Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

สาเหตุที่เกิดประเพณีกำฟ้า


สาเหตุที่เกิดประเพณีกำฟ้า
ชาวพวนมีความสามารถในด้านการเกษตร โดยเฉพาะการทำนา สมัยก่อนต้องพึ่งพาธรรมชาติ ชาวนาจึงเกรงกลัวต่อฟ้ามาก จึงมีการเซ่นไว้ สักการบูชา ซึ่งชาวบ้านรู้สึกสำนึกบุญคุณของฟ้าที่ให้น้ำฝน ทำให้มีประเพณีนี้เกิดขึ้น
แต่เดิม 



ถือเอาวันที่มีผู้ที่ได้ยินฟ้าร้องครั้งแรกในเดือน ๓ เป็นวันเริ่มประเพณี แต่ทุกคนไม่สามารถได้ยินได้ทุกคน ภายหลังจึงกำหนดให้วันกำฟ้า คือ วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี


คำทำนายเกี่ยวกับฟ้าร้อง
ทำนายเกี่ยวกับเหตุการณ์และงานอาชีพ
ฟ้าร้องดังมาจากทิศเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือ ทำนายว่าฝนจะดี ทำนาได้ข้าวงาม
ฟ้าร้องดังมาจากทิศใต้ ทำนายว่าฝนจะแล้ง ข้าวจะเสียหาย
ฟ้าร้องดังมาจากทิศตะวันตก ทำนายว่าฝนจะน้อย ทำนาไม่ได้ผล
ทำนายเกี่ยวกับชีวิตและความเป็นอยู่
ฟ้าร้องดังมาจากทิศเหนือ ทำนายว่าชาวบ้านจะอดข้าว
ฟ้าร้องดังมาจากทิศใต้ ทำนายว่าชาวบ้านจะอดเกลือ


ฟ้าร้องดังมาจากทิศตะวันออก ทำนายว่าชาวบ้านจะอยู่เย็นเป็ยสุข
ฟ้าร้องดังมาจากทิศตะวันตก ทำนายว่าชาวบ้านจะเดือดร้อน
ตามประเพณี "วันสุกดิบ" เป็นวันเตรียมงาน ตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งข้าวหลามที่ใช้ในพิธีบายศรีสู่ขวัญจะทำในวัด เรียกว่า "ข้าวหลามทิพย์" ซึ่งใครได้กินเชื่อว่าจะไม่ถูกฟ้าผ่า

วันกำฟ้า ทุกคนจะหยุดงาน ๑ วัน จึงมีเวลา สำหรับการต้อนรับญาติพี่น้องที่มาเยี่ยมเยือนได้อย่างเต็มที่

หลังจากวันกำฟ้าไป ๗ วัน ก็จะเกิดวันกำฟ้าอีกครึ่งวัน ต่อจากครึ่งวันนี้ไปอีก ๕ วันถือว่าเสร์จสิ้น ชาวบ้านจะจัดอาหารคาวหวานไปที่วัดอีกหนึ่งครั้ง จากนั้นจะเอาดุ้นฟืนที่ติดไฟ ๑ ดุ้น ไปทำพิธีตามลำน้ำ เรียกว่า การเสียแล้งตามแม่น้ำลำคลอง

โดยจะทิ้งดุ้นไปตามสายน้ำ เป็นการบอกกล่าวเทวดาว่า หมดเขตกำฟ้าแล้ว


ในปัจจุบันยังคงถือประเพณีกันทุกปี แต่บรรยากาศในอดีตมีแต่จะหายไป โดยความสนุกท่ามกลางเสียงแคน การละเล่นพื้นบ้าน มาแทนที่ จึงกลายมาเป็น ราตรีกำฟ้า

ประเพณีกำฟ้าในแต่ละท้องถิ่นอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แต่ชาวไทยพวนก็ยังรักษาคติดั้งเดิมไว้ได้อย่างมั่นคงตลอดมา

รายการบล็อกของฉัน