Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565

นักวิทย์ทึ่ง! ซากลูกสิงโตถ้ำไซบีเรียอายุ 28,000 ปี อาจยังมีคราบน้ำนมแม่

นักวิทย์ทึ่ง! ซากลูกสิงโตถ้ำไซบีเรียอายุ 28,000 ปี อาจยังมีคราบน้ำนมแม่

A cave lion cub named Sparta, which was found preserved in Siberia's permafrost, is seen in this undated photo taken in 2020, in Yakutsk, Russia. (REUTERS/Valery Plotnikov)
A cave lion cub named Sparta, which was found preserved in Siberia's permafrost, is seen in this undated photo taken in 2020, in Yakutsk, Russia. (REUTERS/Valery Plotnikov)

นักวิทยาศาสตร์ทึ่งกับการค้นพบซากลูกสิงโตถ้ำในไซบีเรีย อายุกว่า 28,000 ปี ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์อย่างยิ่ง จนคาดกันว่าอาจยังมีคราบน้ำนมแม่ของมันเหลืออยู่ด้วย ตามรายงานของรอยเตอร์

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Quaternary เผยการค้นพบซากลูกสิงโตถ้ำเพศเมีย ชื่อว่า สปาร์ตา บริเวณแม่น้ำ Semyuelyakh ในยาคูเตีย เมื่อปี 2018 และพบซากลูกสิงโตเพศผู้ ชื่อว่า บอริส ในปี 2019

ทีมนักวิทยาศาสตร์ พบซากสิงโตทั้ง 2 มีอายุราว 1-2 เดือน เก็บรักษาอยู่ในชั้นดินเยือกแข็ง หรือ Permafrost ในพื้นที่ห่างกันเพียง 15 เมตร แต่พวกมันมีอายุต่างกันนับพันปี

ทั้งนี้ สิงโตถ้ำเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วหลายพันปี ซึ่งวาเลรี โพลนิคอฟ หนึ่งในทีมศึกษาวิจัยนี้ เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า ลูกสิงโต บอริส น่าจะดำรงชีวิตอยู่เมื่อช่วง 43,448 ปีก่อน

A cave lion cub named Boris, which was found preserved in Siberia's permafrost, is seen in this undated photo taken in 2020, in Yakutsk, Russia. (REUTERS/Innokenty Pavlov)
ที่น่าสนใจ คือ ซากลูกสิงโตถ้ำ 
สปาร์ตา อายุกว่า 28,000 ปี ยังคงมีขน อวัยวะภายใน และกระดูกครบถ้วนดี และว่าเป็นเรื่องยากที่จะพบซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ในสภาพที่สมบูรณ์เช่นนี้

ทีมวิจัยหวังว่ายังคงมีคราบน้ำนมแม่ของสิงโตสปาร์ตาเหลืออยู่ ซึ่งอาจจะช่วยให้เราเข้าใจถึงอาหารของสิงโตถ้ำในอดีตได้

การค้นพบซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ ในแคว้นไซบีเรีย เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศผิดธรรมชาติ ที่ทำให้แผ่นน้ำแข็งในทวีปอาร์กติกละลายลงอย่างรวดเร็วกว่าพื้นที่อื่นๆในโลก และชั้นดินเยือกแข็งในพื้นที่ดังกล่าวอุ่นขึ้น
(ที่มา: รอยเตอร์)

รายการบล็อกของฉัน