สภาพอากาศที่อบอุ่นและชื้นของภูมิภาคยุโรปใต้ ทำให้มัมมี่ยุคหินกลางไม่อาจรักษาเนื้อเยื่ออ่อนที่แห้งติดกระดูกในตอนแรกเอาไว้ได้ ปัจจุบันจึงคงเหลือเพียงแต่โครงกระดูกที่อยู่ในสภาพผิดธรรมชาติพอให้สังเกตได้เท่านั้น

ดร.ไมเคิล พาร์กเกอร์ เพียร์สัน นักโบราณคดีจากยูนิเวอร์ซิตี คอลเลจ ลอนดอน หรือยูซีแอล (UCL) ซึ่งไม่ได้ร่วมทำการวิจัยในครั้งนี้แสดงความเห็นว่า ร่องรอยการทำมัมมี่ซึ่งเก่าแก่เกือบหมื่นปีในภูมิภาคยุโรปนั้น ถือเป็นเรื่องน่าเหลือเชื่ออย่างยิ่ง แต่เขาคาดว่าอีกไม่นานอาจมีการศึกษาร่องรอยการทำมัมมี่ที่เก่าแก่ยิ่งกว่านี้มากในอิสราเอลและเบลารุส ซึ่งพบหลักฐานที่ส่อเค้าว่าอาจเคยมีการทำมัมมี่ตั้งแต่ 10,000-30,000 ปีที่แล้ว

MÚMIA MAIS ANTIGA DO MUNDO ENCONTRADA EM PORTUGAL!!

World's oldest mummy found in Portugal

Previously undeveloped photos reveal 8,000-year-old signs of mummification — the earliest evidence found anywhere in the world.

Archaeologists think a human cadaver became mummified after it was bound and desiccated over several weeks to make it easier to transport.

รายการบล็อกของฉัน