Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประเทศ ที่ เก่าแก่ที่สุดในโลก Oldest Country


ประเทศ ที่ เก่าแก่ที่สุดในโลก
( OldestCountry) 
ประเทศ ที่ เก่าแก่ที่สุดในโลก
San Marino ประเทศซานมารีโน เป็นประเทศแรกในโลก และเก่าแก่ที่สุดในโลก
ประเทศนี้ก่อตั้งโดยช่างแกะสลักหิน นามว่า Marinus
แห่ง Rabเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.844(ก่อนคริสตกาล 301 ปี) และต่อมา Marinus แห่ง Rab ได้รับการยกย่องเป็นนักบุญ(Saint)

รายละเอียดเกี่ยวกับ ประเทศ ที่ เก่าแก่ที่สุดในโลก
•มีพื้นที่ 60 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ลำดับที่ 5
•เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในทวีปยุโรป มีประชากร ประมาณ 30,000 คน
•เป็นประเทศในยุโรปใต้ บนเทือกเขาแอเพนไนน์(Apennine Mountains) เป็นประเทศที่อยู่ภายในประเทศอีตาลี (เหมือนนครรัฐวาติกัน)
•โดยชื่อประเทศซานมารีโน มาจากชื่อของ Saint Marinus
•พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นเทือกเขาสูงประเทศนี้สวยงาม มากครับ รูปนี้คือ
ปราสาท Guaita บนยอดเขา Titano ในประเทศซานมารีโน
ข้อมูลอ้างอิง ประเทศ ที่ เก่าแก่ที่สุดในโลก
•http://geography.about.com/library/faq/blqzoldest.htm

กล้องดิจิตอล ตัวแรกของโลก


กล้องดิจิตอล ตัวแรกของโลก
( First Digital Camera )
Kodak's First Digital Camera โกดัก เป็นเจ้าแรกที่บุกเบิก และสร้าง กล้องดิจิตอล ตัวแรกของโลก

โดยย้อนกลับไปเมื่อปี 1975 เมื่อ Kodachrome color slides และ Kodak Instamatics ได้ร่วมเมื่อกันวิจัยโดยมีนาย Steve Sasson เป็นหัวหน้าการวิจัย สร้างกล้องดิจิตอล และผลการวิจัย ครั้งนี้ก็เป็นการถือกำเนิดของกล้องดิจิตอล ตัวแรกของโลกขึ้น

ข้อมูลเฉพาะ กล้องดิจิตอล
ตัวแรกของโลก โดย โกดัก
•เลนส์ที่ใช้เป็น ชิ้นส่วนจากกล้องโกดัก รุ่น Super 8 camera assembly line
•ตัวเซ็นเซอร์รับภาพใช้ระบบ CCD และยังคงใช้อยู่ถึงปัจจุบันแม้เวลาจะล่วงเลยมากว่า 34 ปีแล้วก็ตาม
•ใช้เวลาในการบันทึกภาพนาน 23 วินาที โดยบันทึกภาพเป็นเส้นสีขาวดำ เป็นแนวๆ 100 แนว
•ภาพที่ได้ถูกบันทึกลงบนคาสเซทท์เทป(Cassette Tape )
•มันถูกออกแบบให้สามารถพบพาไปถ่ายนอกสถานที่ได้ด้วยแบตแบบ 16 nickel cadmium batteries แต่มันก็หนักมากทีเดียว
👉ภาพเปรียญเทียบระหว่างภาพถ่าย ต้นแบบที่ถ่ายโดยใช้กล้องฟิล์ม กับ กล้องดิจิตอลที่ต้องแสดงผลผ่านโทรทัศน์ขาวดำแบบความละเอียดต่ำ

