Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ญัฮกุร หรือ เนียะกุล คือ


ญัฮกุร หรือ เนียะกุล คือกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่ใช้ภาษามอญโบราณ อยู่บนภูเขาแถบแม่น้ำป่าสักในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดนครราชสีมา และโดยเฉพาะที่อำเภอหนองบัวระเหวและอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มชนดังกล่าวเรียกตนเองว่า ญัฮกุร แปลว่า "คนภูเขา" คนไทยในเมืองเรียกชนกลุ่มนี้ว่า "ชาวบน" ซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจนักของชาวญัฮกุร คนไทยภาคต่าง ๆ ฟังภาษาของชนกลุ่มนี้ไม่เข้าใจ

ประวัติ
ญัฮกุร มีความหมายว่าคนภูเขา เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาหรือเนินเตี้ย ๆ แถบบริเวณด้านในของริมที่ราบสูงโคราช จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิ อย่างน้อยสามชั่วอายุคน ในอดีตมักมีการย้ายถิ่นที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว แม้ปัจจุบันจะตั้งหลักแหล่งที่แน่นอนแต่การไปมาหาสู่ เยี่ยมเยียนและการนับเครือญาติในหมู่ญัฮกุร ในบริเวณสามจังหวัด ยังคงมีอยู่ปัจจุบันชาวญัฮกุรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดที่บ้านน้ำลาด 

หมู่ที่ 4 ตำบลนายางกลัก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ นอกจากนี้ยังมีที่บ้านวังกำแพง ในอำเภอบ้านเขว้า ที่บ้านท่าโป่ง บ้านห้วยแย้ ในอำเภอหนองบัวระเหว ที่บ้านสะพานหิน บ้านสะพานยาว ในอำเภอเทพสถิต บ้านกลาง บ้านพระบึง บ้านวังตะเคียน บ้านตะขบ อำเภอปักธงชัย บ้านมาบกราด ตำบลโคกกระชาย บ้านตลิ่งชัน ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี บ้านไทรย้อยพัฒนา อำเภอหนองบุนนาก (อพยพมาจากบ้านไทรย้อย ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี เพราะน้ำเหนือเขื่อนน้ำมูลท่วมหมู่บ้านเดิม) จังหวัดนครราชสีมา 

บ้านน้ำเลา บ้านห้วยไคร้ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนบ้านท่าด้วงถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมอยู่ในป่าแถบเทือกเขาพังเหย มีอาณาบริเวณคาบเกี่ยวต่อเนื่อง 3 จังหวัดคือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดเพชรบูรณ์[6]

ลักษณะ
ชาวญัฮกุรมีผิวค่อนข้างดำตาโตกว่าคนไทย แต่ไม่ต่างจากคนไทยมากนักรูปร่างสูงปานกลาง ผู้หญิงจะหน้าตาดีการแต่งกายแบบดั้งเดิมของชาวญัฮกุร คือ ผู้หญิงจะสวมเสื้อเก๊าะ และนุ่งผ้านุ่งมีชายผ้าใหญ่ สวมสร้อยเงิน และเจาะใบหูกว้างเพื่อสวมตุ้มหูใหญ่ ญัฮกุรเรียก กะจอน ทำด้วยไม้มีกระจกติดข้างหน้า ไว้ผมยาวเกล้ามวย ส่วนผู้ชายนุ่งผ้าโสร่งตาหมากรุก วิธีการนุ่งแบบเหน็บธรรมดา

ภาษาของชาวญัฮกุรจัดอยู่ในตระกูลภาษามอญ-เขมร สาขามอญ เพราะมีความใกล้เคียงกับภาษามอญโบราณ และภาษามอญปัจจุบันมากกว่าเขมร ชาวญัฮกุรที่ชัยภูมิ จัดอยู่ในภาษาญัฮกุรถิ่นใต้ ในปัจจุบันชาวญัฮกุรถูกกลืนด้วยประเพณีวัฒนธรรมอีสานอย่างรวดเร็ว มีบางหมู่บ้านเท่านั้นที่พูดภาษาถิ่นของตนเองได้ คนรุ่นใหม่จะพูดภาษารอบข้างที่คนส่วนใหญ่พูดกัน[8] อีกประการหนึ่งภาษาของชาวญัฮกุรไม่มีระบบการเขียน 

จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวญัฮกุรถูกกลืนได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันชาวญัฮกุรพูดภาษาญัฮกุรเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป[9] นอกจากนั้นใช้ภาษาไทยโคราช เช่นเดียวกับชาวมอญ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน

การดำรงชีวิต
ชาวญัฮกุรตั้งบ้านเรือนอยู่กันเป็นกลุ่ม มีบางพวกอพยพหนีเข้าไปอยู่ในป่าลึก หรือบนภูเขาสูงขึ้นไป ชาวบ้านใช้แสงไฟจากตะเกียงเป็นส่วนใหญ่ อาศัยแหล่งน้ำตามธรรมชาติอยู่ในบริเวณหมู่บ้าน ฤดูแล้งจะใช้น้ำซับซึ่งมีตลอดปี ชาวญัฮกุรมีอาชีพทำไร่ปลูกข้าวตามไหล่เขา ใช้วิธีปลูกแบบขุดหลุมหยอดที่เรียกข้าวไร่ตอนเก็บเกี่ยวก็ใช้มือรูดเมล็ดข้าวออกจากรวง ใส่กระบุงแทนการเกี่ยวข้าว 


นอกจากข้าวแล้วยังปลูกข้าวโพด กล้วย ละหุ่ง มันสำปะหลัง มะเขือ พริก เป็นต้น มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย หมู เป็ด ไก่ และหาของป่า เช่น หน่อไม้ เห็ด ผักหวาน ผึ้ง กบ เขียด และมีความสามารถในการจักสานโดยเฉพาะสานเสื่อ

ปัจจุบันชาวญัฮกุรนับถือศาสนาพุทธ เชื่อในเรื่องภูติผีวิญญาณ ชาวญัฮกุรนิยมแต่งงานในหมู่ชาวญัฮกุรด้วยกัน การละเล่นมีการเป่าใบไม้ซึ่งบางครั้งจะเป่าเป็นสัญญาณเรียกหากัน มีการเล่นเพลงพื้นบ้านเรียกว่า กระแจ๊ะ หรือ ปะเรเร เป็นการร้องโต้ตอบกันระหว่างชาย-หญิง ฝ่ายหญิงเป็นผู้ตีโทนให้จังหวะ เนื้อหาเป็นการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว


ประเพณี
ประเพณีชาวญัฮกุรมีประเพณีสงกรานต์ ประเพณีกระแจ๊ะหอดอกผึ้ง ประเพณีแห่พระและจุดพลุ ประเพณีแต่งงาน ชาวญัฮกุรไม่รู้จักกรรมวิธีการทอผ้า แต่จะปลูกฝ้ายเพื่อไปแลกกับผ้าทอของคนกลุ่มไทย และลาว ปัจจุบันชาวญัฮกุรแต่งกายเหมือนคนไทยทั่วไป

ฟ้อนผีฟ้า
ฟ้อนผีฟ้า นิยมจัดเป็นงานประจำปีในเดือน 5 (ประมาณเดือนเมษายน) ลักษณะความเชื่อ

 เป็นการเซ่นสรวงต่อผีฟ้า "พญาแถน" หรือ เทวดาที่สถิตอยู่บนท้องฟ้าเพื่อขอความเ ป็นสิริมงคล และอัญเชิญท่านให้ลงมาเข้าร่างทรงเพื่อช่วยปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัยแก่ชาวบ้านที่มาชุมนุมในพิธี นอกจากนี้เพื่อเชิญเจ้าเข้าทรงรักษาอาการเจ็บไข้ของผู้ป่วยเป็นราย ๆ ไป

พิธีกรรมผู้ฟ้อนผีฟ้ามีทั้งชายและหญิง เป็นผู้สูงอายุ แต่งกายด้วยชุดพื้นเมือง แบ่งเป็นกลุ่มละ 14–15 คน มีคนเป่าแคนหนึ่งคน เมื่อพร้อมจะนำเครื่องเซ่นได้แก่ ขันหมากเบ็ง หรือพานบายศรี ดอกไม้ธูปเทียน ผ้าไตรจีวร แป้งหอม น้ำอบไทย 

อาหารคาว-หวานซึ่งประกอบด้วยข้าวเหนียว ไข่ต้ม และของกินพื้นเมืองนำไปตั้งบูชา นำดาบที่สะพายติดตัวมา 3–4 เล่มวางรวมกัน จุดธูปเทียนผู้นำทำพิธีเป็นแม่ใหญ่หรือคุณยายซึ่งเรียกว่าหมอทรง หรือนางทรง หรือนางเทียม นำสวดมนต์อาราธนาศีลรับศีลห้ากล่าวขอขมาลาโทษที่รบกวนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และขออัญเชิญเจ้าผู้เป็นใหญ่ให้มาเข้าทรง 

เอาแป้งโรยไปบนเครื่องเซ่น แจกแป้งหอมและน้ำอบไทยทากันทั่วทุกคน การฟ้อนรำแบบง่าย ๆ ต่างคนต่างรำบางคนกระทืบเท้าให้จังหวะ ตามเสียงแคน โดยฟ้อนเป็นวงกลมเวียนไปทางขวามือของหมอแคน คนฟ้อนจะหยุดเมื่อแคนหยุดเป่า และจะเดินไปกราบที่เจ้าพ่อพระยาแล เป็นการเซ่นสรวงต่อผีฟ้า"พญาแถน" หรือเทวดา

รายการบล็อกของฉัน