Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ปริศนาการระเบิดที่ไซบีเรีย รุนแรงกว่าฮิโรชิม่าถึง 10 เท่า


🗻"ปริศนาการระเบิดที่ไซบีเรีย รุนแรงกว่าฮิโรชิม่าถึง 10 เท่า"
หายนะของโลกในยุด 2012 จะเป็นจริงหรือไม่ก็ไม่สำคัญสำหรับตอนนี้ เอาเป็นว่าเราจะมาดูอดีตที่เคยเกิดขึ้นกันดีกว่า

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเคยถูกดาวหางพุ่งชน ล่าสุดก็คือ การเกิดระเบิดครั้งใหญ่ที่แถบบริเวณแม่น้ำทังกัสกาในไซบีเรีย สหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ที่เรียกกันว่า การระเบิดไซบีเรียหรือการระเบิดทังกัสกา นั่นแหละ

การระเบิดทังกัสกาเป็นการระเบิดที่ยิ่งใหญ่และน่ากลัวอย่างยิ่ง เกิดขึ้นตอนเช้าของวันนั้น เป็นลูกไฟสว่างจ้าระเบิดขึ้น เหนือพื้นดิน เห็นได้ไกลถึง 800 กิโลเมตร เสียงระเบิดได้ยินไปไกลถึง 800 กิโลเมตร แรงระเบิดรู้สึกไปได้ไกล 80 กิโลเมตร ทำให้เกิดคลื่นแผ่นดินไหว วัดได้ทั่วโลก 

หมู่บ้านสองหมู่บ้านถูกพังราบ ป่าไม้ทั้งป่าถูกพังราบเป็นหน้ากลองกินอาณาบริเวณกว้างถึง 2,000 ตารางกิโลเมตร ต้นไม้ถูกแรงระเบิดพังราบเป็นแถบ ๆ เกิดไฟไหม้ป่าอย่างรุนแรง ท้องฟ้าแถบกลางคืนทั่วโลกสว่างอยู่หลายคืน

แต่ท้องฟ้าเหนือกรุงลอนดอนก็สว่างขื้นมาดังกลางวัน จนกระทั่งคนในลอนดอนสามารถอ่านหนังสือพิมพ์กลางถนนได้ 

แต่เดิมมา ก็มีหลายทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์เสนอกันขึ้นมาเพื่ออธิบายสาเหตุการระเบิดที่ทังกัสกา ทว่าหลักฐานข้อมูลล่าสุดทำให้นักวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมาก

เชื่อกันว่า สาเหตุของการระเบิด
ที่ทังกัสกา มีเค้าว่าจะเป็นดาวหางมากที่สุด และก้าวไปไกลถึงขั้นระบุว่าดาวหางต้นเหตุของการระเบิดที่ทังกัสกา คือ ดาวหางชื่อ เองเก (Encke) มีวงโคจรระเบิดรอบดวงอาทิตย์ทุก ๆ 3.3 ปี การระเบิดนั้น 
ก็เป็นการระเบิดของชิ้นส่วนดาวหางเองเกที่ระเบิดเหนือทังกัสกานั่นเอง

โชคดีที่การระเบิดทังกัสกาเกิดขึ้นในแถบที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น จึงไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายถึงชีวิต

ปี ค.ศ. 1490 นักวิทยาศาสตร์รัสเซียผู้หนึ่ง นาม E.L. Krinov 
ได้ตามรอยนักวิทยาศาสตร์รุ่นพี่อย่างคูลิค เข้าไปสำรวจบริเวณทุ่งทังกัสก้า เขาได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ที่ไม่มีหลุมขนาดใหญ่บนพื้นดินอย่างที่คาดกันไว้ น่าจะเป็นเพราะว่า วัตถุดังกล่าว เกิดการระเบิดขึ้นกลางอากาศ ก่อนที่มันจะตกลงถึงพื้นดิน โชคร้ายที่สงครามโลกครั้งที่สองมาขัดขวางการวิจัยของครินอฟเสียก่อน บรรดานักวิทยาศาสตร์ถูกดึงตัวไปช่วยงานด้านอื่นหมด ทุ่งทังกัสก้าก็เลยถูกทิ้งไปไม่มีใครแยแสอีกหลายปี .

😀ทุกครั้งที่เอ่ยถึงสงครามโลก
ครั้งที่สอง ใครๆต่างก็หวนนึกไปถึงเจ้าอาวุธมหาประลัย ที่มนุษยชาติคิดค้นขึ้นมาทำลายล้างกัน มันก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมและความสยองขวัญจนยากจะลืมมาถึงทุกวันนี้ เจ้าระเบิดมหากาฬที่คร่าชีวิตผู้คนเรือนแสนที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิ "อะตอมมิค บอมบ์" หรือระเบิดปรมาณูนั่นเอง

Aleksander Kazansev
เป็นนักวิทยาศาสตร์รัสเซียคนแรก ที่ทำให้วงการวิทยาศาสตร์มองเห็นความเกี่ยวพัน ระหว่างระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่า และภัยพิบัติปริศนาที่ทังกัสก้า 

โดยเฉพาะสภาพของต้นไม้ในบริเวณทั้งสอง สภาพที่ต้นไม้โดนความร้อนจนไหม้เกรียม แต่ยังยืนต้นอยู่ได้ในบริเวณศูนย์กลางการระเบิด ในขณะรอบบริเวณออกไป ทุกสิ่งทุกอย่างเอนระเนระนาดเพราะแรงระเบิด คลื่นความร้อน และพิษสงของกัมมัตภาพรังสี เพลิงและควันรูปดอกเห็ดที่เกิดจากการระเบิด ฝนสีดำที่ตกลงมาหลังการระเบิด สิ่งที่เกิดขึ้นในฮิโรชิม่าเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนกับที่ทังกัสก้า 

👉Kazantsev ระบุว่า 
ระเบิดที่เกิดขึ้นที่ทังกัสก้า เป็นระเบิดปรมาณูอย่างไม่ต้องสงสัย และก็เป็นไปได้ที่ว่า ระเบิดปรมาณูที่เกิดนั้น อาจมาจากเตาปฏิกรณ์ปรมาณูของยานอวกาศจากนอกโลกสักลำหนึ่ง เพราะช่วงที่เกิดการระเบิดนั้น มัน ก่อนหน้าที่ชาติใดๆจะคิดค้นระเบิดปรมาณูได้นับเป็นสิบๆปี แถมแรงระเบิดนั้นนับว่ามากกว่าที่ฮิโรชิมานับร้อยนับพันเท่าเลยทีเดียว

รายการบล็อกของฉัน