การจะแสดงภาพได้ต้องนำเทปไปใส่ในเครื่องเล่นเทป ทำการต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำภาพไปแสดงผลผ่านหน้าจอ TV
เป็นที่รู้กันว่า โกดัก เป็นเจ้าแรกที่พัฒนากล้องระบบฟิล์มขึ้นเจ้าแรก และในปี 1975 ก็เป็นเจ้าแรกที่พัฒนากล้องระบบดิจิตอล ตัวแรกของโลกอีก แต่เนื่องจากการคาดการณ์ที่ผลิตพลาด อย่างใหญ่หลวงว่ากล้องระบบดิจิตอล คงไม่สามารถมาแทนที่กล้องระบบฟิล์มได้
ทำให้ โกดักหยุดการพัฒนากล้องดิจิตอล จนเกือบนำความพินาจมาสู่ อภิมหาอนาจักร ของวงการกล้องภ่ายรูปแห่งนี้ เมื่อตลาดกล้องฟิล์ม ได้ตายสนิทในเวลาต่อมา กว่าที่โกดัก จะออกตัวอีกครั้งในปี 2001 ก็แทบเป็นรายสุดท้ายที่กระโดดเข้าสู่ตลาดกล้องถ่ายรูปดิจิตอล
ข้อมูลอ้างอิง กล้องดิจิตอล ตัวแรกของโลก
( First Digital Camera )

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

เรื่องลึกลับ กะห์บะหินดำ ที่นครเมกกะ

รูปกะห์บะหินดำ หินดำที่นครเมกกะ
หินดำ เมืองเมกกะ รูปหินดำ รูปกะห์บะหินดำ หินดำที่นครเมกกะ ความสําคัญของหินดำ ในเมกกะ
*หินดำ - เป็นที่รู้จักกันดี ทั้งมุสลิมและผู้ไม่ใช่มุสลิม...แต่ก็มีอีกหลายคนที่เข้าใจว่า หินดำคือวัตถุบูชาในศาสนาอิสลาม เพียงเพราะเห็นว่า มุสลิมนับล้านคนไปร่วมพิธีฮัจญ์แล้วมีการเวียนรอบวิหารกะบะห์นั้น นั่นคือความเข้าใจที่ผิด...
เราควรมาทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหินดำใหม่ดังนี้หินดำ หรือในภาษาอาหรับ คืออัลฮฺยา อัล อัสวัต นั้นเป็นศิลาที่มีสัณฐาน เป็นรูปครึ่งวงกลม กว้างประมาณ 10 นิ้ว สูง 12 นิ้ว

จากการตรวจสอบโดยนักวิทยาศาสตร์จาก สหรัฐฯ พบว่าหินดำเป็นวัตถุนอกโลก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นก้อนอุกกาบาต ที่มาจากที่อื่น ซึ่งองค์ประกอบและธาตุบางชนิดที่พบ เป็นสิ่งที่ไม่มีในโลก หรือในกาแลคซี่เรานี้

โดยประวัติของหินดำ
จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ และอายุที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์นั้น พบว่ามีอายุยาวนานมาก และสีดำของหินนั้นไม่ใช่สีที่มีมาแต่แรกเริ่ม ซึ่งตรงกับหะดิษที่ว่า

- จากท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวความว่า "หินดำถูกประทานลงมาจากสวรรค์ ซึ่งความขาว (ของหินดำนั้น), ขาวยิ่งกว่า (ความขาวของ) น้ำนมเสียอีก, (แต่ที่เปลี่ยนเป็นสีดำเนื่องจาก) ความผิดต่างๆ ของลูกหลานอาดัมทำให้หินดำนั้นเป็นสีดำ" บันทึกโดยติรฺมิซีย์

 ...ซึ่งจากบันทึกประวัติศาสตร์ เข้าใจได้ว่า หินเปลี่ยนเป็นสีดำเพราะ การที่ชาวอาหรับในสมัยก่อนนั้น ชอบนำสัตว์ไปเชือดบูชายัญบนหิน และเอาเลือดสัตว์ชโลมลงบนหิน พอนานเข้าหินจึงมีสีดำ 

