ค้นพบฟอสซิลไบแลเทอเรียนอายุประมาณ 550 ล้านปีในจีน
ซึ่งถือเป็นหนึ่งในหลักฐานฟอสซิลของสัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดที่มีลักษณะเป็นปล้องและเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ
ซากดึกดำบรรพ์ของ “ยีลิงเจีย สไปซิฟอร์มิส” (Yilingia spiciformis) หรือ สิ่งมีชีวิตคล้ายหนอนสายพันธุ์นี้ถูกพบบริเวณแม่น้ำแยงซีเกียง ซึ่งมีลักษณะตรงกับร่องรอยที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งฝากฝังไว้บนโลกก่อนสูญพันธุ์ ไขข้อข้องใจให้แก่นักวิจัย เกี่ยวกับวิวัฒนาการสำคัญของสัตว์ที่มีลักษณะสมมาตรทั้งสองข้าง หรือที่เรียกว่า “ไบแลเทอเรียน” ได้ในที่สุด
การวิจัยครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารธรรมชาติ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่แล้วมา
โดยทีมงานซึ่งประกอบด้วย
นักวิจัยจากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินหนานจิง ภายใต้สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน และ มหาวิทยาลัย เวอร์จิน เทค ในสหรัฐอเมริกา
นักวิจัยจากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินหนานจิง ภายใต้สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน และ มหาวิทยาลัย เวอร์จิน เทค ในสหรัฐอเมริกา
การกำเนิดของไบแลเทอเรียนที่มีลักษณะร่างกายแบ่งเป็นปล้อง ถือเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญยิ่งของวิวัฒนาการสัตว์ยุคแรก
แม้นักวิทยาศาสตร์เคยคาดการณ์ไว้จากการวิเคราะห์นาฬิกาชีวภาพระดับโมเลกุลว่า สัตว์ไบแลเทอเรียนที่เป็นปล้องและเคลื่อนที่อย่างอิสระ มีชีวิตอยู่ในยุคอีดีแอคารัน
(635-539 ล้านปีก่อน) แต่ก็ไม่มีหลักฐานฟอสซิลที่น่าเชื่อถือประกอบความคิดนี้
การค้นพบฟอสซิลยีลิงเจีย สไปซิฟอร์มิสครั้งนี้จึงให้ความกระจ่างยิ่งขึ้นเกี่ยวกับสัตว์ยุคอีดีแอคารัน ที่มีเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถทิ้งร่องรอยการเดินทางไว้ได้ยาวและต่อเนื่องเช่นนี้ได้
การกำเนิดของสัตว์ที่เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระเช่นนี้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในเชิงลึก และท้ายที่สุดก็นำไปสู่การปฏิวัติของซับสเตรตและการผลิตพืชในยุคแคมเบรียน