...ถ้าอ้างอิงหลักฐานจากกุรอาน จะพบว่า หินดำนั้นเป็นเครื่องหมายกำหนดตำแหน่งการสร้างวิหารกะบะห์
(วิหารทรงลูกบาศก์ อยู่ตรงกลางมัสยิดอัล -ฮะรอม) ในสมัยท่านนบีอาดัม...ต่อมาในสมัยนบีอิบรอฮีม (อับราฮัม) หินดำก็มีส่วนในช่วยในการบูรณะวิหารกะบะห์ เนื่องจากมีหลักฐานว่า หินดำลอยจากพื้นได้ และท่านนบีอิบรอฮีมก็ขึ้นไปเหยียบบนหินนั้น เพื่อบูรณะวิหาร

...ในช่วงเวลาต่อมาแห่งการตั้งถิ่นฐานของชาวอาหรับ หินดำถูกถือเสมือนว่าเป็น สมบัติของแผ่นดิน (คล้ายตราประทับแผ่นดิน) คืออาหรับเผ่าไหนได้ครอบครอง ก็ถือว่าเผ่านั้นมีอำนาจในการปกครอง และเป็นเผ่าที่มีเกียรติ หินดำจึงกลายเป็นศักดิ์ศรี และเป็นสัญลักษณ์แสดงอำนาจแห่งการปกครองคาบสมุทรอารเบีย
ในต้นศตวรรษที่ 7 เกิดไฟไหม้วิหารกะบะห์ทำความเสียหายให้ตัววิหารเป็นอันมาก อาหรับแต่ละเผ่าจึงพร้อมใจกันบูรณะวิหารใหม่จนเสร็จเรียบร้อย แต่ปัญหาคือ ใครจะเป็นผู้ได้รับเกียรติให้ยกหินดำกลับไปไว้ที่เดิม

...จากความขัดแย้งนี้ ได้ส่งผลให้เกิดข้อสรุปที่ทุกฝ่ายเห็นชอบคือ ให้ท่านนบีมูฮัมมัด(ศ.ล.)
เป็นผู้ยกกลับไปไว้ที่เดิม เนื่องจากในตอนนั้นท่านยังไม่ได้เผยแพร่ศาสนาอิสลาม ประกอบกับเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากทุกฝ่ายว่าเป็นคนมีคุณธรรมและเป็นกลางที่สุด

...ต่อมาเมื่อท่านนบี ประกาศศาสนาแล้ว จนกระทั่งพิชิตเมกกะฮ์ได้ ท่านก็ได้ทำความสะอาดและปรับปรุงวิหารให้กลับมาอยู่ในสภาพเรียบร้อยอีกครั้ง หินดำก็ยังคงตั้งอยู่ที่เดิม

...ในปี ค.ศ.682 เกิดความขัดแย้งในคาบสมุทรอาหรับ มีการกรีฑาทัพเข้าตีนครเมกกะฮ์จนวิหารได้รับความเสียหายอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้มีผลทำให้หินดำแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ ประชาชนได้ทำการซ่อมแซมหินดำหลังจากสงครามจบลง โดยนำลวดเงินมารัดไว้

...หินดำในปัจจุบันจึงมีสภาพที่เหมือนนำเศษหินมาประติดประต่อกัน และรัดไว้ด้วยวงแวนเงิน ถูกวางไว้มุมผนัง อยู่เหนือพื้นดินประมาณ 3 ฟุต

หิินดำกาบะห์
ดังนั้นหากเราพิจารณาด้วยใจเป็นกลาง อาจตั้งข้อสังเกตว่า หากหินดำเป็นสิ่งน่าเคารพ สักการะ หรือเป็นสิ่งบูชาจริง
1.เหตุใด มุสลิมจึงไม่ปกป้องหินดำให้รอดพ้นจากการทำลาย ทั้ง ๆ ที่เขาสามารถปกป้องอาคารหรือมัสยิดที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ กับแค่หินก้อนเดียว ทำไมเขาไม่ปกป้อง

2.หากหินดำเป็นสิ่งเคารพ สักการะ เหตุใด ในสมัยที่ท่านศาสดาอพยพไปมาดีนะห์ ท่านจึงสั่งให้ผู้คนหันทิศกิบลัต (ทิศทางที่หันเวลาละหมาด) ไปทางบัยตุลมักดิส ที่เยรูซาเล็ม แทนที่จะเป็น ที่มัสยิด อัลฮะรอม ซึ่งเป็นที่ตั้งของกะบะห์และหินดำ

3.หากวิหารกะบะห์ หรือหินดำคือสิ่งสักการะบูชาจริง เหตุใด อิสลามจึงอนุญาตให้มุอัซซิน
(ผู้ป่าวประกาศ เวลาละหมาด) ปีนขึ้นไปตะโกน ป่าวประกาศบนหลังคากะบะห์ได้ เพราะนั่นคือการขึ้นไปเหยียบอยู่เหนือหินดำชัด ๆ

4.หากหินดำคือสิ่งสักการะบูชาจริง เหตุใดท่านอุมัรฺ (ผู้เป็นตัวแทนท่านศาสดาคนที่ 2 ) จึงกล่าวความว่า “แท้จริงฉันรู้ว่าเจ้า (หมายถึงหินดำ) คือหินธรรมดาก้อนหนึ่งเท่านั้น เจ้าไม่ให้โทษและไม่ให้คุณ, หากว่าฉันไม่เห็นท่านรสูลุลลอฮฺจูบเจ้าแล้วละก้อ ฉันก็จะไม่จูบเจ้า
ความมหัศจรรย์ของกะบะฮ์


วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

อัยน์ญะลุตสงครามจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลก


อัยน์ญะลุต—จุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลก
กองทัพทหารม้าที่เหี้ยมโหดจากมองโกเลียบุกโจมตีดินแดนแห่งแล้วแห่งเล่า ทำลายล้างทุกเมืองที่ไม่ยอมศิโรราบ. ในเดือนกุมภาพันธ์ 1258 กองทัพนี้โจมตีกรุงแบกแดดและเจาะทะลวงกำแพงเมืองได้. พวกเขาฆ่าฟันและปล้นเมืองนั้นถึงหนึ่งสัปดาห์. โลกอิสลามสั่นสะท้านเนื่องจากกลัวพวกมองโกล.*

ในเดือนมกราคม 1260 ขณะที่พวกมองโกลเคลื่อนทัพไปทางตะวันตก เมืองอะเลปโป ประเทศซีเรีย ก็ถูกตีแตกเช่นเดียวกับกรุงแบกแดด. ในเดือนมีนาคม ดามัสกัสยอมจำนนและเปิดประตูเมืองให้พวกมองโกล. ไม่นานหลังจากนั้น พวกมองโกลยึดเมืองนาบลุส (ใกล้ซากเมืองเชเคมโบราณ) และเมืองกาซา.
ฮูเลกู (Hülegü) แม่ทัพชาวมองโกลเรียกร้องให้สุลต่านอัล-มุซัฟฟาร์ ซัยฟ์ อัล-ดิน กุตุซ
 (al-Muzaffar Sayf al-Din Qutuz) ผู้ปกครองชาวมุสลิมแห่งอียิปต์ ยอมจำนนด้วย. /

ฮูเลกูขู่ว่าถ้าเขาไม่ยอม อียิปต์จะประสบผลที่เลวร้าย.
กองกำลังของฮูเลกูมีจำนวนมากกว่ากองทัพอียิปต์ซึ่งมีอยู่ 20,000 คนถึง 15 เท่า. ศาสตราจารย์นาซีร์ อาเหม็ด นักประวัติศาสตร์อิสลามกล่าวว่า “ตอนนั้นโลกมุสลิมกำลังจะเผชิญความพินาศ.” สุลต่านกุตุซจะทำอย่างไร?

กุตุซและราชวงศ์มัมลุก
กุตุซเป็นพวกมัมลุก ซึ่งก็คือทาสเชื้อสายเติร์ก. พวกมัมลุกคือทาสที่เป็นทหารของสุลต่านราชวงศ์อัยยูบิดแห่งไคโร ประเทศอียิปต์. อย่างไรก็ดี ในปี 1250 ทาสเหล่านี้โค่นล้มชนชั้นเจ้านายและขึ้นมาเป็นผู้ปกครองแห่งอียิปต์เสียเอง. กุตุซเป็นอดีตทาสที่เป็นทหารด้วย. ในที่สุด เขาก็ยึดอำนาจและขึ้นเป็นสุลต่านในปี 1259. เขาเป็นนักรบที่ชำนาญศึกซึ่งไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ. อย่างไรก็ตาม เขามีโอกาสน้อยมากที่จะเอาชนะพวกมองโกล. แต่แล้วเหตุการณ์บางอย่างกลายเป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์.

มีข่าวมาถึงฮูเลกูว่ามองเค (Möngke) ข่านผู้ยิ่งใหญ่แห่งมองโกลได้สิ้นชีวิตที่มองโกเลียอันไกลโพ้น. ฮูเลกูคาดว่าจะมีการต่อสู้แย่งชิงอำนาจที่แผ่นดินเกิด เขาจึงถอนกำลังส่วนใหญ่ของเขากลับ. เขาเหลือทหารไว้ประมาณ 10,000 ถึง 20,000 นาย ซึ่งเขาคิดว่าเพียงพอที่จะพิชิตอียิปต์ได้. ตอนนี้กุตุซเห็นว่าสถานการณ์เริ่มเป็นใจให้เขาแล้ว. เขาคิดว่านี่เป็นโอกาสที่จะเอาชนะผู้รุกราน.

แต่มีศัตรูของพวกมุสลิมอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ระหว่างอียิปต์และพวกมองโกล นั่นคือพวกนักรบครูเสดของคริสต์ศาสนจักรซึ่งมาที่ปาเลสไตน์เพื่อยึด “ดินแดนศักดิ์สิทธิ์.” กุตุซขอยกทัพผ่านพวกเขาและขอสิทธิ์ในการซื้อเสบียงเพื่อจะไปต่อสู้กับพวกมองโกลในสงครามที่ปาเลสไตน์. พวกนักรบครูเสดยอม. ที่จริงแล้ว กุตุซเป็นความหวังเดียวของพวกเขาที่จะขจัดพวกมองโกลออกไปจากดินแดนแถบนี้. เพราะทั้งพวกนักรบครูเสดและพวกมุสลิมต่างก็กังวลเรื่องพวกมองโกลเหมือนกัน.

ผลก็คือ กำลังจะเกิดการสู้รบที่มีผลชี้ขาดระหว่างพวกมัมลุกและพวกมองโกล.อัยน์ญะลุตในปาเลสไตน์
กองทัพของพวกมัมลุกและมองโกลพบกันในเดือนกันยายน 1260 ที่อัยน์ญะลุต
บนที่ราบแห่งเอสดราเอโลน. เชื่อกันว่าอัยน์ญะลุตคงอยู่ใกล้เมืองเมกิดโดโบราณ.*

ราชิด อัล-ดิน นักประวัติศาสตร์กล่าวว่า ที่เมกิดโด พวกมัมลุกล่อพวกมองโกลออกมาในที่ที่มีกองทัพซุ่มอยู่. กุตุซซุ่มกองทหารม้าส่วนใหญ่ของเขาไว้ที่เนินเขารอบที่ราบ แล้วสั่งให้กองกำลังเล็ก ๆ ออกไปล่อให้พวกมองโกลเข้าโจมตี. พวกมองโกลหลงเชื่อว่ากองทัพมัมลุกทั้งหมดมีอยู่แค่นั้น พวกเขาจึงเข้าโจมตี. แล้วกุตุซก็ลงมือปฏิบัติการ. เขาสั่งให้กองกำลังที่เหลือขี่ม้าออกมาจากที่ซ่อนและโจมตีพวกมองโกลทั้งสองข้าง.
ผู้รุกรานจึงพ่ายแพ้.

นี่เป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของพวกมองโกลตั้งแต่พวกเขาเริ่มบุกจากมองโกเลียมาทางตะวันตกเมื่อ 43 ปีก่อนหน้านั้น. แม้ว่ากองทัพที่สู้รบกันค่อนข้างเล็ก แต่อัยน์ญะลุตก็ถือเป็นการรบครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์. การรบครั้งนี้ช่วยพวกมุสลิมไม่ให้ถูกกวาดล้าง พิสูจน์ว่าพวกมองโกลก็พ่ายแพ้ได้ และทำให้กองทัพมัมลุกยึดดินแดนที่สูญเสียไปกลับคืนมา.

ผลกระทบของอัยน์ญะลุต
พวกมองโกลกลับมาซีเรียและปาเลสไตน์หลายครั้ง แต่ไม่อาจคุกคามอียิปต์ได้อีกเลย. ลูกหลานของฮูเลกูลงหลักปักฐานที่เปอร์เซีย เปลี่ยนมาเข้าศาสนาอิสลาม และภายหลังได้กลายมาเป็นผู้อุปถัมภ์วัฒนธรรมอิสลาม. เขตแดนของพวกเขาได้มาเป็นที่รู้จักกันว่า อิลคาเนต แปลว่า “เขตปกครองอันดับรองของข่าน.”

กุตุซยินดีกับชัยชนะได้ไม่นาน เขาก็ถูกพวกคู่แข่งสังหาร.
คู่แข่งคนหนึ่งคือบัยบัรส์ที่ 1 สุลต่านคนแรกแห่งอาณาจักรอียิปต์และซีเรีย. หลายคนถือว่าเขาเป็นผู้สถาปนารัฐมัมลุกที่แท้จริง. ประเทศใหม่ของเขามีการบริหารอย่างดี มีความมั่งคั่ง และดำรงอยู่ได้นานถึงสองร้อยห้าสิบปีจนถึงปี 1517.

ในช่วงประมาณ 250 ปีนั้น พวกมัมลุกขับไล่นักรบครูเสดออกไปจากดินแดนศักดิ์สิทธิ์ สนับสนุนการค้าขายและอุตสาหกรรม ส่งเสริมงานศิลป์ สร้างโรงพยาบาล มัสยิด และโรงเรียน. ภายใต้การปกครองของพวกเขา อียิปต์กลายเป็นศูนย์กลางโลกมุสลิมที่ไม่มีใครเทียบได้.การสู้รบที่อัยน์ญะลุตส่งผลต่ออารยธรรมตะวันตกด้วย ไม่เพียงในตะวันออกกลางเท่านั้น. วารสารซาอุดี แอแรมโค เวิลด์ กล่าวว่า “ถ้าพวกมองโกลยึดอียิปต์ได้สำเร็จ เมื่อฮูเลกูกลับมาพวกเขาอาจบุกผ่านแอฟริกาเหนือไปยังช่องแคบยิบรอลตาร์.”

เนื่องจากตอนนั้นพวกมองโกลไปถึงโปแลนด์แล้ว พวกเขาก็จะกดดันยุโรปจากทั้งสองทาง.

วารสารนั้นถามว่า “ภายใต้สภาพการณ์เช่นนั้น ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในยุโรปจะเกิดขึ้นได้หรือ? โลกทุกวันนี้คงจะต่างไปมากทีเดียว.”

รายการบล็อกของฉัน